Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
Shinzo Abe             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

Political and Government




วิบากกรรมบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของ Shinzo Abe ปิดฉากลงไปแล้ว พร้อมๆ กับร่องรอยความบอบช้ำทางการเมืองครั้งใหญ่ของอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่นรายนี้

ความเป็นไปของ Shinzo Abe นอกจากจะเป็นการเน้นย้ำว่าการเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์แล้ว กรณีดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของความคาดหวังและผลพวงจากความรู้สึกของสาธารณชนด้วย

Shinzo Abe ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อ Junichiro Koizumi ประกาศก้าวลงจากตำแหน่งหลังจากครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนานกว่า 5 ปี และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิรูปที่กลายเป็นมรดกที่ Shinzo Abe ต้องสืบสานต่อมา

การลงมติเลือกหัวหน้าพรรค LDP (Liberal Democratic Party : JIMINTO) เมื่อเดือนกันยายน 2006 อาจเป็นประหนึ่งของขวัญ วันเกิดปีที่ 52 ที่หอมหวานน่าชื่นชมสำหรับ Shinzo Abe และอุดมด้วยผู้คนหลากหลายที่ขยับใกล้เข้าแวดล้อม

หากแต่ช่วงเวลาเพียง 1 ปีต่อมา Shinzo Abe ต้องเผชิญกับห้วงเวลาอันยากลำบากโดย ลำพัง ด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเปิดโอกาสให้มีการสรรหาหัวหน้าพรรค LDP เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน

คะแนนเสียงท่วมท้นที่ Shinzo Abe ได้รับเมื่อครั้งการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค LDP นอกจากจะไม่ได้เป็นหลักประกันในเสถียรภาพ ความมั่นคงของรัฐบาลแล้ว

ในทางกลับกัน เสียงสนับสนุนที่หนาแน่นจากกลุ่มต่างๆ ในพรรค LDP กลายเป็นประหนึ่งโซ่ตรวนที่ฉุดรั้งจังหวะก้าวของ Shinzo Abe ในเวลาต่อมาไปโดยปริยาย

ราคาของการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้า พรรค LDP และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถูกบั่นทอนด้วยสมการทางคณิตศาสตร์การเมืองที่ Abe ต้องจัดสรรตำแหน่งตอบแทนให้กับกลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างไม่อาจเลี่ยง

การเลือกสรรบุคคลเข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของ Shinzo Abe ได้สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างเด่นชัด และกลาย เป็นปมปัญหาที่รุมเร้าและสั่นคลอนเสถียรภาพ รัฐนาวาของ Abe ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา

รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของ Shinzo Abe หลายรายต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่าด้วยเรื่องทุจริต รวมถึงการแสดงทัศนะที่สะท้อน วุฒิภาวะที่ไม่เหมาะสม จนต้องลาออกจากตำแหน่งไปหลายราย

ขณะที่รัฐมนตรีบางรายตัดสินใจกระทำ อัตวินิบาตกรรม ท่ามกลางความอื้อฉาวของเหตุทุจริตฉ้อฉลที่ลุกลามขยายตัวกว้างขวาง และไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติลงเมื่อใด

ขณะเดียวกัน ผลสำรวจคะแนนความนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐนาวา ภายใต้การ นำของ Shinzo Abe อยู่ในภาวะที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งปฏิเสธได้ยากว่า ในด้านหนึ่งเป็นผล มาจากความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบกับรัฐบาลของ Junichiro Koizumi ซึ่งกลายเป็น benchmark ที่ยากจะฝ่าไปได้ ควบคู่กับบริบททาง การเมืองที่ได้รับการกล่าวขานในฐานะยุคหลัง Koizumi (post Koizumi) ไปโดยปริยาย

Shinzo Abe ตระหนักถึงภารกิจที่หนักหน่วงในการข้ามฝ่ากำแพงแห่งอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนดังกล่าวและพยายาม นำเสนอวาทกรรมว่าด้วย "Beautiful Japan" เพื่อเป็นปฐมบทของการกำหนดทิศทางในแนวนโยบายใหม่

แต่รูปธรรมและความชัดเจนของ Beautiful Japan ที่ Shinzo Abe พยายามนำเสนอกลับกลายเป็นเรื่องราวที่อยู่ไกลออกไปจากการสัมผัสจับต้องของสาธารณชน

ขณะที่ปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาลโดยเฉพาะเรื่องราวความทุจริต ฉ้อฉลของระบบ ราชการและนักการเมือง ได้เพิ่มระดับความรุนแรงและรุกเร้าสร้างความสั่นสะเทือนให้กับรัฐบาล อย่างไม่มีท่าทีจะลดระดับลงแต่อย่างใด

ภาวะเสื่อมถอยของ LDP ซึ่งปรากฏชัดเจนจากผลการเลือกตั้งวุฒิสภาเมื่อช่วงปลาย เดือนกรกฎาคม 2007 กลายเป็นแรงกดทับที่โถมเข้าใส่รัฐนาวาของ Shinzo Abe

โดยสมาชิกระดับของพรรคบางส่วนถึงกับระบุว่า "ปีที่ผ่านมา เราเลือก Shinzo Abe ให้เป็นหัวหน้าพรรค LDP โดยหวังว่าเขาจะสามารถนำพาพรรคชนะการเลือกตั้งวุฒิสภา แต่ผลที่ออกมาชี้ให้เห็นว่าเราตัดสินใจผิด"

นอกจากนี้การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2007 ซึ่ง Shinzo Abe หวังจะให้เป็นการกอบกู้ภาพลักษณ์และ เรียกคะแนนนิยมคืนมา กลับกลายเป็นประหนึ่ง เหล็กแหลมที่ทิ่มแทงลงไปบนเนื้อที่บอบบาง

เนื่องเพราะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งครั้งหลังสุด มีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรณี ทุจริตฉ้อฉล แม้ว่าจะเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาในรัฐบาลได้เพียงสัปดาห์เดียว

สถานการณ์ที่ Shinzo Abe และพรรค LDP ต้องเผชิญดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งที่ Shintaro Abe ผู้เป็นบิดาซึ่งเคยดำรง ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเลขาธิการพรรค LDP ต้องประสบเมื่อครั้งกรณีอื้อฉาว Recruit-Cosmos ในช่วงปลายทศวรรษ 1980

ก่อนที่กรณีดังกล่าวจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำของพรรค LDP และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของญี่ปุ่นตลอดทศวรรษ 1990 ด้วย

ขณะที่การแข่งขันระหว่าง Taro Aso และ Yasuo Fukuda ซึ่งประกาศเสนอตัวเข้าชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรค LDP อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา

กลับฉายภาพปรากฏการณ์การช่วงชิงบทบาทนำของคนในรุ่นพ่อระหว่าง Kakuei Tanaka และ Takeo Fukuda (Kaku-Fuku war) ที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ด้วย

การเทียบเคียงกรณีดังกล่าว เกิดขึ้นจาก ข้อเท็จจริงที่ว่า Yasuo Fukuda (เกิด 16 July 1936) เป็นบุตรของ Takeo Fukuda อดีตนายก รัฐมนตรี (24 Dec 1976-7 Dec 1978)

ส่วน Taro Aso (เกิด 20 September 1940) เป็นบุตรชายของ Takakichi Aso ประธาน บริษัท Aso Cement ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ Kakuei Tanaka อดีตนายกรัฐมนตรี (7 July 1972-9 Dec 1974) และมีพื้นฐานเติบโตจากธุรกิจก่อสร้างเหมือนกัน

ความเป็นไปของทั้ง Shinzo Abe, Taro Aso และ Yasuo Fukuda ในห้วงเวลาแหลมคม นี้จึงเป็นประหนึ่งภาพของการต่อสู้ที่ไม่ต่างจาก วลี In The Name of The Father เท่าใดนัก

ความตกต่ำลงของรัฐนาวา Shinzo Abe ดำเนินควบคู่ไปกับความรู้สึกโหยหาของประชาชน ที่มีต่อ Junichiro Koizumi ซึ่งสะท้อนออกมา ทันทีหลังจากที่ Abe ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

ผลสำรวจของสื่อมวลชนทุกสำนักต่างระบุว่า Junichiro Koizumi เป็นบุคคลที่ประชาชน ต้องการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากที่สุด สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้กับบรรดาคีย์แมนภายในพรรค LDP อย่างกว้างขวาง

เพราะความนิยมที่ Koizumi ได้รับเป็น ความนิยมในระดับที่เหนือกว่าทั้ง Taro Aso และ Yasuo Fukuda ซึ่งได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นคู่ชิงชัยบนตำแหน่งหัวหน้าพรรค LDP ในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าในเวลาต่อมา Koizumi จะออกมา ปฏิเสธที่จะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรค LDP อีกครั้ง แต่กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นบทบาทและอิทธิพลของ Koizumi ในระดับสาธารณะอย่างไม่อาจเลี่ยง

พร้อมกับเปิดเผยให้เห็นถึงความไม่สามารถของพรรค LDP ที่จะนำเสนอผู้นำรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเติมเต็มช่องว่าง ในขณะที่ พรรคกำลังเผชิญกับวิกฤติผู้นำได้

ขณะเดียวกันการสรรหาหัวหน้าพรรค LDP เพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถูกพรรค DPJ (Democratic Party of Japan : MINSHUTO) และพรรคฝ่ายค้านโจมตีว่าไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

หากเป็นเพียงการแข่งขันและการเกลี่ยผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองภายใน LDP เท่านั้น พร้อมกับระบุว่าภารกิจของนายกรัฐมนตรีคนใหม่อยู่ที่การประกาศยุบสภา เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งใหม่โดยเร็ว

เป้าประสงค์ของ DPJ เกิดขึ้นท่ามกลาง ความมุ่งหมายว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ในขณะที่ LDP เผชิญกับวิกฤติศรัทธานี้อาจเป็นโอกาสใน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น

ภารกิจเบื้องหน้าของ Yasuo Fukuda ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังได้รับเลือก ให้เป็นหัวหน้าพรรค LDP เหนือ Taro Aso ด้วย คะแนน 330 ต่อ 197 จึงมิได้อยู่ที่เพียงการกอบกู้ ภาพลักษณ์และเรียกคะแนนนิยมจากประชาชน กลับคืนมาเท่านั้น

แต่ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังต้องหลีกหนี จากภาวะการเป็นเหยื่อของสถานการณ์ทางการ เมืองและความคาดหวังของสังคมไปพร้อมกัน


เพราะคงไม่มีใครประสงค์จะย่ำเดินไปบนรอยทางที่ Shinzo Abe ได้เผชิญมาแล้วเป็นแน่

หมายเหตุ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง
- Yasukuni & Koizumi นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2548
- Japan Post : แปรรูปเพื่อปฏิรูป นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548
- MINSHUTO : DPJ นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2549
- JIMINTO : LDP นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us