Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
ใช้ไฮ–เทค สร้างศิลปะตกแต่งย้อนยุค             

 


   
search resources

Crafts and Design




เมื่อก้าวเข้าไปในโถงทางเข้า (ดูภาพประกอบ) ก็ได้เห็นโต๊ะมุกขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าสะดุดตา จนต้องเข้าไปพินิจพิจารณาใกล้ๆ สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาคือ ศิลปะการสร้างสรรค์งานออกแบบโดยใช้เศษไม้อัดเป็นแผ่นบางๆ สำหรับทำเป็นสีพื้น จากนั้นตกแต่งด้วยลวดลายของมาลัยดอกไม้ แจกัน และดอกไม้ที่ล้วนแต่ทำด้วยไม้ทั้งสิ้น สำหรับชิ้นงานที่มองดูเหมือนนำไม้มาใช้อย่างฟุ่มเฟือยในยุคโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรระดับวิกฤติ ย่อมทำให้คนที่มีจิตสำนึกในวิกฤติการณ์ของโลกอดตกใจกลัวการใช้ทรัพยากรไม้แบบล้างผลาญอย่างนี้ไม่ได้ เพราะในงานเพียงชิ้นเดียวต้องใช้ทั้งไม้มะฮอกกานี ไม้มะเกลือ ไม้เนื้อหอมจำพวกไม้พะยูง ไม้ทิวลิปวูด ไม้เมเปิล และไม้โอ๊กอีกหลายประเภท

แต่เมื่อมีโอกาสใช้มือสัมผัสไปบนพื้นผิวของลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยแล้วนั่นแหละคุณถึงถอนหายใจได้อย่างโล่งอก เพราะสัมผัสจากมือบอกถึงความราบเรียบปราศจากรอยต่อหรือขอบใดๆ ทั้งสิ้น นั่นเป็นเพราะจริงๆ แล้วลวดลายงดงามนี้เป็นเพียงภาพพิมพ์ที่นำมาปิดทับลงบนแผ่นไม้อัด แล้วติดผนึกให้แน่นเป็นเนื้อเดียวกันพร้อมกับเคลือบเงาแบบเดียวกับที่ทำกับเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงๆ นั่นเอง

"เดี๋ยวนี้เราสามารถสร้างสรรค์ส่วนที่เป็นงานทำด้วยมือหรืองานทาสีด้วยมือโดยใช้ระบบดิจิตอลแทน" Alan Carroll ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทออกแบบ Decorative Imaging ในนิวยอร์กเล่าแนวคิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ "วิธีนี้ประหยัดเวลาได้มากและแลดูประณีตกว่าด้วย"

วิธีการก็ด้วยการเลือกเนื้อไม้ที่ต้องการนำมาใช้งานจากภาพความคมชัดสูงที่มีอยู่ในห้องสมุดดิจิตอลนับพันภาพ "เราสแกนภาพแผ่นไม้โอ๊กที่มีอยู่ถึง 600 ภาพ" Mark Kusek ผู้ร่วมก่อตั้งกิจการอีกคนหนึ่งอธิบาย "มันเหมือนเรามีลานไม้แปรรูปสารพัดประเภทอยู่ในคอมพิวเตอร์นั่นเอง" เมื่อต้องการทำให้ภาพแผ่นไม้แลดูเป็นเงามันเพราะการเช็ดถูหรือการใช้งานเป็นประจำ พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพฝุ่นละอองแล้วทับลงไปบนแผ่นไม้หลายๆ ชั้น

เมื่อ Carroll และ Kusek สามารถร่างงานออกแบบขึ้นมาได้ ซึ่งอาจทำบนคอมพิวเตอร์หรือวาดบนกระดาษก็ได้ พวกเขาจะสอดภาพแผ่นไม้อัดขนาดยักษ์เข้าเครื่องปรินเตอร์ระบบดิจิตอลคุณภาพสูงแล้วเพิ่มรายละเอียด เช่น การเคลือบเชลแล็กหรือโพลียูรีเทนลงไป จากนั้นจึงสั่งพิมพ์ออกมา สำหรับภาพนูนสูงก็ใช้เทคนิค คล้ายๆ กัน ถ้าต้องการงานออกแบบลวดลายวงกลมก็นำไปพิมพ์บนพื้นที่เป็นผืนผ้าใบ จากนั้นก็ติดตั้งบนเพดานแลดูเหมือนวอลล์เปเปอร์ลายเก๋ (ดูภาพประกอบ)

Decorative Imaging ยังพัฒนาส่วนที่เป็นองค์ประกอบของพื้นแบบ do-it-yourself เช่น ส่วนขอบ แผ่นปาร์เกต์ ลวดลายวงกลม ซึ่งใช้งานกับพื้นไม้เนื้อแข็งหรือพื้นเคลือบได้ดี "วิธีนี้ทำให้คุณสามารถเนรมิตพื้นให้วิจิตรสวยงามแบบพื้นของปราสาทราชวังขึ้นมายังไงก็ได้ ที่สำคัญคือใช้งบน้อยนิดจริงๆ" Kusek ยืนยัน

แปลและเรียบเรียงโดย ดรุณี แซ่ลิ่ว
จากนิตยสาร O At Home/Summer 2007   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us