Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟได้ 15%"             
 


   
search resources

ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย
อินเตอร์เทคกรุ๊ป
อภิชิต ล้ำเลิศพงศ์พนา
Electricity




ในขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกำลังมีปัญหาเรื่องการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของประชากรในเรื่องของการใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมากมายก็ตามการลงทุน เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนอย่างมหาศาล ซึ่ง ณ วันนี้แผนการสร้างโรงงานไฟฟ้าแห่งใหม่ก็ยังไม่ลุล่วงไปด้วยดี

ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าจึงเริ่มเกิดขึ้น

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ใช้ความพยายามที่จะให้ประชากรช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้า การหาทางออกของรัฐโดยวิธีการเปลี่ยนแปลงการเก็บค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชากรลดจำนวนการใช้ไฟลง เช่นใช้วิธีการเก็บค่าไฟเพิ่มโดยคิดอัตราก้าวหน้าโดยกำหนดช่วง DEMEND CHARGE ตั้งแต่เวลา 06.00-21.30 น.ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่รัฐคิดค่าไฟฟ้าสูงกว่าช่วงเวลาที่เหลืออยู่คือตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. ประมาณ 10-15%

ดูเหมือนว่าวิธีนี้จะไร้เหตุผลเพราะความจำเป็นใน การใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันของคนไทยทั้งประเทศมันเกิดขึ้นในเวลาช่วงเดียวกัน !!!

มีการประมาณการกันว่าในช่วงเวลาที่ประชากรมีความต้องการใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันนั้น ทางโรงไฟฟ้าจะต้องผลิตการะแสไฟฟ้าให้ได้จำนวน 8,000 เมกกะวัตต์เลย ทีเดียวจึงจะสนองความต้องการของประชากรได้อย่างเพียงพอ

ส่วนเวลาที่เหลือหลังจากนั้นคือ 22.00-06.00 น.ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้ากลับลดลงเหลืออยู่เพียงกึ่งหนึ่ง ของช่วงแรกเท่านั้น

หากพิจารณาจากตัวเลขจำนวนความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าใน 2 ช่วงเวลาที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดประเด็นสำคัญในการพิจารณาหาทางออกคือเรื่องของความพยายาม ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคไฟของคนไทยส่วนหนึ่ง

"มีวิธีเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้คือ เริ่มประหยัดพลังงานซึ่งทำได้ตั้งแต่หาพลังงานทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน หรือลดจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นที่มาของการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม" แหล่งข่าวจากศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทยเสนอแนวทางแก้ไข

ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้วโดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า พวกเขาเหล่านี้ได้สรรหาวิธีป้องกันการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าก่อนที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย

ประเด็นที่ศูนย์อนุรักษ์ฯ หยิบยกขึ้นมาเป็นวิธีการแก้ไขก็คือการประหยัดไฟฟ้า นั่นเป็นขั้นสามัญพื้นฐานที่ต้องเริ่มต้นจากบทแรกนี้ ทว่าใครจะเป็นผู้ริเริ่มก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดการใช้เครื่องปรับอากาศลง

เมืองไทยเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนเป็นทุนเดิม และรับวันฤดูร้อนของไทยก็ยิ่งขยายเดือนออกไป และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศเริ่มขายดิบขายดี

จะเห็นได้จากการแข่งขันของตลาดเครื่องปรับอากาศที่ยี่ห้อต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ยี่ห้อทั้งของนอกและของไทยทำแข่งกันลดราคาเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคเป็นพัลวัน ซึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในการแสวงหาตลาดของผู้ค้าเครื่องปรับอากาศก็คือการลดราคา จน ณ วันนี้ผู้ที่มีระดับฐานะปานกลางลงล่างก็สามารถซื้อหาเครื่องปรับอากาศมาติดตั้งในที่อยู่อาศัยของตนเองได้

แล้วอย่างนี้ประเด็นลดจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มจะทำได้อย่างไร ?

ว่ากันตามจริงแล้วปัญหาสำหรับประเด็นนี้หากเป็นเมื่อ 5 ปีที่แล้วก็อาจจะไม่ต้องคิดหนักเพราะเวลานั้นจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศและราคายังไม่เป็นเช่นปัจจุบัน อากาศเมืองไทยก็ยังไม่แปรปรวนเช่นทุกวันนี้ กล่าวกันว่าอากาศแปรปรวนเกิดมาจากโอโซนที่ปกคลุมโลกกำลังถูกทำลายอันเนื่องมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เริ่มหนาแน่นขึ้น จนเป็นที่มาของความร้อนบนผิวโลกเริ่มรุนแรงขึ้นนั่นเอง

ย้อนกลับมากล่าวถึงเครื่องปรับอากาศ จากตัวเลขการเติบโตของตลาด เครื่องปรับอากาศที่บรรดาผู้ค้าต่างให้ตัวเลขในปีที่ผ่าน ๆ มาว่าเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% จากมูลค่า 3,500 ล้านบาท ไม่อาจกล่าวได้ว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายดายนักสำหรับประชากรไทยโดยเฉพาะเมืองหลวงหรือผู้ที่พอมีอันจะกินจะยอมลดปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศลง

อย่างไรก็ตามศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทยก็ได้มีทางออกให้กับวิธีนี้คือได้ร่วมมือกับเอกชนรายหนึ่ง "อินเตอร์เทคกรุ๊ป" ซึ่งมีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมโดยเฉพาะเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ช่วยกันสร้างระบบใหม่ที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาแต่ก็ยังอยู่ในรูปของการใช้เครื่องปรับอากาศเช่นเดิม

จะผิดกันก็แต่เพียงว่าระบบใหม่ที่ว่านี้เรียกว่าระบบ ICE BANK หรือ THERMAL ICE STRONGE สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมากมาย

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือว่าระบบ ICE BANK ใช้พลังงานไฟฟ้าที่น้อยกว่าเครื่องปรับอากาศทั่วไปเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันหรือภายในเวลาที่เท่ากัน

อภิชิต ล้ำเลิศพงศ์พนา ผู้บริหารอินเตอร์เทค กรุ๊ป ซึ่งเป็นแกนนำในการนำเข้าเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงานความเย็นในรูปของน้ำแข็ง (ICE BANK) เข้ามาใช้กับประเทศไทยกล่าวว่าระบบนี้สามารถช่วยเศรษฐกิจของชาติได้ในด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานที่เหมาะสม

ในแถบยุโรป (THERMAL ICE STRONGE) มีประวัติการเกิดระบบนี้มาตั้งแต่เมื่อ 50-60 ปีก่อนมาแล้วโดยส่วนใหญ่ระบบนี้จะถูกนำมาใช้กับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมหรือโรงนม เพื่อเก็บรักษาอาหารไม่ให้เปลี่ยนสภาพต่อมาระบบการสะสมพลังความเย็นในรูปของน้ำแข็งก็ได้คืบคลานเข้าสู่สหรัฐอเมริกาโดยใช้เวลาไม่นานนัก

อเมริกาสามารถนำเทคโนโลยีที่เรียนรู้จากยุโรปเข้ามาพัฒนาเสียใหม่อย่างจริงจังโดยมุ่งหวังที่จะนำมาใช้กับอาคาร บ้าน เรือน ที่อยู่อาศัย ได้จนสำเร็จ จึงเรียกชื่อระบบที่ตนเองพัฒนามาจากยุโรปเสียใหม่ว่า ICE BANK ก็ได้ขยายเข้าสู่เมืองไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมานี่เอง อภิชิตเล่าว่าเขาได้เจรจากับบริษัท BAC สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าของระบบเพื่อนำเข้ามาศึกษาหาความเหมาะสมที่จะใช้ในประเทศ

ความยากเย็นเกิดขึ้นในช่วงแรกเมืองไทยยังไม่เข้าใจและยอมรับกับระบบนี้เท่าไรนัก ซึ่งระบบนี้อาจกล่าวได้ว่าสามารถสนองตอบได้ทั้งในรูปของผลประโยชน์ตอบแทนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานการเริ่มต้นในครั้งแรก จึงเป็นการเริ่มต้นอย่างเดียวกับในยุโรปคือการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับโรงนมและขยายเข้าสู่การถนอมอาหารพวกพืชไร่เพื่อการส่งออกประเภทไก่สด หรืออาหารทะเลต่าง ๆ เช่นบริษัท เชียงใหม่ โฟรเซ่นฟู้ด สหฟาร์ม หรือบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นต้น

ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าว ได้วิวัฒนาการตามขั้นตอนเพื่อให้นำมาใช้กับอาคารตึกสูงหรือบ้านเรือนได้ วิวัฒนาการที่เด่นชัดของระบบนี้คือจะช่วยด้านพลังงานของชาติในรูปลักษณ์ของการประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงาน

"รูปร่างหน้าตาของระบบนี้หากจะพูดให้ง่ายก็คือการที่เราทำน้ำธรรมดาให้แข็งตัวจนเป็นน้ำแข็งในช่วงที่มีค่าไฟราคาถูก (กลางคืน) และจะนำกลับมาละลายให้เป็นน้ำโดย น้ำแข็งจะละลายความร้อนแฝงออกมาใช้ในช่วงที่ค่าไฟแพงเจ้าความร้อนตัวนี้เองที่จะเป็นความเย็นที่จะปล่อยเข้าสู่ระบบความเย็นภายในตัวอาคาร ซึ่งเราก็จะได้รับความเย็นเหมือนกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป (น้ำแข็ง 1 ปอนด์ให้ค่าความเย็น 144 BTU วิธีนี้แหละที่สามารถประหยัดค่าไฟได้พร้อม ๆ กับพลังงาน" อภิชิต อรรถาธิบายเกี่ยวกับรูปธรรมของระบบ

และหากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศทั่วไปกับระบบ ICE BANK แล้อภิชิตกล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องครั้งแรกจะสูงกว่าการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในขนาดที่เท่ากันประมาณ 15%-20% แต่อภิชิตยืนยันว่าช่วงเวลาเพียง 2-3 ปีก็สามารถคืนทุนในรูปของการประหยัดค่าไฟได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องปรับอากาศทั่วไปส่วนความหมายของการประหยัดไฟที่ว่านี้คือการประหยัดส่วนต่างที่ไม่ต้องจ่ายค่า DEMAND CHARGE ที่รัฐเก็บเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10-15% นั่นเองที่เป็นเช่นนี้เพราะระบบ ICE BANK เป็นระบบที่สร้างความเย็นโดยการทำงานที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในเวลาตอนกลางคืนหรือช่วงตั้งแต่ 22.00-06.00 น.ในการเปลี่ยนแปลงน้ำให้กลายเป็นน้ำแข็ง และหยุดทำงานในช่วงเวลากลางวันเพื่อละลายน้ำแข็งให้ออกมาเป็นไอเย็นเพื่อปรับอากาศภายในห้องเหมือนเช่นเครื่องปรับอากาศทั่ว ๆ ไป

ส่วนดีของระบบอีกอย่างหนึ่งคือ การที่มีถังน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ติน ซึ่งจะเป็นแหล่งสะสมน้ำเพื่อใช้ในการผลิตน้ำแข็ง จะสามารถนำออกมาใช้ได้ในยามที่เกิดอัคคีภัยเช่นในประเทศญีปุ่นอาคารสูง ๆ หลายแห่งกำหนดให้ใช้ระบบนี้ไปวางไว้ใต้อาคาร เพื่อช่วยถ่วงให้อาคารสมดุลย์มากขึ้นไม่ให้สั่นไหวมากเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มต้นใช้ได้เพียงแค่ 1-2 ปีเท่านั้น หากพิจารณาจากผลที่จะได้รับในอนาคตทั้งอินเตอร์เทคกรุ๊ปก็ได้ตั้งความหวังไว้ว่าความจริงใจที่คิดจะช่วยชาติน่าจะเป็นส่วนสนองตอบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us