Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535
"สมพงษ์ ฝึกการค้า เปลี่ยนจากท่าน้ำมาวิ่งรถไมโครบัส"             
 


   
search resources

บางกอกไมโครบัส
สมพงษ์ ฝึกการค้า
Transportation




จากอดีตเจ้าของ "บริษัทบางกอกวอเตอร์รีซอส" โครงการจัดหาน้ำดิบเพื่อโรงงานอุตสาหกรรมเขตสมุทรปราการวันนี้ "สมพงษ์ ฝึกการค้า" ได้กลายเป็นเจ้าของ "บริษัทบางกอก ไมโครบัส" ผู้รับสัมปทาน 10 ปีทำธุรกิจวิ่งรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กจำนวน 400 คัน บนเส้นทาง 10 สายในเขตธุรกิจ

ประมาณสิงหาคมปีหน้าไมโครบัสคันแรกก็จะเปิดบริการให้ใช้ได้ในเส้นทางสายแรกจากจำนวน 10 สาย ซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง เส้นทางสายจตุจักร-ประชาชื่น ระยะทาง 20 กม. สอง เส้นทางสายสีลม-ประตูน้ำระยะทาง 12 กม. สาม เส้นทางสายวงเวียนใหญ่-ปทุมวัน ระยะทาง 19 กม. สี่ เส้นทางสายท่าน้ำสี่พระยา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิระยะทาง 16 กม. ห้า เส้นทางสายเดอะมอลล์ท่าพระ-หัวลำโพง ระยะทาง 24 กม. หก เส้นทางสายลุมพินี-พระโขนง ระยะทาง 17 กม. เจ็ด เส้นทาง สายรามคำแหง 39-ถนนพระรามที่ 9 ระยะทาง 14 กม. แปดเส้นทางสายสถานีขนส่งสายใต้ใหม่-สามเสน ระยะทาง 14 กม.เก้า เส้นทางสายบางลำภู-ขนส่งสายใต้ใหม่-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. และสิบ เส้นทางสายเซ็นทรัลลาดพร้าว ระยะทาง 27 กม.

"ในหลักการที่พูดกันแบบเดิมคือให้วิ่งเป็นวงในกรุงเทพ จากจุดธุรกิจไปยังจุดธุรกิจอีกแห่งหนึ่ง นี่คือคอนเซปท์เวลาเราประมูลเราไม่อยากจะกำหนดเส้นทางให้เพราะเราอยากให้เอกชนกำหนดว่าอะไรทำแล้วกำไร อะไรทำแล้วไม่กำไรซึ่งถ้าโครงการนี้ออกมาแล้วจะวิ่งในจุดธุรกิจเช่น อนุสาวรีย์ไปสีลมไปทางคลองเตย เป็นวงกลม" ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลหรือ "หม่อมเต่า" อธิบดีกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ขสมก. เล่าให้ฟัง

ในอดีตสมพงษ์เคยเป็นตำรวจกองทะเบียนรถยนต์และมีธุรกิจเดินรถเมล์วิ่งเส้นทางบางลำภู-หมู่บ้านเศรษฐกิจและสามารถสร้างตัวขึ้นมาได้จากสงครามเวียดนามซึ่งสมพงษ์ทำธุรกิจเดินรถขนส่งทหาร จีไอ. ของสหรัฐจากสนามบินดอนเมืองไปยังโรงแรมต่าง ๆ ในกรุงเทพ-ด้วยรถโค้ชปรับอากาศ หลังสงครามเลิกไปเขาได้หันมาเป็นตัวแทนขายรถดั้มพ์และนำเข้าเครื่องจักรขนาดใหญ่ในกิจการรับเหมาก่อสร้าง

ผู้ร่วมลงทุนกับสมพงษ์ในโครงการไมโครบัสนี้ ได้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งถือหุ้น 10% ของทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) ถือหุ้น 20% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัท บางกอกมอเตอร์ อิควิปเมนท์ถือ 70%

"การถือหุ้นของบริษัทในโครงการไมโครบัส 70% นั้นบริษัทจะถือจริงแค่ 51% ส่วนที่เหลือ 19% กำลังเจรจากับสถาบันการเงินในประเทศอยู่ เพื่อให้เข้าถือหุ้นดังกล่าว หลังการดำเนินการไประยะหนึ่งจะมีแผนนำบริษัทเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป และเมื่อสัญญาเดินรถได้สิ้นสุดลง ขสมก.จะต่อสัญญาให้อีกคราวละ 2 ป ี" สมพงษ์เล่าถึงแผนการในอนาคตของบริษัท

สายสัมพันธ์ดั้งเดิมของสมพงษ์กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ต่อเนื่องจากโครงการจัดหาน้ำดิบเป็นเพราะ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมขณะนั้นเป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันขึ้น ดังนั้นเมื่อจิรายุขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ และเห็นว่าโครงการจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจึงเข้าถือหุ้นในโครงการนี้ด้วย

"กรณีที่เราเข้าร่วมทำโครงการไมโครบัสด้วย เพราะมีการพูดถึงปัญหาจราจร เมื่อมีคนเขาคิดปรับปรุงบริการแก่มวลชนเพื่อลดปัญหาลง เราก็ให้ความร่วมมือถือหุ้นในบริษัท บางกอกไมโครบัส ประมาณ 20 ล้านบาทหรือ 10%" จิรายุ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินเล่าให้ฟัง

ในระยะแรกจุดคุ้มทุนในเชิงพาณิชย์ของการดำเนินธุรกิจนี้ สมพงษ์ในฐานะผู้ก่อการได้ให้ทัศนะว่า ตนเองไม่ได้คาดหวังว่ากี่ปีจะคุ้มทุน แต่บริษัทได้เห็นปัญหาจราจรคับคั่งเป็นสิ่งน่าวิตกสำหรับชีวิตประจำวัน บริษัทจึงเน้นให้บริการมากกว่าเก็งกำไร

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูงเพราะต้องการเน้นบริการของไมโครบัส ทำให้บริษัทต้องมีการให้บริการประกันชีวิต ชั้นหนึ่งแก่ผู้โดยสาร เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่วนภายในรถจุที่นั่งได้เพียง 20 ที่นั่งซึ่งไม่คุ้มทุน ขณะที่รถเมล์หรือ "รถร้อน" ตามศัพท์ ที่หม่อมเต่ากล่าวว่ารถนี้ออกแบบรับผู้โดยสารเกินกว่า 95-140 คนนอกจากนี้ยังต้องติดตั้งเครื่องกรองอากาศ โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบการ์ดโฟน พร้อมหนังสือพิมพ์และเปิดเพลงผ่อนคลายอารมณ์ให้ฟังด้วย

"รถไมโครบัสเราจะรับประกันที่นั่งว่าไม่ให้มีการยืน" สมพงษ์ กล่าว

เมื่อพิจารณาจากค่าโดยสารที่กำหนดว่าปีแรกเก็บราคา 15 บาทปีที่สองเก็บ 20 บาทปีที่สามเก็บ 25 บาทปีที่สี่เก็บราคา 30 บาทปีที่ห้าราคา 40 บาทปีที่หกถึงปีที่ 10 เก็บราคา 40 บาทตามแต่ว่าคณะกรรมการกรมขนส่งทางบกเป็นผู้กำหนด

รายได้จากค่าโดยสารเหล่านี้บริษัทบางกอกไมโครบัส ต้องจ่ายค่าสิทธิตามสัญญาเดินรถ กับ ขสมก. ดังนี้ ค่าดำเนินการ ปีละ 5% ของรายได้หรือไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทและ 35% ของกำไรในปีที่สองหรือปีต่อมาจะต้องแบ่งให้ทาง ขสมก. ด้วย

"ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่าโครงการนี้จะไปรอดหรือเปล่า? แต่เพื่อให้บริการแก่ประชาชนส่วนรวมและแก้ปัญหาจราจร ผมคิดว่าเราน่าสนับสนุน" จิรายุให้ความเห็น

อย่างไรก็ตามบนเส้นทางสายธุรกิจของสมพงษ์ ฝึกการค้าก็ยังคงมุ่งมั่นต่อไปในการที่จะรุกเข้าคุมพื้นที่ในสัมปทานโครงการสาธารณูปโภคแม้ว่า ครั้งหนึ่งเขาจะต้องล้มเหลวในโครงการบางกอกวอเตอร์รีซอสก็ตามที !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us