Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"กลยุทธ์ซัมซุง ค่อย ๆ รุกทีละขั้น"             
 


   
search resources

ซัมซุงคอนซูเมอร์อีเล็กทรอนิคส์
ธวัช ยวงตระกูล
จอง ยอง ยุน
Electronic Components




"ญี่ปุ่นเข้าตลาดเมืองไทยมานานหลายสิบปี ซัมซุงเพิ่งเข้ามาได้ 4 ปีเท่านั้นเราจะรุกเข้าตลาดเมืองไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป" กวางซูคิม ผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มบริษัทซัมซุงคอนซูเมอร์อีเล็กทรอนิคส์ ที่รับผิดชอบด้านการตลาดทั่วโลก กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงหนทางการเข้าเจาะตลาดเมืองไทยที่เนินเขาแห่งหนึ่งในกรุงโซล เกาหลีใต้

ซัมซุงเข้าทำธุรกิจเมืองไทยมานับ 10 ปีแล้ว โดยเปิดบริษัทเป็นเทรดดิ้งคอมปะนีเหมือนกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น จนเมื่อ 4 ปีก่อนก็ได้เข้าร่วมลงทุน (49/51) กับกลุ่มสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัทไอซีซีเปิดธุรกิจประกอบทีวีสีส่งออกและขายในประเทศในนามบริษัทไทยซัมซุง

"ไอซีซีเป็นผู้ขายทีวีสีในประเทศจากสายการผลิตเดียวกับที่ส่งออก ซึ่งไทยซัมซุงรับผิดชอบส่วนนั้น" ธวัช ยวงตระกูล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ซัมซุงของไอซีซีเล่าให้ฟังถึงการร่วมธุรกิจของทั้งสองกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่

ไทยซัมซุงประกอบทีวีสีประมาณปีละ 250,000-300,000 เครื่อง และกำลังเพิ่มสายการผลิตอีก 1 สายเพื่อให้กำลังผลิตเพิ่มเป็นปีละ 500,000 เครื่องในปีหน้า

สายการผลิตของไทยซัมซุง ประมาณร้อยละ 80 เป็นการส่งออกไปประเทศภาคพื้นยุโรปตามเงื่อนไขของบีโอไอ และที่เหลือประมาณ 20% ของยอดการผลิตขายในประเทศ

ธวัช เล่าให้ฟังว่าชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบทีวีสีเช่นหลอดภาพ ไทยซัมซุงนำเข้าจากโรงงานผลิตหลอดภาพทีวีสีของซัมซุงในเกาหลีใต้

"บริษัทซัมซุงอีเล็คตรอนดีไวส์เป็นผู้ผลิตหลอดภาพทีวีสีรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ซัพพลายให้ตลาดโลก มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 11.2" บริษัทซัมซุงกล่าวเปิดเผยในรายงานประจำปี 2534 ของบริษัท

การเป็นผู้มาก่อนของบริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทย โหมด้วยการโฆษณาและส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคจึงรู้จักสินค้าของญี่ปุ่นและมีทัศนะคติที่ดี บริษัทญี่ปุ่นจึงมีโอกาสยึดครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าคอนซูเมอร์อีเล็คทริคส์ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับบริษัทจากยุโรปเช่นฟิลิปส์และอเมริกาเช่นยีอี

"เราครองส่วนแบ่งตลาดทีวีสีในไทยประมาณ 4-5% จากยอดขายทีวีสีทั้งหมดในตลาดเฉลี่ยปีละ 1 ล้านเครื่อง" ธวัชจากไอซีซีกล่าวถึงฐานะส่วนแบ่งตลาดของซัมซุงหลังเข้าตลาดไทยได้เพียง 4 ปี ซึ่งยังห่างไกลจากส่วนแบ่งตลาดของมัตซูชิตะและโซนี่ของญี่ปุ่นมาก

ซัมซุงมีเป้าหมายอย่างจริงจัง ที่จะเข้าตลาดไทยในกลุ่มสินค้าคอนซูมเมอร์อีเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด ในอนาคตอันใกล้โดยส่วนหนึ่งในฐานการผลิตในประเทศ และนำเข้าจากสายการผลิตในเกาหลี

"เราเชื่อมั่นว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ซัมซุงคอนซูมเมอร์อีเล็คทรอนิคส์ จะสามารถแข่งขันทุกด้านกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในทุก ๆ ตลาดของโลก" จอง ยอง ยุน หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัทซัมซุงคอนซูมเมอร์อีเล็คทรอนิคส์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

จอง ยอง ยุนได้ยกตัวอย่างให้ฟังว่าซัมซุงกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดร่วมประชาคมยุโรปและยุโรปตะวันออกด้วยยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ หนึ่ง การขยายเครือข่ายการขายและการบริการทั่วภาคพื้นยุโรป สอง การลงทุนส่งเสริมการขายและโฆษณาอย่างหนัก สาม การลงทุนปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมซัมซุงได้เข้าซื้อกิจการบริษัท (WERK FUR FERN SEHELEK TRONIK) ผู้ผลิตหลอดภาพทีวีสีที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันตะวันออกซึ่งมีกำลังผลิตปีละ 1.2 ล้านชิ้นและกำลังจะลงทุนเพิ่มในโรงงานแห่งนี้เพื่อยกระดับกำลังการผลิตไปให้ถึง 2.5 ล้านชิ้นต่อปีในอนาคตอันใกล้

การเข้าซื้อบริษัทนี้ถือว่าเป็น STRATEGIC MOVE ของซัมซุงในการทำลายกำแพงกีดกันทางการค้า ในรูปของการจำกัดปริมาณโควต้านำเข้าของประชาคมยุโรปต่อสินค้าจากประเทศเกาหลี โรงงานนี้ ทางซัมซุงหวังจะเป็นตัวช่วยในการขยายตลาดทีวีสีในยุโรปของซัมซุงสะดวกมากขึ้น ในฐานะเป็นตัวซัพพลายชิ้นส่วนป้อนโรงงานผลิตทีวีสีของซัมซุง ซึ่งมีอยู่ที่อังกฤษ ฮังการี โปร์ตุเกสและตุรกี

"ยุโรปกำลังแข่งขันทีวีสีที่มีจอภาพขนาดใหญ่ และเอชดีทีวี เราจะใช้โรงงานแห่งนี้เป็นตัวป้อนชิ้นส่วนหลอดภาพทีวีสีเอชดีทีวี" จอง ยอง ยุนกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงเบื้องหลังที่แท้จริงในการเข้าซื้อเพื่อเตรียมตัวแข่งขันกับญี่ปุ่นในตลาดทั่วภาคพื้นยุโรป

ก่อนหน้าที่ ซัมซุงจะเข้าซื้อกิจการผลิตหลอดภาพในเยอรมันตะวันออก บริษัทซัมซุงได้ลงทุนร่วมกับบริษัท คอร์นนิ่งแห่งสหรัฐ ในการผลิตจอภาพขนาดใหญ่ของทีวีระบบเอชดีทีวี และจอภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้สายการผลิตจากโรงงานผลิตจอภาพในเกาหลี

นอกจากนี้ ซัมซุงยังมีสายการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเปรียบเสมือนชิ้นส่วนที่เป็นสมองของคอนซูมเมอร์อีเล็คทรอนิคส์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นทีวีสี เครื่องเสียง เครื่องเล่นวีดีโอ คอมแพ็คดิสก์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์สื่อสารรถยนต์หรือแม้แต่เครื่องบิน

จากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" พบว่า ซัมซุงเริ่มเข้าสู่สายการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ครั้งแรกเมื่อ 18 ปีก่อน โดยเช่าเทคโนโลยีไลเซ้นต์จากบริษัทโตชิบาของญี่ปุ่น

เมื่อเรียนรู้เทคโนโลยีจากโตชิบาสำเร็จเมื่อปลายปีทศวรรษที่ 70 ซัมซุงได้ลงทุนวิจัยพัฒนาเพื่อการออกแบบผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ด้วยตนเองด้วยเงินลงทุนวิจัยและพัฒนาสูงถึงร้อยละ 10 ของยอดขาย

จนถึงเวลานี้ ซัมซุงสามารถผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ขนาด 16 M DRAM 4 SRAM 8 bit micro controller units Thermal printing heads Contact image sensors ได้เป็นผลสำเร็จและกำลังพัฒนาเซมิคอนดัคเตอร์ขนาด 64 M DRAM อยู่ในขณะนี้การเติบโตของตลาดเซมิคอนดัคเตอร์อย่างรวดเร็ว ทำให้ซัมซุงเปิดสายการผลิตออกไปทั่วโลก เช่นที่ แคลิฟอร์เนีย ซานโจเซ่ แฟรงเฟิร์ต โตเกียว ฮ่องกง สิงคโปร์ และไทเป

"เทคโนโลยีผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ของซัมซุงพูดได้ว่าทัดเทียมกับบริษัทโตชิบาของญี่ปุ่นแล้วในขณะนี้" จอง ยอง ยุน กล่าวถึงฐานะการแข่งขันของซัมซุง ปีที่แล้ว ซัมซุงส่งออกเซมิคอนดัคเตอร์ขนาดต่าง ๆ ไปยังบริษัทคอนซูมเมอร์อีเล็คทรอนิคส์ชั้นนำยุโรปญี่ปุ่นและสหรัฐเช่นไอบีเอ็ม ฮิวเล็ตแพ็คการ์ด โซนี่ เทเลฟุงเก้น ประมาณเกือบ 1000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 6% ของรายได้จากการส่งออกรวมทั้งกลุ่มเมื่อปีที่แล้ว

มองจากมุมนี้ ซัมซุงจึงมีโครงสร้างของสายการผลิต ที่พร้อมต่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตทีวีจอภาพขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 25 นิ้วขึ้นไปถึง 100 นิ้ว) และเอชดีทีวี ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตระดับ HIGH-END ของอุตสาหกรรมทีวีสีของโลกในขณะนี้

"ตลาดเมืองไทยยังมีความต้องการทีวีสีขนาดจอภาพ 21 นิ้วเป็นส่วนใหญ่" ธวัช แห่งไอซีซีกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงสภาพการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดทีวีสีที่แตกต่างจากตลาดในยุโรป

จากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" พบว่า เทคโนโลยีการผลิตทีวีสีระดับ HIGH-END หัวใจสำคัญอยู่ที่ชิ้นส่วนหลอดภาพและเซมิคอนดัคเตอร์ ถ้าใครเป็นผู้นำเทคโนโลยี่ชิ้นส่วน 2 ชิ้นนี้ก็ย่อมได้เปรียบในการแข่งขันเพราะชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่เหลือเป็นเพียงองค์ประกอบรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อคุณภาพของสินค้าแต่อย่างใด

กล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าเทคโนโลยีทัดเทียมกัน การแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่การแข่งขันด้านราคา การออกแบบ และการโฆษณา" ผมเชื่อว่าการแข่งขันทีวีสีในเมืองไทย จะอยู่ที่ส่วนแบ่งตลาดมากกว่าส่วนเหลื่อมกำไรเพราะการแข่งขันจะบีบให้มีต้นทุนทางการตลาดสูงจนมีมาร์จิ้นของกำไรไม่มาก" ธวัช กล่าวถึงกำไรของธุรกิจทีวีสี

นั่นหมายความว่าจากนี้ไปไม่นานนักทีวีสีของค่ายซัมซุงจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเนชั่นแนลและโซนี่ในตลาดเมืองไทย เมื่อมองจากแง่มุมทางเทคโนโลยี่และราคา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us