|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
“ลูกชายเจ้าสัวเจริญ” ส่งยูนิเวนเจอร์ ถือหุ้นใหญ่ 60% ใน แกรนด์ ยูนิตี้ฯ หวังใช้เป็นหัวหอกธุรกิจอสังหาฯ รับซื้อซากตึกรีนูเวสขายทำกำไร แจงพร้อมซื้อทุกโครงการที่มีศักยภาพ ระบุผู้ร่วมทุน LPN – เยาววงศ์ยอมลดสัดส่วนถือหุ้นลงจากรายละ 33.33 % เหลือ 20% ด้าน“วัลลภา ไตรโสรัส” ยันทีซีซี แลนด์ฯและยูนิเวนเจอร์ ต่างมุ่งทำธุรกิจอสังหาฯ และยึดนโยบายในการลงทุนที่ชัดเจน ระบุยังไม่คิดซื้อตึกเนชั่น แต่เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มตึกไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์ (โครงการรัชดาสแควร์) รับกำลังซื้อในอนาคต
วานนี้ (1 ต.ค.) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UV แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท และบริษัทย่อยได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด หรือ GUD จำนวน 1,333,333 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท จากผู้ถือหุ้นเดิม ส่งผลให้ UV และบริษัทย่อย ถือหุ้นในแกรนด์ ยูนิตี้ 60% และบริษัทแอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เยาววงศ์ จำกัด เหลือหุ้นอยู่จำนวน 20% เท่ากัน
ทั้งนี้ บริษัทแกรนด์ ยูนิตี้ฯ ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้ออาคารสร้างค้าง ทั้งที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และทรัพย์สินรอการขายหรือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPA) จากสถาบันการเงิน รวมไปถึงโครงการสร้างค้างจากผู้ประกอบ ที่มีศักยภาพในการทำตลาด มาพัฒนาต่อแล้วขาย เป็นการร่วมลงทุนของ 3 ได้แก่ LPN, บริษัท ยูนิเวนเจอร์ฯ และบริษัท เยาววงศ์ จำกัด ในสัดส่วนรายละ 33.33% ของทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 533.65 ล้านบาท
นางอรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UV กล่าวว่า การปรับโครงสร้าง GUD เป็นไปตามกลยุทธ์เชิงรุกทางธุรกิจภายหลังจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานของ แกรนด์ ยูนิตี้ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีผู้นำในการกำหนดแผนธุรกิจในระยะยาว ซึ่งพันธมิตรที่ได้ร่วมทำงานกันด้วยดีตลอดมาคือ แอล พี เอ็น และกลุ่มเยาววงศ์ จะยังคงอยู่ร่วมเป็นพันธมิตรในการที่จะรุกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อไป ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของ แกรนด์ ยูนิตี้ ได้พัฒนาโครงการแนวสูงรวมทั้งสิ้นมูลค่ากว่า 5,200 ล้านบาท
นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทมองว่าจะสามารถใช้ความเชี่ยวชาญของ แกรนด์ ยูนิตี้ ซึ่งมีทีมงานที่ถนัด ในการปรับปรุงโครงการที่สร้างค้างที่ประสบปัญหาทางการเงินให้ประสบผลสำเร็จได้ ทั้งนี้ UV เห็นว่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภท NPA/NPL หรือโครงการร้างยังมีอยู่ในตลาดอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งสามารถที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ และบริษัทมีความพร้อมที่จะรับซื้อโครงการที่ประสบปัญหามาดำเนินการต่อได้
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN แจ้งการเปลี่ยนแปลงการร่วมลงทุนในบริษัทแกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติเปลี่ยนแปลงการร่วมลงทุนในบริษัทแกรนด์ ยูนิตี้ฯ โดยทำรายการในวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ซึ่งบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 60% ส่วน LPN และบริษทั เยาววงศ์ จำกัด ลดสัดส่วนหุ้นเหลือรายละ 20%
ลูกสาวเจ้าสัวยันUVแข็งแกร่ง
นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นลูกสาวเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กล่าวถึงความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัททีซีซีฯ กับบริษัทยูนิเวนเจอร์ ซึ่งน้องชายเข้าซื้อหุ้นใหญ่ในบริษัท ยูนิเวนเจอร์ฯ ว่า แต่ละบริษัทก็มีแนวนโยบายการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของบริษัท ทีซีซี แลนด์ฯ มีธุรกิจที่หลากหลายและมีโครงการที่เปิดให้บริการหลากประเภท ขณะที่บริษัทยูนิเวนเจอร์ฯ ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ชัดเจนในเรื่องของการลงทุน และเดินไปตามแนวที่บริษัทถนัด ที่สำคัญ บริษัทยูนิเวนเจอร์ฯเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง
“ประเด็นที่ว่า ทั้งสองบริษัทจะร่วมมือกันอย่างไรนั้น คิดว่าธุรกิจที่ทำอยู่ก็ชัดเจนหรือแม้แต่ที่ว่า มีการปรึกษาหารือกับคุณพ่อ (เจริญ สิริวัฒนภักดี) ในการผลักดันทั้งสองธุรกิจไปด้วยกันนั้น ตรงนี้ไม่มี เราเดินตามนโยบายที่วางไว้ ส่วนน้องชายซึ่งดูแลบริษัทยูนิเวนเจอร์ฯ ก็ต้องทำตามแนวของธุรกิจที่บริษัทยูนิเวนเจอร์ฯมีความชำนาญ” นางวัลลภากล่าว
ยังไม่คิดซื้อตึกเนชั่น
สำหรับการประกาศขายตึกเนชั่น ถนนบางนา-ตราดนั้นนางวัลลภากล่าวว่ายังไม่มีแนวคิดที่จะเข้าไปซื้อตึกดังกล่าว แม้ว่าปัจจุบันบริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด (TCCT)บริษัทในเครือไทยเจริญคอร์ปอร์เรชั่น (กลุ่ม ที.ซี.ซี.โฮลดิ้ง)ซึ่งดำเนินธุรกิจประเภทการให้บริการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ(ดาต้าเซ็นเตอร์) จะเช่าพื้นที่อยู่ในตึกเนชั่น โดยแนวนโยบายแล้ว ต้องการที่จะผลักดันและสร้างให้โครงการไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์รัชดาฯ เดิม โครงการรัชดาสแควร์) กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านไอทีในโซนนี้ เนื่องจากมีกำลังซื้อ ขณะที่โซนบางนา-ตราด คงต้องใช้เวลาให้ตลาดเติบโต
เล็งปลายปีเปิดตึก”ไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์รัชดาฯ”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯกล่าวถึงโครงการไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์ ว่า ขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างอาคารและตกแต่งมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยโครงการดังกล่าว ทางบริษัทได้ใช้งบในการซื้อและเสริมโครงสร้างให้แข็งแกร่งรวมเป็นเงิน 4,000 ล้านบาท และมีการเสริมทัศนีย์ภาพด้านหน้าอาคาร ให้กลายเป็นสวนและตรงกลางจะมีหอนาฬิกาโดยจะใช้เป็นสถานีที่นับถอยหลังวันขึ้นปีใหม่ซึ่งคาดว่าทุกอย่างจะแล้วเสร็จก่อนเดือนธ.ค.นี้
“เราจะทำโครงการนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านไอที และรองรับความเจริญทางด้านกำลังซื้อในบริเวณรัชดาภิเษก เนื่องจากมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นและเป็นแหล่งร่วมของห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลกำลังศึกษานำที่ดินตรงข้ามฟอร์จูนมาพัฒนา ขณะที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มาซื้อร้านอาหารป.กุ้งเผารัชดา ซึ่งมีแผนจะพัฒนาโครงการ ทำให้ในบริเวณนี้จะกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจนอกเหนือจากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการ ”นางวัลลภากล่าวให้เห็นโอกาสทางธุรกิจในโซนรัชดาฯ
|
|
 |
|
|