|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เบื้องหลังดีลควบรวม"ซีมิโก้-ไซรัส"จบไม่ลง เหตุยังตกลงเรื่องแกนหลักในการเข้าไปซื้อหุ้นไม่ได้ วงการตลาดทุนเชื่อหากจะควบรวมกันซีมิโก้จะเป็นฝ่ายเทกโอเวอร์ เพื่อประหยัดเงินที่ต้องจ่ายชดเชยพนักงานเพราะจำนวนพนักงานมากกว่า ระบุมีข่าวสะพัดแบงก์ใน-นอกประเทศ อยู่ระหว่างเจรจาหวังจับมือซีมิโก้ ชี้หากสรุปกับบล.ไซรัสไม่ได้ในเร็วๆเตรียมหันไปที่โบรกขนาดเล็กรายอื่น
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวถึงการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO กับบริษัทหลักทรัพย์ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ SYRUS ที่มีข่าวมาโดยตลอดว่าอยู่ระหว่างการเจรจาที่จะควบรวมและมีการเตรียมที่จะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมวันที่ 27 ก.ย. 50 ที่ผ่านมาแต่สุดท้ายกลับมีการถอนวาระการประชุมในเรื่องดังกล่าวออกไปว่า เหตุผลในการเลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายแม้ว่าจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นเดียวกันร่วมถือหุ้นแต่ยังไม่สามารถสรุปในรายละเอียดที่ลงตัวได้ทำให้ต้องมีการเลื่อนการขออนุมัติออกไป
ทั้งนี้ เรื่องที่ยังมีการถกเถียงและยังไม่สามารถสรุปได้ คือ รูปแบบของการควบรวม การแลกหุ้น โดยยังไม่สามารถสรุปได้ว่าบริษัทใดจะเป็นฝ่ายที่จะเข้าไปซื้อหุ้นของอีกบริษัท เนื่องจากต้องประเมินผลที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยส่วนตัวเชื่อว่าโอกาสที่ข้อสรุปจะให้บล.ซีมิโก้ เป็นฝ่ายเข้าไปเทกโอเวอร์กิจการ บล.ไซรัส อาจจะมีความเป็นไปได้สูงกว่า เนื่องจากจำนวนพนักงานของบล.ซีมิโก้มีค่อนข้างมาก หากการควบรวมเกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบในเรื่องการจ่ายเงินชดเชย
นอกจากนี้ หากพิจารณาในโครงสร้างผู้ถือหุ้นจะเห็นว่าผู้ถือหุ้นในบล.ซีมิโก้ส่วนใหญ่ถือหุ้นในสัดส่วนที่ไม่สูงนัก การที่จะหารือและขออนุมัติ รวมถึงการขอซื้อหุ้นกับผู้ถือหุ้นใหญ่ทุกรายเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยากกว่าการเจรจาเพื่อเข้าไปซื้อหุ้นของบล.ไซรัสที่ผู้ถือหุ้นใหญ่หลายรายถือหุ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้การรวบรวมหุ้นทำได้ง่ายกว่า
"มีข่าวจากวงในว่าทั้ง 2 ฝ่ายเค้ายังคุยกันไม่จบ มีผู้ถือหุ้นบางกลุ่มที่ยังไม่ตกลงกับข้อเสนอที่ฝ่ายผู้ซื้อเสนอมา ถ้าจะให้วิเคราะห์ว่าใครจะซื้อใครน่าจะเป็นบล.ซีมิโก้ซื้อบล.ไซรัสมากกว่า เพื่อเป็นการประหยัดในเรื่องเงินที่จะต้องชดเชยให้กับพนักงานที่อาจจะลาออก แต่อาจจะเป็นการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำเป็นโฮลดิ้งอีกทอดหนึ่ง"แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า มีกระแสข่าวออกมาเหตุที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงกันได้เนื่องจากตอนนี้บล.ซีมิโก้อยู่ระหว่างการเจรจากับธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศที่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงธนาคารจากต่างประเทศที่สนใจในธุรกิจดังกล่าวเหมือนกัน ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจาโดยอาจจะเป็นการเข้ามาร่วมทุนในการทำธุรกิจซึ่งแนวทางในเรื่องดังกล่าวมีได้หลายรูปแบบ
ทั้งนี้ อาจจะเป็นการเข้ามาเพิ่มทุนในบริษัทที่จะใช้เป็นแกนในการซื้อบริษัทหลักทรัพย์อื่น ซึ่งหากการเจรจาระหว่างบล.ซีมิโก้กับบล.ไซรัส ไม่ได้ข้อสรุปที่พอใจอาจจะมีการหาบริษัทหลักทรัพย์ทางเลือกใหม่ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและสามารถเจรจาได้ง่ายกว่า
"มีโบรกเกอร์อีกหลายบริษัทที่สนใจที่จะจับมือควบรวมกัน แต่ในรายละเอียดในเรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้น ข้อเสนอ ราคาในการซื้อขาย เงื่อนไขต่างๆคงต้องดูอีกครั้ง เพราะโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนผู้ถือหุ้นค่อนข้างมากทำให้การปรับเปลี่ยนทำได้ยาก ขณะที่เรื่องระหว่างบล.ซีมิโก้กับบล.ไซรัส สุดท้ายอาจจะไม่สามารถสรุปกันก็มีความเป็นไปได้"แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ กระแสการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ในช่วง 1-2 ปีหลังจากนี้จะต้องรุนแรงมากขึ้น เพราะจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ในปัจจุบันถือว่ามากความจำเป็นขนาดตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งทำให้เป็นไปได้ว่าก่อนการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายจำนวนบริษัทหลักทรัพย์อาจจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวจากปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บริษัทหลักทรัพย์ที่น่าจะสามารถแข่งขันกับสถานการณ์ที่การแข่งขันรุนแรงขึ้นได้ นอกเหนือจากส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ที่ต้องอยู่ในระดับมากกว่า 2.5-3% แล้วการเป็นบริษัทหลักทรัพย์ทางเลือกคือ มีสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีกับบริษัท ชอบบริการของบริษัทน่าจะเป็นอีกกลุ่มที่สามารถปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดได้
|
|
 |
|
|