Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 ตุลาคม 2550
"ไมเนอร์"สู้ศึกเสื้อผ้าแฟชั่นรีแบรนด์-ปรับราคา"เอสปรี"รับศึก             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Marketing
Clothings




ไมเนอร์ฯ เปิดสงครามราคาถล่มตลาดเสื้อผ้าแฟชั่น พลิกโฉมการแข่งขันตลาดอินเตอร์แบรนด์ ล่าสุดรีแบรนด์ "เอสปรี" ในรอบ 19 ปี หันจัดระเบียบราคาแข่ง "ซาร่า - แมงโก้" แถมตีกรอบกันคู่แข่งอินเตอร์แบรนด์รายใหม่ในอีก 1- 2 ปีข้างหน้า ประเดิมงบ 30 ล้านบาท ลอนช์แคมเปญ "What ' new?" สร้างความสนใจพร้อมกระตุ้นความถี่การซื้อของผู้บริโภค การปรับทัพราคาครั้งนี้ ไมเนอร์ฯหวังปั๊มยอด "เอสปรี" โค้งสุดท้ายเข้าเป้า 800 ล้านบาท

ตลาดแฟชั่นในบ้านเราอาจเคยตื่นเต้นมาแล้ว เมื่อครั้งที่แบรนด์ "ZARA" บินข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาขยายตลาดปักหมุดในไทยที่สยามพารากอน บนพื้นที่กว่า 1,700 ตร.ม. สร้างความอลังการชนิดที่เรียกว่าแบรนด์เนมในตลาดเกิดอาการหวั่นๆไม่น้อย รวมทั้งอินเตอร์แบรนด์ระดับแถวหน้าที่แม้จะมั่นใจในฐานที่มั่นของตนเองก็ยังต้องเหลียวหลังมาดูน้องใหม่รายนี้แบบไม่กระพริบตา เหตุที่ผู้เล่นรายนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจาก "ZARA" เคยสร้างวีรกรรม ปฏิวัติวงการแฟชั่นโดยสามารถตีจุดอ่อนลักชูรี่แบรนด์ในแถบยุโรปมาแล้ว ด้วยโมเดลเฉพาะตัวที่มี "ราคา" และ "ดีไซน์" มาเป็นจุดขายสร้างความหนักใจให้ผู้เล่นในตลาดไม่น้อย

ขณะเดียวกันภาพรวมเศรษฐกิจ รวมไปถึงสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรดาแบรนด์เนมทั้งหลายต้องสร้างกำลังใจกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภค ด้วยการจัด Sale Promotion อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบลดกระหน่ำถล่มทลายขึ้นป้ายลดราคาตั้งแต่ 50% - 80% ยั่วใจขาชอปทั้งหลายแบบสุดตัวและเพิ่มเวลายาวนานกว่าทุกครั้ง โดยรูปแบบดังกล่าวกลายเป็นภาพที่เกิดขึ้นชัดเจนในตลาดแฟชั่นบ้านเรามากขึ้นในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า ในระยะยาวย่อมส่งผลเสีย เพราะเมื่อผู้บริโภคเห็นการลดราคาจนเคยชินความตื่นเต้น ความเร็ว และความถี่ในการซื้อสินค้าย่อมลดลง ดังนั้นในฐานะผู้เล่นหลักในตลาดแฟชั่น ค่ายไมเนอร์ฯจึงหันมาปรับทัพครั้งใหญ่เพื่อรับศึกในครั้งนี้

ล่าสุด ไมเนอร์ฯนำร่องด้วยการ รีเฟรช "เอสปรี" แบรนด์เรือธงขาที่ 1 ครั้งใหญ่ในรอบ 19 ปี นับตั้งแต่เข้ามาทำตลาดในไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้มีความสดใส ทันสมัยเข้ากับไลฟ์สไตล์และตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ ทั้งในเรื่องของ "ดีไซน์" และ "ราคา" ในรูปแบบที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าใหม่ได้ตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับผู้บริโภคในฮ่องกงและสิงคโปร์ โดยไม่ต้องใช้กลยุทธ์เซลล์โปรโมชั่นที่มีความถี่เหมือนที่ผ่านมา

"การแข่งขันในตลาดแฟชั่นบ้านเรารุนแรงเพิ่มขึ้น ส่วนลูกค้าก็ต้องการแฟชั่นที่เหมาะกับตนเองมากขึ้น โดยต้องการสินค้าพรีเมียมมีคุณภาพแต่ราคาต้องไม่สูงมาก ขณะเดียวกันต้องสามารถซื้อได้หลายชุดต่อการซื้อ 1 ครั้ง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นในฮ่องกงแล้ว" เป็นคำกล่าวของ แมทธิว กิจโอธาน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัทไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

เริ่มตั้งแต่ "ดีไซน์" ที่นับจากนี้ "เอสปรี" (Esprit) จะทำการเพิ่มจำนวนสินค้าคอลเลคชั่นใหม่เข้ามาจำหน่ายในปริมาณมากขึ้น 30 - 40% หรือเพิ่มจาก 28,000 - 30,000 ชิ้นต่อเดือน เป็น 50,000 ชิ้นต่อเดือน โดยสินค้าใหม่จะถูกลำเลียงเข้ามาจำหน่ายในร้านทุกๆ 10 วัน เร็วกว่าปกติที่จะนำเข้าเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าใหม่และกระตุ้นความถี่การซื้อได้มากขึ้น และเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าตรงตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น การส่งสินค้าใหม่เข้าสาขาแต่ละแห่งจะมาจากการสำรวจพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ แบรนด์ "อีดีซี" (edc by Esprit) ก็มีการเพิ่มจำนวนสินค้าคอลเลคชั่นใหม่มากขึ้นอีก 3 เท่า จากเดิมที่นำเข้าเพียง 19,000 ชิ้นต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบดีไซน์จะเป็นจุดขายสำคัญในการดึงดูดเหล่านักชอปทั้งหลาย ทว่า สิ่งที่เป็นเครื่องมืออันทรงพลังสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อ นั่นคือ "ราคา" ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารค่ายไมเนอร์ อธิบายว่า แม้มีการปรับรูปลักษณ์แบรนด์และดีไซน์สินค้าให้เข้ากับไลฟ์สไตล์กลุ่มเป้าหมายแล้ว ทว่า "ราคา" จะต้องเป็น "Perfect Price" ที่หมายถึงลูกค้าสามารถจับต้องได้ รวมทั้งต้องไม่สับสนกับราคาด้วย เพื่อตีกันผู้เล่นรายใหม่ระดับโกลบอล แบรนด์ (Global Brand) ที่คาดว่าจะทยอยเข้ามาเปิดตลาดในไทยมากขึ้นในอีก 1 - 2 ปีข้างหน้า เช่น H&M

ที่สำคัญ คือ การเพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่อย่าง "ซาร่า" แบรนด์ที่เข้ามาสร้างแรงกระแทกอย่างจัง ด้วยจุดขายการเป็น "Mass Exclusive Brand" ที่นำเรื่องดีไซน์มาผนวกกับราคา โดยแต่ละปีพบว่า ผู้เล่นรายนี้ทำการผลิตสินค้าออกมามากกว่า 20,000 แบบ โดยไม่ยึดติดแค่ 4 ฤดูกาลเหมือนแบรนด์เนมทั่วไป ถือเป็นการออกนอกกรอบแฟชั่นที่ประสบความสำเร็จ จนคนในกรอบต้องกระโจนออกมาเล่นเกมส์นี้ด้วย อย่างค่ายไมเนอร์ฯส่งเอสปรีมานำร่องก่อนทยอยปรับทัพสินค้าในเครือหลังจากนี้ และเชื่อกันว่าอนาคตอันใกล้เทรนด์การทำตลาดรูปแบบนี้จะมีให้เห็นมากขึ้น

"บริษัทเชื่อว่าผู้เล่นรายอื่นจะหันมาทำรูปแบบเดียวกับเรา ซึ่งจะช่วยให้ภาพรวมตลาดแฟชั่นมีการเซลล์ต่อปีน้อยลง เหมือนที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงที่จะมีการเซลล์เพียงปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้คาดว่าเทรนด์นี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี 2551"

ที่ผ่านมา จะสังเกตว่า การกำหนดราคาสินค้า (Price Point) ของเอสปรีจะมีอยู่หลากหลายประมาณ 40 ราคา ทำให้เกิดปัญหาการรับรู้ต่อแบรนด์ของผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่น การรีแบรนด์ "เอสปรี" ครั้งนี้ "ราคา" จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ไมเนอร์ฯถือเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับถล่มผู้เล่นในตลาด ด้วยการจัดระเบียบราคาใหม่เหลือเพียง 15 - 17 ราคา ที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับในทุกหมวดสินค้า คือ ระดับเบสิค ระดับกลาง และระดับพรีเมียม ซึ่งการวางราคา Price Point ที่ดีจะช่วยสร้างการรับรู้ว่าแบรนด์อยู่ในระดับใด โดยราคาใหม่ที่ไมเนอร์ฯกำหนดขึ้นจะมีความใกล้เคียงคู่แข่งอย่าง "ซาร่า" และ "แมงโก้" จากเดิมที่ "เอสปรี" จะวางราคาสูงกว่าประมาณ 20 - 30% เมื่อเทียบกับสินค้าในหมวดเดียวกัน แต่ยังคงเน้นจับตลาดลูกค้าระดับกลางขึ้นบนเช่นเดิม ขณะที่เมื่อเทียบกับฮ่องกงก็เป็นราคาที่ใกล้เคียงกันด้วย

นับเป็น ไฮไลต์ที่น่าสนใจของ "เอสปรี" ที่ทำการถอดป้าย "Sale" เพื่อเปลี่ยนเกมการตลาดให้เลิกกระตุ้นความถี่การซื้อของผู้บริโภคด้วยการจัดเซลล์โปรโมชั่น แต่ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งปี โดยมีดีไซน์และราคาที่เหมาะสมเป็นตัวขับเคลื่อน สำหรับ การงัดกลยุทธ์ราคาและดีไซน์มาเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันในครั้ง นับเป็นความโชคดีของเอสปรีที่บริษัทแม่มีนโยบายสนับสนุนเต็มที่ กอปรกับภาวะการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การสั่งซื้อสินค้าได้ต้นทุนที่ถูกลง แม้โดยรวมมาร์จิ้นของบริษัทจะลดลงราว 1 - 2% แต่ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นหลายเท่า เชื่อว่าย่อมเป็นผลดีสำหรับไมเนอร์ฯไม่น้อย

การรีแบรนด์ของเอสปรีครั้งนี้ ไมเนอร์ฯเทงบก้อนแรก 30 ล้านบาท เปิดแคมเปญ "What's new" เพื่อสร้างความสนใจและให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาและรูปแบบของสินค้า ที่มีความหลากหลายและเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ และใส่ได้ตลอดทั้งวันในหลายโอกาส ซึ่งเป็นทิศทางของตลาดในเอเชียขณะนี้ นอกจากนี้ได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทยในการส่ง sms แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและโปรโมชั่นต่างๆ ผ่านฐานลูกค้าธนาคารกว่า 4 ล้านคน เพิ่มความแข็งแกร่งในการส่งข่าวสารเพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น

สำหรับ ตลาดแฟชั่นมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ 9,000 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกภาพรวมตลาดเติบโตลดลง 20 - 25% และคาดว่าทั้งปีจะโตลดลงกว่า 20% ขณะที่ไมเนอร์แฟชั่นกรุ๊ปคาดว่าจะเติบโตขึ้น 4 - 5% นับเป็นการเติบโตน้อยสุดในรอบ 4 - 5ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่เติบโตประมาณ 15 - 17% โดยในช่วงที่ผ่านมาจะมีการเลิกทำตลาดแบรนด์แรมเพจ (Rampage) และสแนคกานอล (Sinequanone) ต้องตามดูกันต่อไปว่า หลังจากปรับกลยุทธ์ใหม่ ปีนี้ "เอสปรี" จะสามารถเติบโตได้ 7 - 8% ตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือปิดยอดขายที่ 800 ล้านบาทได้หรือไม่ เพราะในช่วงครึ่งปีแรกแบรนด์นี้เจอพิษเศรษฐกิจทำให้เติบโตลดลง โดยปัจจุบันยอดขายเอสปรีและแบรนด์อีดีซีมีสัดส่วน 65 - 70% ของกลุ่มแฟชั่นไมเนอร์ฯ รองลงมาคือ บอสสินีมีสัดส่วน 30% และในปีหน้าค่ายนี้มีแผนจะเพิ่มแบรนด์ขาที่ 3 ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเป็นแบรนด์ที่สร้างขึ้นเอง หรือแบรนด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us