Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
วิกฤติสายการบินต้นทุนต่ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจสายการบินวันทูโก

   
search resources

Low Cost Airline
สายการบินวันทูโก




อุบัติเหตุของสายการบิน วัน ทู โก เที่ยวบินดอนเมือง-ภูเก็ต ไม่ได้สร้างความสูญเสียเฉพาะแค่ผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องเท่านั้น ยังทำให้ภาพลักษณ์ของสายการบินต้นทุนต่ำถูกลดชั้นลงไปอีก เพราะจุดเริ่มต้นของสายการบินประเภทนี้ต้องลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนให้ต่ำที่สุด เพื่อราคาค่าโดยสารจะได้ถูกลง เนื่องจากเป็นจุดขายที่ชัดเจนและเด่นชัดที่สุด

การเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ไม่ได้หมายความว่า ต้นทุนด้านความปลอดภัยจะต้องต่ำลงไปด้วย แต่จะเป็นการลดต้นทุนในด้านอื่นแทน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการที่ไม่จำเป็น ซึ่งแน่นอนว่า ลูกค้าที่ใช้บริการรับทราบและยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้อยู่แล้ว

วิธีการที่จะทำให้สายการบินต้นทุนต่ำสามารถอยู่ได้ในธุรกิจ นี้ก็คือ พยายามขนผู้โดยสารให้มากที่สุด นั่นก็คือต้องมีเที่ยวบินที่มาก ขึ้นตามไปด้วย โดยมุ่งไปที่ปริมาณผู้โดยสารเพื่อชดเชยกับค่าโดยสาร ที่ถูกลง การเพิ่มเที่ยวบินให้มากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ การใช้เครื่องบิน และบุคลากรการบินที่เต็มกำลัง

มีบางคนเปรียบว่า เหมือนกับการขึ้นรถโดยสารเต็มแล้วออก เพราะบางเส้นทางบินที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก เที่ยวบินจะแน่นมาก

หากสายการบินมีเครื่องบินที่เพียงพอ ก็สามารถเฉลี่ยการใช้งานเครื่องบินและบุคลากรได้เหมาะสม แต่ถ้ามีเครื่องบินและบุคลากร น้อย ก็จำเป็นต้องทำงานมากขึ้นกว่าเดิม

ต้นทุนที่สำคัญของสายการบินทุกประเภทก็คือ ต้นทุนเชื้อเพลิง ที่สูงกว่า 40%

การขึ้นบิน 1 เที่ยวต้องคุ้มค่าน้ำมันที่สุด

ปัญหาเรื่องนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งนายสมชาย แสวงการ ให้ข้อมูลว่า สายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งมีตารางการทำงานที่แน่นเกินไป โดยมีเที่ยวบินถึง 21 เที่ยวต่อวัน สายการบิน วัน ทู โก มีเครื่องบิน 14 ลำ มีเที่ยวบิน ไปต่างประเทศ 6 เที่ยวบินต่อลำ เที่ยวบินในประเทศ 42 เที่ยวบินต่อ วัน การกำหนดตารางบินที่แน่นเกินไป ทำให้นักบินถูกบังคับให้บิน โดยไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ส่งผลต่อการตัดสินใจและการปฏิบัติหน้าที่

การจัดเที่ยวบินจำนวนมากก็ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการล่าช้า หรือต้องรอขึ้นเครื่องเป็นเวลานาน บางครั้งมากกว่า 2 ชั่วโมงก็มี หรือ บางครั้งบางเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารน้อย การยกเลิกเที่ยวบินก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงแรกของการให้บริการของสายการบินต้นทุนต่ำ จนกระทรวงคมนาคมต้องออกมาเตือนสายการบินว่าไม่ให้เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้อีก

สายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้หมายความว่าเป็นการสายการบินที่ด้อยคุณภาพ ผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการ ก็คือผู้ที่เลือกแล้วว่า ความสะดวกสบายบางสิ่งบางอย่างอาจขาดหายไป แต่แลกมาด้วยการเดิน ทางที่รวดเร็วขึ้น ราคาถูกลงก็พร้อมที่จะจ่าย แต่ผู้โดยสารไม่ยินยอม ที่จะให้ลดความปลอดภัยลงไปแม้แต่น้อย

ผู้โดยสารชั้นหนึ่งกับผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำ ต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยเท่ากัน

ความปลอดภัยไม่ได้ตัดสินที่ราคาค่าโดยสาร

ช่วงนี้ผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำ อาจจะหายหน้าไปบ้าง แต่ก็คงไม่นาน แล้วพวกเขาก็กลับมาใช้บริการเหมือนเดิม

แล้วอุบัติเหตุครั้งนี้ก็จะค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป จนกว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us