Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ตุลาคม 2550
กลต.มาดเข้มQ3สั่งฟัน17คดีปรับ"โกมล"เกือบ4ล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Stock Exchange




คณะกรรมการเปรียบเทียบ สำนักงานก.ล.ต. สวมบทบาทเข้ม ไตรมาส 3/50 สั่งลงโทษผู้แหกกฎเพิ่ม 10 ราย รวม 17 คดี ปรับมูลค่ารวมเกือบ 8 ล้านบาท โดย "โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ" มากสุด 4 คดี ถูกปรับรวม 3.8 ล้านบาท เหตุไม่รายงานได้มาหุ้น "ปิคนิค อกริเพียว อีสเทิร์นไวร์" ในเวลาก.ล.ต.กำหนด-เลี่ยงเทนเดอร์ฯหุ้น อีสเทิร์นไวร์หลังถือหุ้นแตะ 25% ด้านบล.สินเอเซีย-บล.เคจีไอ ไม่ได้จัดเก็บเทปบันทึกออร์เดอร์ลูกค้าครบถ้วน

จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การเปรียบเทียบโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบ พบว่า ในไตรมาส3/50 คณะกรรมการเปรียบเทียบได้มีคำสั่งเปรียบเทียบจำนวน 10 ราย รวม 17 คดี มูลค่ารวม 7,833,700 บาท ประกอบด้วย 1.นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ จำนวน 4 กรณี มูลค่ารวม 3.8 ล้านบาท กรณีมิได้รายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ทุกร้อยละห้าของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการที่ถือผ่านบุคคลอื่น ตามแบบ 246-2 ต่อสำนักงานภายในเวลาที่กำหนด ใน3 บริษัท คือบริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI จำนวน 2 รายการ วันที่ 16 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 มูลค่าเปรียบเทียบ 3.21แสนบาท

บริษัทอกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APUREระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 จำนวน 9 รายการ มูลค่าเปรียบเทียบปรับจำนวน 1.19 ล้านบาท บริษัทบริษัทอีสเทิร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ EWC รายงานการได้มาหลักทรัพย์ในเวลาที่กำหนดและ ไม่นำหุ้นที่ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 ของตนมารวมรายงาน จำนวน 7 ราย ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2549 มูลค่าเปรียบเทียบปรับจำนวน 1.82 ล้านบาท


รวมถึงนายโกมล ได้มาซึ่งหุ้น EWC เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จนเป็นผลให้เมื่อรวมหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่โดยตรง ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 และถือผ่านบุคคลอื่นแล้ว ทำให้นายโกมลฯ เป็นผู้ถือหลักทรัพย์ EWC ข้ามจุดร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ไม่ได้ยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการตามแบบ 247-3 และไม่ได้จัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามแบบ 247-4 ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2549 นายโกมลฯ ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้น EWC เหลือร้อยละ 24.36 ซึ่งทำให้หน้าที่ของนายโกมลฯ ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดตามมาตรา 247 ได้สิ้นสุดลง ปรับมูลค่า 4.69 แสนบาท

2.บริษัทหลักทรัพย์(บล.)สินเอเชีย จำกัด กรณีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ไม่ได้จัดเก็บเทปบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าทางโทรศัพท์ให้ครบถ้วน จำนวน 447 รายการ ปรับมูลค่า 1.12 ล้านบาท 3.บล.ซิกโก้ กรณีระหว่างวันที่13กันยายน 2549-29 มกราคม 2550 ไม่ได้จัดเก็บบันทึกการรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าทางโทรศัพท์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วน โดยเหตุเกิดที่สำนักงานสาขาของ บล. ซิกโก้ฯ จำนวน 2 แห่ง คือ สาขาสุโขทัย จำนวน 5 รายการ และสาขาสุขุมวิท 23 (ประสานมิตร) จำนวน 515 รายการ ปรับมูลค่า1.93 ล้านบาท

4. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด จากกรณีความผิดระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2550 บลจ.ไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทที่รับจัดการกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัยพ์ตราสารหนี้ (SCBSFF)ได้จัดสรรขายหน่วยลงทุนเกินจำนวนเงินทุนจดทะเบียนปรับมูลค่า 81,500 บาท

และในวันที่ 3 มกราคม 2550 และวันที่ 4 มกราคม 2550 บลจ. ไทยพาณิชย์ ในฐานะบริษัทที่รับจัดการกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1) ได้จัดสรรขายหน่วยลงทุนเกินจำนวนเงินทุนจดทะเบียน ปรับมูลค่าจำนวน 38,500 บาท

5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)หรือ BAY จำนวน 2 คดี มูลค่ารวม 1.88 แสนบาท คือ ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2550BAY ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ SCBSFFภายใต้การจัดการของ บลจ.ไทยพาณิชย์ฯ ไม่ดูแลให้ บลจ.ไทยพาณิชย์ฯ เสนอขายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามจำนวนเงินทุนจดทะเบียนในโครงการของกองทุน SCBSFF ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ปรับ 1.06 แสนบาท และกรณีวันที่ 15 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2550 ธนาคาร BAY ไม่รายงานกรณีที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ฯ เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน SCBSFF ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2550 เกินจำนวนเงินทุนจดทะเบียนของโครงการจัดการกองทุน SCBSFF ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ต่อสำนักงานภายในห้าวันนับแต่วันที่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว ปรับมูลค่า 82,800 บาท

6.บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ KGI กรณีระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 คำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ("NCR") ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยมิได้นำรายการเงินกู้ยืมจากบริษัทย่อยที่จะครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี มาคำนวณเป็นหนี้สินรวม ปรับมูลค่า 45,000 บาท และ ระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2550 บล.เคจีไอ ในฐานะบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก.ล.ต.กำหนด โดยไม่ได้รายงานข้อร้องเรียนของลูกค้าที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2549 ต่อสำนักงานให้ครบถ้วน ปรับมูลค่า 7.9 หมื่นบาท

7.บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด กรณีระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2549ในฐานะผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนจำกัดแห่งหนึ่ง ไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของก.ล.ต.จำกัดแห่งหนึ่ง โดยไม่ได้จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการจองและการจัดสรรหุ้นให้ครบถ้วน ซึ่งตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ ก.ล.ต. บล.ฟาร์อีสท์ฯ จะต้องจัดเก็บเอกสารทั้งสองส่วนเพื่อประโยชน์ในการสอบทานว่ามีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมปรับมูลค่า 1.71แสนบาท

8.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด กรณี ระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ในฐานะที่รับจัดการกองทุนเปิด วรรณเอเอ็ม โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต เอควิตี้ (กองทุน 1AM-GEM) ได้ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ 2 กองทุนซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเกิน2%ของสินทรัพย์สุทธิกองทุน 1AM-GEM ซึ่งเกินกว่ากรอบการลงทุนที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานและที่ผูกพันกับผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทฯ ได้แก้ไขโดยลดอัตราส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของ2 กองทุนแล้ว ปรับมูลค่า 2.8 แสนบาท

9.บริษัทหลักทรัพย์เคทีบี จำกัด กรณีวันที่ 18 มกราคม 2550 ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก.ล.ต.กำหนด โดยโอนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในบัญชีเพื่อการจองซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าไปไว้ในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ใช้ในกิจการของบริษัท อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ให้แยกเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ไว้ต่างหากจากบัญชีของบริษัท ปรับมูลค่า4.56หมื่นบาท

รวมถึงวันที่ 8 มกราคม 2550 กระทำการอันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการก.ล.ต. กล่าวคือ บริษัทแยกเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของลูกค้าไม่ครบถ้วน โดยแยกเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของลูกค้าน้อยกว่าผลรวมของยอดเงินสุทธิของลูกค้าทุกรายซึ่งคำนวณ ณ สิ้นวันดังกล่าว ทั้งนี้ ในวันที่ 9 มกราคม 2550 บล. เคทีบีฯ ได้แก้ไขโดยโอนเงินเข้าเพิ่มในบัญชีครบถ้วนแล้ว ปรับมูลค่า 30,400 บาท

10.เปรียบเทียบเรือโทสุปรีดิ์ ศรีผดุง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท สยาม ทู ยู จำกัด (มหาชน)หรือ S2Yไม่ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ S2Yที่ขายหุ้นวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 1.22 ล้านหุ้น มูลค่า 1.84 ล้าน บาท ต่อก.ล.ต.ภายในเวลาที่กำหนด จึงปรับ มูลค่า10,300 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us