|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2550
|
|
คงเป็นเรื่องที่ยากจะพิสูจน์ถึงความคุ้ม หรือไม่คุ้ม กับการที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต (ปตท.สผ.) ทุ่มงบประมาณเป็นตัวเลข 7 หลัก พาสื่อมวลชนกว่า 40 ชีวิต ไปเยี่ยมชมความคืบหน้าการก่อสร้างแท่นผลิตกลางของโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติ "อาทิตย์" ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ที่โรงงานของบริษัท J.Ray McDermott บนเกาะบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อกลางเดือนก่อน
เพราะโครงการนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจที่สุดของ ปตท.สผ. เนื่องจากเป็นโครงการแรกที่ ปตท.สผ.ได้เป็นผู้ดำเนินการ (operater) เองตั้งแต่ต้นทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นการสำรวจเจาะหลุมก๊าซ ก่อสร้างแท่นขุดเจาะ แท่นสำหรับ ที่พักอาศัย จนกระทั่งเริ่มต้นผลิต
โดยขั้นตอนขณะนี้เรียกว่าใกล้จะถึงเวลาเริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มตัวเข้ามาทุกที
ก่อนหน้านี้ ปตท.สผ.ได้เข้าไปเป็น operater มาแล้ว ในโครงการ "บงกช" เป็นโครงการแรก แต่เป็นการเข้าไปรับช่วงเป็น operater ต่อจากบริษัทโทแทล จากประเทศฝรั่งเศส ที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่า 5 ปี
ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองตั้งแต่ต้น เหมือนกับโครงการนี้
โครงการ "อาทิตย์" เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ กลางอ่าวไทย มีขนาดของโครงการ 3,682 ตารางกิโลเมตร ได้รับสัมปทานมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดยการร่วมทุน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ปตท.สผ.ถือหุ้น 80% บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจ และผลิต (ยูโนแคลเดิม) 16% และบริษัทโมเอโกะ ไทยแลนด์ (จากญี่ปุ่น) 4%
ตามแผนการจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติเฟสแรกในปริมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายในไตรมาสแรก ของปี 2551 โดยมีบริษัท ปตท.เป็นผู้รับซื้อก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ผ่านทางท่อส่งก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทยเส้นที่ 3 เพื่อนำไปส่งให้กับโรงแยกก๊าซที่จังหวัดระยอง
ปัจจุบันโครงการนี้เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้าย คือการก่อสร้าง แท่นผลิตกลาง ซึ่งเป็นการก่อสร้างบนบก โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถนำแท่นลงเรือลากจูงไปติดตั้งยังแหล่งผลิตกลางอ่าวไทย ได้ภายในสิ้นปีนี้
เฉพาะตัวแท่นที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นแท่นผลิตที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น้ำหนักของตัวแท่น 16,800 ตัน
ประเมินคร่าวๆ จากสายตา ความใหญ่โตของตัวแท่น เรียกได้ ว่าขนาดใกล้เคียงหรืออาจจะใหญ่กว่าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาชิดลม คงไม่เกินเลยไปนัก
เทคโนโลยีการผลิตและติดตั้งแท่นดังกล่าว เรียกว่าวิธี Float-over Installation Method ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการติดตั้งได้อย่างมาก และถือว่าเป็นการนำวิธีการติดตั้งแบบนี้ มาใช้ครั้งแรกในอ่าวไทย
งบลงทุนเฉพาะเฟสแรกนี้ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกใช้ไป กับการก่อสร้างแท่นผลิตกลางดังกล่าว
ดูจากตัวเลขเงินลงทุนในโครงการกับการได้แสดงศักยภาพของ การเป็น operater อย่างเต็มตัวในโครงการ "อาทิตย์" เมื่อคิดดูแล้ว ผู้บริหาร ปตท.สผ.คงไม่เสียดาย หากจะควักกระเป๋าพาสื่อมวลชน ไปดูงานที่อินโดนีเซียเพียงครึ่งวัน กับพาเที่ยวและชอปปิ้งที่สิงคโปร์อีก 2 วันเต็มๆ
|
|
|
|
|