|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2550
|
|
หน้าร้อนปีนี้เป็นปีที่น้ำท่วมหนักอีกปีหนึ่งในพื้นที่ตะวันตกกลาง (Midwestern) แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย 12 มลรัฐด้วยกัน ได้แก่ อิลลินอยส์ อินเดียนา ไอโอวา แคนซัส มิชิแกน มินนิโซตา มิซซูรี โอไฮโอ นาบราสกา นอร์ทดาโกตา เซาท์ดาโกตา และวิส คอนซิน ตามปกติย่านนี้ในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่เปียกที่สุด แต่ปีนี้หนักถึงขั้นน้ำท่วม โดยเฉพาะที่มลรัฐอิลลินอยส์ อินเดียนา ไอโอวา มินนิโซตา โอไฮโอ และวิสคอนซิน
เมื่อวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา แนวอากาศอุ่น (Warm Front) จากตอนใต้ของสหรัฐฯ เคลื่อนผ่านขึ้นทางตอนเหนือของประเทศ เข้าสู่เขตมลรัฐไอโอวา และอิลลินอยส์ จากนั้นหยุดอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อน ต่อไป ทำให้ทั้งสองรัฐ รวมทั้งรัฐใกล้เคียงที่อยู่ทางตะวันออกและตะวันตก มีฝนตกหนักติดต่อกันตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันพายุโซนร้อนอีริน (Erin) ที่เข้ามาทางตอนใต้เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมากขึ้น เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flooding) ซึ่งอุตุนิยมวิทยาทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ออกมาเตือนล่วงหน้า การพยากรณ์อากาศถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสหรัฐฯ เนื่องจากสภาพอากาศที่นี่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ถัดมาในวันที่ 19-20 ระบบอากาศยังคงไม่เคลื่อนที่ไปไหน ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองต่อไปอีกหลายวัน จนกระทั่งวันที่ 23-24 พื้นที่ในชิคาโกและรอบๆ หลายแห่งถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ สนามบิน ทั้งโอแฮร์ (O'Hare) และมิดเวย์ (Midway) ต้องประกาศยกเลิกการบินเป็นการชั่วคราว ผู้คนกว่า 600,000 ครัวเรือนปราศจากไฟฟ้า บางรายต้องใช้เวลากว่า 2-3 วันจึงจะมีไฟใช้ เมืองดีคาล์บ (DeKalb) เมืองเล็กๆ ห่างจาก นครชิคาโกไปทางตะวันตกประมาณ 100 กม. โดนหางเลขของพายุฝนเดือนสิงหาเข้าไปเต็มๆ จากปริมาณน้ำฝนเกือบ 5 นิ้ว (123 มิลลิเมตร) ของพายุฝนที่ตกตลอดติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 23-24 ทำให้ระดับแม่น้ำคิชวอคกี (Kishwaukee) สูงถึง 15.4 ฟุต ถือเป็นปริมาณที่สูง เป็นลำดับที่ 2 นับตั้งแต่ปี 1983 ที่อยู่ที่ระดับ 15.8 ฟุต ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของดีคาล์บ
น้ำจากแม่น้ำและท่อระบายน้ำไหลล้นทะลักเข้าบ้านเรือน อาคารเรียน สุสาน สวนสาธารณะ ทำให้เทศบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์น อิลลินอยส์ (NIU) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน ต้องประกาศปิดชั่วคราว แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะยังไม่เปิด แต่ก็เป็นสุดสัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดเทอม เป็นช่วงที่นักศึกษาเริ่มทยอยย้ายเข้าหอพัก ประกอบกับงานเทศกาลท้องถิ่น "Corn Fest" ที่จัดขึ้นในวันนั้นพอดี แม้ว่า ดีคาล์บจะเป็นเมืองเล็กๆ แต่เหตุการณ์เพียงเท่านี้ก็ทำให้การจราจรเป็นอัมพาตได้ นักศึกษาที่มีที่พักอยู่ตามรอบๆ แคมปัส ใกล้กับ แม่น้ำคิชวอคกี้ต้องอพยพย้ายข้าวของกันอย่างรีบเร่ง เพราะน้ำในแม่น้ำเพิ่มระดับอย่าง รวดเร็ว โชคดีไม่มีใครสูญเสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้ แต่ผู้อยู่อาศัยกว่า 600 ครัวเรือนต้องอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย บ้านหลายหลังที่มีห้องใต้ดิน ต้องกลายเป็นห้องใต้น้ำ สวนสาธารณะกลายเป็นสวนน้ำแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ในขณะที่หลายหมู่บ้านมีพื้นที่ว่างรองรับน้ำฝน หรือป้องกันน้ำท่วม (retention area หรือ "แก้มลิง") ก็รอดปลอดภัยไปแบบ หวุดหวิด ในสหรัฐฯ ถือเป็นกฎหมายในการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมที่ต้องกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้เพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่กระนั้นจากการเติบโตของเมือง พื้นที่ทำการเกษตรลดน้อยลง อาคารบ้านเรือน ถนนหนทางเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงต่อน้ำท่วม ต่อครัวเรือนก็มีเพิ่มขึ้นด้วย
คิชวอคกีเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ ไหลแยก จากแม่น้ำร็อค (Rock River) บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า "เดอะ คิช" ("The Kish") เริ่มต้นจากเมืองวู้ดสต๊อก (Woodstock) ผ่านเมืองดีคาล์บไปถึงเมืองร็อคฟอร์ด (Rockford) ใน อิลลินอยส์ แม่น้ำสายนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้คน ในแถบนี้นานนับพันปี คนอินเดียนแดง หรือ ชาวเนทีฟอเมริกัน (Native American) ใช้แม่น้ำสายนี้ในการขนส่งสินค้าและค้าขายกับคนเมืองอื่นๆ
"Kishwaukee" เป็นภาษา Potowatomi ซึ่งเป็นภาษาของชาวอินเดียนแดง มีความหมายว่า "river of sycamore" หรือ "แม่น้ำของต้นซิกามอร์" ต้นซิกามอร์ หรือต้นไม้ตระกูลมะเดื่อของบ้าน เรา เป็นต้นไม้ที่มีความหมายกับวิถีชีวิตของชาวอินเดียนแดงอย่าง มาก พวกเขาจะนำไม้ต้นใหญ่ทั้ง ต้นมาขุดเป็นเรือแคนู (Canoe) และต้นไม้ ชนิดนี้เติบโตดีในพื้นที่นี้ ทั้งนี้จากหลักฐานทางโบราณคดีวิทยาเชื่อว่า ชาวเนทีฟอเมริกัน ถูกรุกรานออกจากพื้นที่แถบนี้ในปี 1840
ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้กลายเป็นแหล่งตกปลาของคนท้องถิ่น โดยไหลผ่านสวนสาธารณะหลายแห่งในดีคาล์บ ตามปกติแล้ว ระดับน้ำในแม่น้ำสายนี้จะไม่สูงเลย บางปีถึงขั้นแห้งทีเดียว...ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดบนโลกใบนี้ก็สามารถ ประสบได้...หากบุคคลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติมีสติ มีความรู้จริง ไม่ห่วงโกงกิน ไม่ห่วงสร้างภาพ สามารถสร้างระบบการเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และมีการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างจริงจังต่อเนื่อง อันจะช่วยป้องกัน รักษาชีวิตและทรัพย์สินได้ไม่น้อย
ข้อมูล: www.midweeknews.com
|
|
|
|
|