Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"ข้อตกลงเพื่อการแย่งชิงตำแหน่งดาวเทียมบนอวกาศ"             

 


   
search resources

Telecommunications




"นับวันการแย่งชิงตำแหน่งดาวเทียมในอวกาศจะมีมากขึ้น การเจรจาหาทางออกตั้งอยู่บนข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งมีอยู่มากมาย"

หากจะท้าวความถึงข้อเขียนในครั้งก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาของหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการจัดสรรตำแหน่งวงโครจรดาวเทียม

โดยเริ่มจากประเทศกำลังพัฒนาได้หวั่นเกรงเมื่อเวลาประเทศที่มีความพร้อมที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่ท้องฟ้าวงโครจรจะแออัดไม่มีตำแหน่ง

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจึงเสนอแนวความคิด และหลักการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการสื่อสารให้เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษย์ชาติแต่กลุ่มประเทศพัฒนา ซึ่งมีขีดความสามารถและความพร้อมทุกด้านอยู่ในฐานะที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติในฐานะ "ผู้มาก่อน ย่อมได้ก่อน" ก็ยังพยายามยึดถือในหลักเกณฑ์นั้น

จนกระทั่งมีการแก้ไขบทบัญญัติในอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 1982 ว่า "วงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัดจะต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดเพื่อว่าประเทศหรือกลุ่มประเทศอาจจะมีส่วนได้ใช้อย่างเป็นธรรม"

แม้ว่าในอนุสัญญาจะคำนึงถึงความเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ยังไม่ได้เป็นหลักประกันอย่างเต็มที่จึงมีการประชุมฝ่ายบริหารระดับโลกด้านการวิทยุ ว่าด้วยตำแหน่งในวงโคจรดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมและกำหนดแผนการเพื่อใช้ประโยชน์ของบริการสื่อสารทางอวกาศระหว่างปี 1981-1988

และในท้ายที่สุดได้กล่าวถึงปัญหาของเชียแซทของฮ่องกง ได้ร้องเรียนต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่า วงโคจรของดาวเทียมไทยคมที่จะส่งขึ้นไปในอวกาศมีการซ้อนทับกัน ทำให้ต้องมีการหันหน้าเข้าเจรจากันแบบพหุภาคีหรือ ทวีภาคี เพื่อหาข้อยุติ

สิ่งจำเป็นสำหรับการเจรจาในระดับรัฐ คือ เราต้องพิจารณาถึงข้อตกลงข้อผูกพันที่ประเทศได้ลงนาม และมีผลผูกพันอันจะเป็นกรอบในการเจรจาและเป็นสิ่งที่สนับสนุนการเจรจาให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

บรรดาข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ประเทศไทยได้ลงนามและมีผลผูกพันมีหลายฉบับ โดยแยกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรและกฎเกณฑ์ เทคนิคเกี่ยวกับการสื่อสาร

โทรคมนาคม

2. ข้อตกลงระหว่างประเทศที่สะท้อนแนวคิด และหลักกฎหมายระหว่างประแทศเรื่องการจัด

ระเบียบการสื่อสารระหว่างประเทศใหม่

3. กฎหมายภายในที่ออกมาเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการ

สื่อสารโทรคมนาคม

ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรและกฎเกณฑ์ด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสื่อสาร

โทรคมนาคม

ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรที่ใช้ในกิจการสื่อสารโทรคมนาคมอันได้แก่คลื่นวิทยุ (RADIO

WAVE) และตำแหน่งในวงโคจรดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม (THE GEOSTATIONARY ORBIT) มีจำกัด จึงมีความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศต่าง ๆ จัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวดังต่อไปนี้คือ

1.1 อนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATION TELECOMMUNICATION CONVENTION) ซึ่งเป็นอนุสัญญาก่อตั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNION) ในปี 1932 หลังจากนั้นก็ได้มีการแก้ไขและรับรองอนุสัญญารวมถึง 7 ครั้ง ซึ่งอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศฉบับปัจจุบันคือ INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION CONVENTION (NAIROBI) 1982 โดยอนุสัญญาดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรของ ITU และกฎเกณฑ์กว้าง ๆ เกี่ยวกับการสื่อโทรคมนาคม ส่วนกฎเกณฑ์เฉพาะของบริการสื่อสารโทรคมนาคมนั้นได้บัญญัติไว้ในข้อบังคับ (REGULATION) โดยประเทศสมาชิกจะลงนามในสัตยาบันสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของข้อบังคับดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 43 วรรค 1 และมาตรา 83

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาโทรเลขระหว่างประเทศปี 1875 และได้ลงนามในอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการโทรเลขระหว่างประเทศ ที่แก้ไขใหม่เรื่อยมา จนสืบเนื่องมาเป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 1982 ในปัจจุบัน

1.2 ข้อบังคับการโทรเลข 1973 (TELEGRAPH REGULATION) และข้อบังคับการโทรศัพท์ (TELEPHONE REGULATION) 1973 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะทางด้านบริการสื่อสารโทรคมนาคมและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศนั่นเอง อย่างไรก็ดีเนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ยากที่จะแยกว่าการบริการใดเป็นโทรเลข และการบริการใดเป็นโทรศัพท์ จึงได้มีข้อบังคับการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION REGULATION) 1988 ซึ่งมีผลบังคับใหม่ได้ให้คำนิยามศัพท์ไว้ในลักษณะกว้าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้เพื่อที่จะครอบคลุมการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนั้นเอง

1.3 ข้อบังคับการวิทยุปี 1959 และข้อบังคับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะทางด้านบริการสื่อสารโทรคมนาคม โดยคุณลักษณะเฉพาะของความถี่คลื่นวิทยุข้อบังคับการวิทยุจึงได้พื้นที่ของโลกออกเป็น 3 ภูมิภาค (REGION)

ภูมิภาคที่ 1 คือ บริเวณทวีปยุโรปและแอฟริกา ภูมิภาคที่ 2 คือบริเวณทวีปอเมริกาทั้งหมด ภูมิภาคที่ 3 คือบริเวณเอเชีย

นอกจากนี้ยังต้องแบ่งคลื่นความถี่วิทยุออกเป็นแต่ละช่วง โดยพิจารณาจากการนำไปใช้งาน และแบ่งความถี่คลื่นวิทยุ (RADIO FREQUENCY) ออกเป็น 9 แถบเพื่อใช้ในกิจการต่าง ๆ กัน และจัดสรรให้ประเทศต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคด้วย

1.4 กรรมการสุดท้ายของการประชุมฝ่ายบริหารระดับโลกด้านโทรเลขและโทรศัพท์ (FINAL ACT OF THE WORLD ADMINISTRATIVE TELEGRAPH AND TELEPHONG CONFERENCE : WARC) ซึ่งเป็นมติของที่ประชุมของการประชุมใหญ่ฝ่ายบริหารซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพโทรคมนาคมนั้น

โดยองค์กรดังกล่าวจะจัดประชุมทุก 3-7 ปี การโทรศัพท์และข้อบังคับวิทยุกรรมการสุดท้ายที่ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันฉบับปัจจุบันคือ กรรมการสุดท้ายของการประชุมใหญ่ ฝ่ายบริหารระดับโลกด้านโทรเลขและโทรศัพท์ 1973 (GENEVA) นั้นเอง

1.5 ข้อแนะนำ (RECOMMENDATIONS) ต่าง ๆ ทางด้านเทคนิคของคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL CONSULTATIVE RADIO COMMITTEE) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์การปฏิบัติในการให้บริการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กำหนดประเภทบริการสื่อสารโทรคมนาคมใหม่ กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคและกำหนดมาตรฐานอัตราค่าบริการโดยปรับปรุงและแก้ไขข้อแนะนำทุก 5 ปี

ประเทศสมาชิกจะนำไปปฏิบัติโดยมิต้องลงนาม แต่ก็มีผลผูกพันรัฐสมาชิกให้ปฏิบัติตามด้วย ความจำเป็นและผลประโยชน์ร่วมกันในการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม (NOT LEGAL BINDING BUT TECHNICAL BINDING)

ข้อตกลงระหว่างประเทศที่สะท้อนแนวคิดและหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องการจัดระเบียบสื่อสารระหว่างประเทศใหม่

2.1 อนุสัญญาว่าด้วยหลักการที่ใช้บังคับกิจกรรมขอองรัฐในการสำรองและใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศ รวมทั้งดวงจันทร์ และเทหวัตถุอื่น ๆ ปี 1967 (TREATY ON PRINCIPLES GOVERNING THE ACTIES OF STATES IN THE EXPLORATION AND USE OF OUTER SPACE, INCLUDING THE MOON AND OTHER CELESTRAIL BODIES 1967) สนธิสัญญาฉบับนี้มิได้บัญญัติถึงกิจกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ระบบดาวเทียม แต่เมื่อพิจารณามาตรา 4 แล้วน่าจะตีความได้ว่า สนธิสัญญาฉบับนี้รับรองให้การส่งดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในทางสันติขึ้นไปโคจรรอบโลกได้ ประเทศสมาชิกภาคีมีอำนาจรัฐเหนือดาวเทียมที่จดทะเบียนแต่รัฐจะต้องรับผิดชอบต่อกิจกรรมในห้วงอวกาศของดาวเทียมด้วย

2.2 ความตกลงเกี่ยวกับองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ (AGREEMENT RELATION TO THE INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION : INTELSAT) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ใช้ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศในเชิงพาณิชย์ (COMMERCIAL BASIS) ในลักษณะของการลงหุ้นและคืนเงินปันผลคล้ายสหกรณ์ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง INTELSAT ขึ้นในปี 1964 SATELLITE CORPORATION ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้จัดการ

INTELSAT แต่เดิมมิได้มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ แต่เป็น CONSORTIUM ต่อมาภายหลังประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยกับระบบ CONSORTIUM จึงได้มีการเจรจาและบรรลุถึงข้อตกลงใหม่จัดตั้ง INTELSAT เป็นองค์การระหว่างประเทศขึ้นในปี 1973

กฎหมายภายในที่ออกมาเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสื่อสารโทรคมนาคม

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐ ในการดำเนินการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และดำเนินการตามเทคนิค ซึ่งเป็นกฎหมายที่ผูกพันในระดับรัฐบาลหรือเฉพาะฝ่ายบริหารเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตาม จึงไม่ต้องตรากฎหมายออกมารองรับเพราะไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 162 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคมบางฉบับ กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน (PRIVILEGS AND IMMUNITIES) และการดำเนินงานขององค์กรตามที่อนุสัญญาฉบับนั้นได้บัญญัติไว้

ในกรณีเช่นนี้ก็จะต้องตรากฎหมายขึ้น เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานขององค์กรดังกล่าว เพราะการที่องค์กรจะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นมิใช่นำไปใช้ยืนยันกับฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น

แต่องค์กรย่อมจะต้องได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มครองจากทุกท่าน และใช้อ้างต่อพลเมืองของประเทศสมาชิกได้ด้วย

การที่องค์กรใด ๆ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้นครองกันย่อมเป็นการจะต้องได้เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ย่อมเป็นการได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างไปจากพลเมืองของรัฐและอาจจะกระทำการในลักษณะที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของพลเมืองของรัฐ

อนุสัญญาใด ๆ ที่บทบัญญัติให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่องค์กรตามที่อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดไว้ย่อมอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 162 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

ประเทศไทยรับหลักการนี้ จึงมี พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงชำนาญการพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 ซึ่งให้ความคุ้มครองกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศและ พ.ร.บ. คุ้มครองการดำเนินงานขององค์กรโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ พ.ศ.2524

ถึงแม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีข่าวว่าปัญหาเรื่องวงโคจรดาวเทียมที่ซ้อนทับกันระหว่างดาวเทียมไทยคม กับดาวเทียมของฮ่องกง ได้มีการเจรจาประนีประนอมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม

แต่ประเทศไทยยังมีปัญหากับกฎหมายภายในนั่นคือ กฎหมายโทรคมนาคมของไทย ได้กลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศ

กล่าวคือ บทบัญญัติของ พ.ร.บ. โทรเลขและโทรศัพท์ 2477 ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า รัฐมีความสามารถเพียงพอที่จะให้บริการประชาชนได้

แต่ว่าในปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกหลายประเทศซึ่งเป็นประเทศแม่แบบของกฎหมายที่รัฐผูกขาดการให้บริการโทรคมนาคม ต่างก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนในการให้บริการด้านการโทรคมนาคม เช่น ประเทศอังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น

ในประเทศไทยองค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทยเอง ก็มีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและ TECHNOLOGY ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ จึงต้องมีการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะมิฉะนั้นแล้วการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ คงไปไม่ไกลได้เท่าที่ควร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us