Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
หินสีผสมน้ำมันพืชเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
search resources

Printing & Publishing
ทองดี ศรีกุลศศิธร
Panorama Ink Co., Ltd.




คุณจะรู้สึกดีแค่ไหน หากรู้ว่าแก้วกระดาษที่ใส่กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาล หรือครีมเทียมในมือของคุณ พิมพ์ลายและโลโกยี่ห้อกาแฟจากหมึกพิมพ์ที่ไม่มีสารเคมี

คุณจะรู้สึกปลอดภัยแค่ไหน หากอาหารของคุณอยู่ในกล่องกระดาษที่ด้านนอกมีสีแดงสดใส ปราศจากสารเคมี ไม่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม

นี่เป็นเพียงคุณสมบัติพื้นฐานที่พบได้ในหมึกพิมพ์น้ำมันพืชของ Panorama Ink จนเป็นที่มาของใบประกาศนียบัตรที่ระบุว่าผ่านการตรวจสอบคุณภาพและตรวจสอบโรงงานผลิตจนเป็นที่มาของโลโกหยดน้ำมันสีน้ำเงินสลับแดง เขียนคำว่า "contains soy oil" พร้อมทั้งห้อยท้ายเอาไว้ว่า "Trademark of American Soybean Association" บวกกับ "Bio-Hybrid Technology"

ส่วนผสมของหมึกน้ำมันพืชที่ทองดีเป็นเจ้าของสูตร ประกอบด้วยผงหมึก ซึ่งได้จากหินสีธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการบด และกรรมวิธี จนได้มาซึ่งผงสีธรรมชาติหรือ organic pigment อีกทั้งยังมีน้ำมันพืชเข้าไปช่วยทำให้เป็นน้ำหมึกที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ดังนั้นน้ำหมึกจึงมีส่วนประกอบที่มั่นใจได้ว่ามาจากธรรมชาติอย่างแท้จริง

ต่อให้ทิ้งลงถังขยะ และนำมารีไซเคิล กระบวนการแยกสี และกระดาษเพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง ก็ยังทำได้ง่ายกว่าสีที่ผสมด้วยปิโตรเลียมที่ต้องคัดกรองเอาปิโตรเลียมออกด้วย

แต่งานทุกชิ้นจะขายออกได้หรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่คุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าใครเพียงอย่างเดียว แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือเรื่องของราคาที่ต้องไม่แพงจนเกินกว่าโรงพิมพ์จะตัดสินใจนำมาใช้จริงในกระบวน การผลิตของตน

ปัจจุบันสีของหมึกพิมพ์หลักๆ อย่างแดง น้ำเงิน และเหลือง มีต้นทุนหรือราคาขายที่ถูกกว่าแม่สีที่ใช้ส่วนผสมของปิโตรเลียมแตกต่างกันตรงสีดำที่ยังคงมีราคาแพงกว่า แต่สำหรับทองดีแล้ว เขาบอกว่า เมื่อเทียบกับปริมาณการพิมพ์แล้วสีที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชยังพิมพ์ได้มากกว่า หรือใช้สีน้อยกว่า

"คุณสมบัติของหมึกที่ถูกทดแทนด้วยน้ำมันสกัดจากพืชผักและถั่วนี้ ก็คือความวาวของน้ำมันช่วยให้ค่า gross net หรือความวาวของสีที่พิมพ์ลงไปในหนังสือพิมพ์มากกว่า ทำให้ความคมชัดของภาพนั้นมีมากกว่า ขณะที่น้ำหนักของหมึกปิโตรเลียมที่บวกกับผงหมึกแล้วจะหนักกว่าหมึกถั่วเหลืองหรือหมึกจากผัก เพราะเมื่ออยู่ระหว่างกระบวนการพิมพ์ หมึกปิโตรเลียมจะซึมเข้าไปตามรูหรือช่องว่างบนเนื้อกระดาษ ทำให้ความสามารถในการดูดซับมีสูง หมึกนั้นจมไปมากกว่า นั่นหมายถึงปริมาณการสูญเสียหมึกไปกับการพิมพ์จะมากกว่าด้วย" ทองดีบอกกับ "ผู้จัดการ"

ทองดียังบอกด้วยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหมึกถั่วเหลืองแล้ว แม้จะน้ำหนักมาก แต่ก็ยังประหยัดกว่าหมึกปิโตรเลียม ถึง 20% ส่วนหมึกน้ำมันพืชของเขา เมื่อพิมพ์แล้วน้ำหนักของน้ำมันจะหนักกว่าผงหมึก น้ำมันก็จะวิ่งไปทดแทนในรูกระดาษก่อน ผงหมึกแค่ทำหน้าที่ปาดหน้าของกระดาษ ทำให้ประหยัดในการใช้หมึกในกระบวนการพิมพ์อย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น หากมองในแง่ของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพที่ได้แล้ว เขาก็เชื่อว่า หมึกน้ำมันพืชก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีไม่น้อยสำหรับโรงพิมพ์ทั่วไป

นอกเหนือจากแม่สีหลัก และสีดำ หรือเฉดสีอื่นๆ นับพันเฉดสีซึ่งจะใช้ไปกับกระบวนการพิมพ์หนังสือพิมพ์ เอกสาร และงานกระดาษปกติทั่วไป แล้วแต่ความต้องการของโรงพิมพ์แล้ว

ทองดียังคิดค้นหมึกพิมพ์แบบพิเศษที่เรียกว่า Scrub Ink เพื่อนำมาใช้พิมพ์ลงบนงานประเภทถ้วยกระดาษหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารทั่วไปด้วย ซึ่งแต่เดิมนั้นกระบวนการผลิตของถ้วยกระดาษประเภทนี้จะอาศัยผงเคมีประเภทหนึ่งที่ช่วยเคลือบผิวทับสีที่พิมพ์ลงไปอีกที เพื่อให้สีนั้นยึดติดกับถ้วยกระดาษได้ดี ไม่หลุด และแห้งเร็ว

Scrub Ink เป็นสูตรของหมึกแบบใหม่ที่เกิดจากการต่อยอดของ Bio Hybrid Technology ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืชแบบ 100% โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย แต่สามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ และไม่หลุดลอกได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบันมีลูกค้าในไทยที่เลือกใช้ Scrub Ink แล้วหลายราย โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและถ้วยกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอย่าง K.M. Packaging ซึ่งเป็นผู้ผลิตถ้วยและแพ็กเกจจิ้งให้กับ Coca-Cola, Yum Restaurant และ 7-eleven

Panorama Ink ยังอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรหมึกแบบใหม่ที่เรียกว่า Flexo soy ink เป็นหมึกที่พิมพ์บนกระดาษพลาสติก โพลีเอสเตอร์ พีวีซี หรือแม้แต่กระดาษฟอยล์ โดยเปลี่ยนจากปิโตรเลียมมาเป็นน้ำมันพืช

อีกทั้งยังมีสินค้าอื่นๆ ที่รอวางตลาดอีกด้วย เช่น Digital printing ink หรือหมึกที่ใส่หลอดแล้วใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยอยู่ในช่วงของการเจรจากับเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อให้เห็นความสำคัญของการใช้หมึกปลอดปิโตรเลียม ให้สีสดและไม่มีกลิ่น ที่เกาหลีวางขายหมึกแบบนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us