Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
ธนา ธนารักษ์โชค มือวิเคราะห์ database             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
Credit Card
ธนา ธนารักษ์โชค




การที่มีคนรู้ว่าเราชอบทานอาหารอะไรหรือเที่ยวที่ไหน กีฬาที่โปรดปรานคืออะไร หรือคลั่งไคล้กิจกรรมแบบไหน ชอบใช้เงินไปกับการซื้ออะไร ถ้าไม่ใช่คนใกล้ชิดที่รู้จัก หรือพ่อแม่ ก็ไม่มีใครน่าจะรู้จักอีกแล้ว แต่ KTC กลับมีข้อมูลเหล่านี้จากฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่เกือบ 2 ล้านราย

ธนา ธนารักษ์โชค วัย 41 ปี ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย Customer Insight Senior Vice President-Customer Insight รวมทั้งทีมงานอีก 25 ชีวิตเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า KTC ที่ได้แยกออกเป็นกลุ่มย่อย 4 ส่วน คือส่วนบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ส่วนส่งเสริมการขายด้านลูกค้าแรกเข้า ส่วนส่งเสริมการขายด้านลูกค้าทั่วไป และข้อมูลทั่วไป

เขาเล่าให้ฟังว่า ฐานข้อมูลของ KTC มีการเก็บมาโดยตลอด ทำให้สามารถรู้ว่าลูกค้าไปไหนบ้างในวันนี้ รู้ว่าพฤติกรรมการใช้บัตรเป็นอย่างไร ลูกค้าเกือบ 2 ล้านคนได้ถูกจัดกลุ่มอย่างเป็นหมวดหมู่ เช่น รับประทานข้าวนอกบ้านบ่อยแค่ไหน หรือผู้บริหารต้องการเห็นกลุ่มไหนทำอะไรบ้าง เพื่อจะนำไปทำการตลาด หรือขายพ่วงกับสินค้าที่มีอยู่ เป้าหมายการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อ customer loyalty และเพิ่มปริมาณการใช้จ่าย

หน้าที่หลักของธนา คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติ สิ่งสำคัญว่านำไปใช้อะไรได้บ้าง ใช้ทฤษฎีอะไร การตีค่า ตีความให้ถูกต้อง ข้อมูลเหล่านั้นสามารถบอกสิ่งใด หากพบข้อมูลเหล่านั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกหรือผิด เป็นเรื่องที่สำคัญมาก การวิเคราะห์ไม่ใช่ตัวเลข เพราะตัวเลขใครๆ ก็ทำได้ แต่การวิเคราะห์ว่าตัวเลขที่ออกมานั้นมีนัยสำคัญอย่างไร หรือมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน และสามารถพิสูจน์ได้อย่างไร หน้าที่นี้เองจึงทำให้เขามีบทบาทสำคัญใน KTC ไม่น้อย ซึ่งเขาต้องรายงานผลข้อมูลทุกเช้าในเวลา 8.30 น. ให้กับธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส KTC

"ผมแนะนำให้ KTC นำระบบซอฟต์แวร์เข้ามาใช้เพราะประโยชน์ของซอฟต์แวร์มีเกินร้อย และ KTC จะได้รับผลกลับมาเกิน 150% อย่างแน่นอน และวันนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่ทำสามารถช่วยคิดและตัดสินใจเยอะมาก"

ธวัชชัยยอมรับว่าฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญอย่างมาก และเชื่อว่า KTC เป็นสถาบันการเงินอันดับต้นๆ ที่นำระบบซอฟต์แวร์ SAS มาพัฒนาข้อมูล และใช้งบประมาณในการจ้างคนเหล่านี้สูงมาก และที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายจะต้องใช้ฐานข้อมูลวิเคราะห์เหล่านี้อ้างอิง การทำงานจะไม่ใช้ความรู้สึก หรืออารมณ์ส่วนตัวในการตัดสินใจ

ธนาเริ่มทำงานกับ KTC เมื่อ 4 ที่แล้ว ก่อนที่เขาจะร่วมงานกับ KTC เขามีประสบการณ์ทำงาน 1 ปี ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ในตำแหน่ง Vice President และธนาคารกรุงไทย ในตำแหน่ง Foreign Exchange Corporate & Inter Bank Dealer รวมทั้งได้ร่วมงานกับซิตี้แบงก์ ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในตำแหน่ง Credit Risk Management เป็นระยะเวลา 7-8 ปี

เขาใช้ชีวิตในวัยเรียนและเติบโตในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 17 ปี เริ่มเรียนไฮสกูลที่นั่น และจบการศึกษาปริญญาตรีบริหารธุรกิจการเงิน (Science in Business Administration : Finance) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจการเงิน (Business Administration : Finance) มหาวิทยาลัยแห่งเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ และจบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์การเงินและเศรษฐมิติ (Ph.D. in Economics : Financial Economics and Econometrics) มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสาขาที่มีคนไทยเพียงไม่กี่คนที่จบระดับดอกเตอร์

เหตุการณ์ที่พลิกผันให้ธนาตัดสินใจกลับมาทำงานในเมืองไทย เป็นเพราะว่าความไม่ปลอดภัยของชีวิต เพราะเขาเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มองเห็นเครื่องบินที่บินไปชนอาคารเวิล์ดเทรด เซ็นเตอร์ ด้วยสายตาของตนเอง เพราะสำนักงานใหญ่ของซิตี้แบงก์ ในนิวยอร์ก อยู่ใกล้กับอาคารดังกล่าว แต่ยังโชคดีที่ตึกอยู่ระยะห่างพอสมควรที่ไม่ได้รับความเสียหาย หลังจากนั้น เมื่อนิวยอร์กมีกลิ่นเหม็นต่อเนื่องนานถึง 3 เดือน ทำให้เขาไม่มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ซึ่งไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ประเภทเดียวกันซ้ำขึ้นอีกเมื่อไหร่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us