Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
สินเชื่อรายย่อยเพื่อมหาชน?             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ อิออน ธนสินทรัพย์

   
search resources

อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์), บมจ.
อภิชาต นันทเทิม
Loan




"เพียงคุณมีเงิน 2 หมื่นบาท คุณก็สามารถสร้างความบันเทิงภายในอพาร์ตเมนต์ของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ดีวีดี ตู้เย็น พัดลม" อภิชาต นันทเทิม กรรมการบริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) บอกกล่าวถึงการใช้ชีวิตของคนเมืองปัจจุบันที่หาซื้อสิ่งของเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยผ่านการขอสินเชื่อ

แม้ว่าข่าวคราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทที่เปิดให้บริการสินเชื่อรายย่อย (Consumer Finance) จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการก่อหนี้ภาคครัวเรือน หนี้ส่วนบุคคลที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต หรือการกู้เงิน จนทำให้เกิดการใช้เงินจนเกินตัวและไม่สามารถ ชำระเงินได้ ส่งผลให้มีการติดตามหนี้ที่ใช้วาจา รุนแรงในการทวงหนี้

อภิชาต นันทเทิม กรรมการบริหาร บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) (AEONTS) ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะไปถามคนที่มีปัญหาในการชำระเงิน ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับคนที่กู้เงิน หรือใช้บัตรเครดิต แต่สามารถชำระเงิน คืนได้

พร้อมกันนี้เขาได้ยกตัวอย่างลูกค้าที่กู้เงินเมื่อต้นปี ขณะนี้ได้ชำระหนี้ไปแล้ว 70-80% ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการนำเสนอข่าวสารเพียง ด้านเดียว แต่ไม่ได้สอบถามคนที่มากู้เงิน หรือ ชำระเงินไปหมดแล้ว และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของอิออนมีเพียง 2-3% เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 3 ล้านบัญชี ในขณะที่ตลาดรวมมีหนี้ 4% ซึ่งเขามองว่าคนไทยยังมีวินัยในการชำระหนี้ที่ดีอยู่

อภิชาตยังชี้ให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยในเมืองไทย ในปี 2549 มีมูลค่า 250,000-300,000 ล้านบาท และเชื่อว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สินเชื่อรายย่อยเป็นสินเชื่อที่หมุนเวียน ไปกับจีดีพี เพราะจีดีพีที่หมุนเวียน 50-60% เกิดจากการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นแนวโน้ม ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เมื่อปี 2549 ที่ผ่านมา อิออนได้ ปล่อยสินเชื่อเป็นจำนวน 50,000 ล้านบาท ไปสู่ กลุ่มผู้บริโภคที่เรียกว่าระดับรากหญ้า หรือกลุ่ม บุคคลที่มีเงินเดือนประจำตั้งแต่ 7,000 บาท

"คนคิดไปว่า สินเชื่อรายย่อย เป็นสินเชื่อขนาดเล็ก เป็นสินเชื่อคนจน มันไม่ใช่ มันเป็นสินเชื่อขนาดเล็กที่สามารถปล่อยให้กับสินค้าขนาดเล็กที่เหมาะกับมหาชน ที่มีรายได้ถัวเฉลี่ยประจำ ไปจนถึงรายได้เยอะๆ ที่ให้สินเชื่อตั้งแต่ทีวี ตู้เย็น ประกันภัย มันเป็นสินเชื่อ ที่ทุกระดับเข้าถึงได้ และสินเชื่อหลักๆ ที่ให้บริการ ก็คือเครดิตการ์ด และเงินกู้ที่เป็นเงินสด มันวนอยู่ในนี้"

อภิชาตมองว่าสินเชื่อรายย่อย เป็นสินเชื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสินเชื่อที่ใหญ่กว่าสินเชื่อบ้าน รถยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งสามารถยืนยันได้จากบริษัทจีอี มันนี่ ที่ปัจจุบันเป็นบริษัทสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เขาบอกต่ออีกว่าการปล่อยสินเชื่อทำให้ เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศ เงินเกิดการหมุนเวียน และสุดท้ายคือรัฐสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้

อิออนสร้างจุดขายให้กับตัวเอง โดยเน้น ให้สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เป็นสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคราคาไม่แพง จนอิออน กลายเป็นสัญลักษณ์ ผู้ให้บริการในระดับรากหญ้า อาทิ มอเตอร์ไซค์ ตู้เย็น โทรศัพท์ ทีวี รวมถึงเตาไมโครเวฟ แม้เขาจะบอกว่ามีลูกค้าระดับ high-end มาใช้ของเขาเหมือนกันก็ตาม ส่วนการปล่อยสินเชื่อจะกำหนดระยะสั้น เริ่มตั้งแต่ 6, 9, 12 เดือน โดยให้บริการผ่านผลิตภัณฑ์ที่มี 3 ส่วนหลัก คือสินเชื่อเงินผ่อน สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต และสินเชื่อเหล่านี้ จะถูกแบ่งซอยย่อยออกไปตามพฤติกรรมลูกค้า

ยุทธศาสตร์ในการดำเนินแผนธุรกิจของอิออนคือ การขยายสาขาเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 78 แห่งทั่วประเทศ และปีนี้จะขยายไปในเมืองใหญ่ ในต่างจังหวัดเพิ่มอีก 6-10 สาขา การขยายสาขาแต่ละครั้ง อิออน จะขยายไปตามคู่ค้า อาทิ บิ๊กซี โลตัส คาร์ฟูร์ เซเว่น-อีเลฟเว่น เพราะแสดงให้เห็นว่าเมืองที่คู่ค้าไปก่อตั้งนั้นมีศักยภาพให้บริการสินเชื่อ

ไม่เพียงแต่ขยายสาขาตามคู่ค้าเท่านั้น อภิชาตเล่าว่าบางแห่งเขาต้องไปสำรวจตลาดด้วยตนเอง อย่างเช่นล่าสุดที่ผ่านมาได้ไปสำรวจ ที่จังหวัดหนองคาย และได้เปิดสาขาอย่างเป็นทางการไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเขามองว่าหนองคาย เป็นเมืองธุรกิจที่กำลังเติบโต และตอนนี้อิออนเป็นรายเดียวที่เข้าไปเปิดให้บริการสินเชื่อแข่งกับธนาคาร

การขยายสาขาของอิออนจะพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่าง นอกจากการตามไปเปิดสาขาร่วมกับบิ๊กซี โลตัสแล้ว อิออนจะมอง การขยายตัวของเมืองที่วิวัฒนาการไปสู่ City Life ซึ่งหมายถึงการดำเนินชีวิตและธุรกิจของ คนเมืองจะมีกลไกการใช้เงินที่ซับซ้อนมากขึ้น และมีชั่วโมงการใช้ชีวิตยาวนานขึ้นในแต่ละวัน

อิออนได้แบ่งเมืองออกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก, กลาง และใหญ่ เมืองขนาดเล็กเป็น เมืองที่มีสินค้า ทีวี โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป มีบิ๊กซี โลตัส เซเว่น-อีเลฟเว่น ส่วนเมืองขนาด กลางเริ่มมีบริการเข้ามา เช่น โรงพยาบาล เอกชน โรงแรมดีๆ และเมืองขนาดใหญ่จะมีแหล่งบันเทิงเข้ามา เช่น โรงหนัง โบว์ลิ่ง หรือ night life

เมืองขนาดใหญ่ปัจจุบัน อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น ส่วนเมืองขนาดกลาง ที่อภิชาติได้ยกตัวอย่างให้เห็นคือ หัวหิน

"เมืองขนาดเล็กมีสินค้า มีเช่าซื้อ มีเงินกู้ไปซื้อ พอเมืองขนาดกลางมีเครดิตการ์ด เมืองขนาดใหญ่มีบันเทิงเข้าไป มีกิจกรรมที่ยาวขึ้น อย่างเช่น กรุงเทพฯ มีไลฟ์ตลอด 24 ชั่วโมง มีการแลกเปลี่ยนธุรกิจ มีการทำงาน มีสินค้า บริการทุกรูปแบบ เงินหมุนตลอด 24 ชั่วโมง"

จากการทำงานมาเป็นระยะเวลา 15 ปี อิออนได้แบ่งเมืองใหญ่ ออกเป็น 37 แห่ง ขนาด กลาง 30 แห่ง และขนาดเล็ก 50 แห่ง และใน ปีหน้าเมืองใหญ่จะเพิ่มขึ้นเป็นอีก 20-22 เมือง ซึ่งการขยายสาขาจะดูการเติบโตของแต่ละเมือง แต่จะไม่แบ่งออกเป็นกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เพราะจะแสดงถึงความไม่เข้าใจ ทีมงานที่ทำงานกับอภิชาต จะต้องเรียกว่าเมืองและชนบทเท่านั้นเพื่อแบ่งแยกให้เห็นชัดเจน

แม้ว่าขณะนี้เศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวก็ตาม หรือเกิดภัยพิบัติตามภาคต่างๆ แต่เขากลับมองว่าการเติบโตของจีดีพียังมีอยู่และโต 3-4% แม้ว่าตัวเลขการเติบโตจะน้อยก็ตาม และสิ่งสำคัญผู้บริโภคจำนวน 50-60% ก็ยังต้อง บริโภคสินค้า ส่วนคนงานที่ตกงานจากโรงงาน ปิดกิจการนั้น จะสามารถหางานได้เร็ว เพราะกลุ่มคนเหล่านี้มีทักษะและความชำนาญ

ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ยังทำให้ธุรกิจสินเชื่อยังคงอยู่ และจะโตอย่างต่อเนื่องนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไทยมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การขยายเลนถนน การเติบโตของโทรศัพท์มือถือ สายการบินที่เพิ่มปริมาณขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

"สินเชื่อที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ คือ สินเชื่อระดับครอบครัว ต่างประเทศเขาจะเช็กว่าเศรษฐกิจดีหรือเปล่า เขาจะเช็กเครดิต การ์ดมีการใช้มากน้อยแค่ไหน ห้างร้านขนาดเล็ก ซูเปอร์สโตร์ มีการเคลื่อนไหวอย่างไร ในขณะที่ประเทศไทยกลับพึ่งการส่งออก และใช้เป็นตัววัดเศรษฐกิจ"

เขาได้ยกตัวอย่างเล่นๆ ให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า หากเขาหยุดไม่ให้ใช้บัตรเครดิต 1 วัน จะเกิดผลอะไรบ้าง แน่นอนว่าไม่สามารถจ่ายเงินโรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงแรม ค่าตั๋วเครื่องบิน ซึ่งเขากำลังชี้ให้เห็นว่าสินเชื่อได้เข้าไปมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ ก็เช่นเดียวกันที่กลายเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร และถ้าหากมันหายไป เขาเหล่านั้นจะต้องรีบซื้อใหม่ทันที

เขายังมองว่า consumer finance เปรียบเหมือนเป็นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ทำยาก ใช้เงินจำนวนมาก และภาครัฐจะต้องมาดูมากกว่านี้ เพราะกฎหมายบัตรเครดิตอ่อนไป เพราะมีตัวอย่างในต่างประเทศ โกงบัตรเครดิต ติดคุกถึง 900 ปี หรือปรับลดเป็นตลอดชีวิต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us