Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"เสี้ยวชีวิตการเป็นนักรบที่ไม่ใช่นักฆ่า"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง
Aviation




น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเคยเป็นนักบินทหารมาก่อนในฝูงบินฝ่ายสัมพันธมิตร เกียรติได้ผ่านสมรภูมิรบเมื่อครั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีชื่อฝรั่งที่บรรดาเพื่อนฝูงพากันเรียกชื่อเกียรติว่า "TOM CHENG"

ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนร่วมเป็นร่วมตายในสนามรบครั้งนั้น ส่งผลผูกพันจากอดีตสู่ปัจจุบันที่ทำให้เกียรติสามารถตั้งบริษัทกู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) ขึ้นได้ เนื่องจากประธานกู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) ก็มาจากเพื่อนที่อยู่ในกองทัพเดียวกัน

"นอกจากนี้กิจการบริษัท แทรเวิล เอเยนต์ เมโทรโพลก็เกิดขึ้นเพราะคอนเนคชั่นดั้งเดิมตรงนี้ด้วย ที่ทำให้ท่านทำธุรกิจได้เยอะมาก" อรุณี โศภิษฐ์พงศธร บุตรสาวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเล่าถึงที่มาของสายสัมพันธ์ธุรกิจเก่าแก่

สมรภูมิสนามรบได้พลิกผันชะตากรรมของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขณะที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัยลินนานที่กวางเจา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยคริสเตียน สงครามเอเชียบูรพาได้ระเบิดขึ้น ญี่ปุ่นเข้าครอบครองเมืองจีน

เกียรติไม่สามารถติดต่อกับเมืองไทย ความอดอยากยากแค้นระบาดไปทั่ว เกียรติไม่มีทั้งเงินและงาน เพราะไม่มีใครมีเงินจ้าง สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อความอยู่รอดในยามสงครามนี้ เกียรติต้องสมัครเข้าเป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ต้องผ่านข้อสอบจึงจะได้รับการบรรจุกินเงินเดือนมีขั้น

โชคดีที่เกียรติสอบผ่าน และได้เข้าไปอยู่ในกองทัพอากาศอเมริกัน ความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ เรียนรู้ได้เร็วทำให้ผู้บังคับบัญชาชมชอบเกียรติ หรือ "TOM CHENG" มาก ๆ

เกียรติได้เล่าให้อรุณี บุตรสาวที่เขียน "THE BOY FROM SUPHANBURI" บันทึกประวัติชีวิตของตนฟังว่า หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมนักบินที่ลุคส์ฟิลด์ เท็กซัส สหรัฐฯ แล้ว เขาได้กลับเมืองจีนและได้รับตำแหน่งเป็นกัปตัน บรรจุเข้าหน่วยรบ "กองทัพที่ 14" (THETH AIRFORCE BASE) ซึ่งมีฐานการบินอยู่ที่เมืองคุนมิง

แม่ทัพบัญชาการของกองทัพที่ 14 นี้คือนายพลแชนนอล (GENERAL CHENNUALT) ซึ่งเป็นผู้นำของหน่วยรบกล้าตาย "FLYING TIGER" (พยัคฆ์ติดปีก) อันมีชื่อเสียงจากการสู้รบกับญี่ปุ่นจนประสบชัยชนะหลายครั้ง ต่อมาหน่วยรบ "FLYING TIGER" นี้ได้กลายมาเป็นกองทัพที่ 14 อันแกร่งกล้าขึ้น

ในสมรภูมิรบครั้งสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เกียรติหรือ TOM CHENG ทำหน้าที่ขับเครื่องบินทิ้งระเบิดและบรรทุกสินค้าตลอดจนได้รับมอบภารกิจสำรวจเส้นทางและเป็นครูฝึกทหารจีน

"ตอนนั้นท่านเล่าว่า เอเชียอาคเนย์ทั้งหมดถูกญี่ปุ่นครอบครองและได้ข่าวจากครอบครัวทางเมืองไทยว่า ผู้ใหญ่จุ้ย ผู้เป็นบิดานั้นอยู่ในบัญชีดำของทางการญี่ปุ่น เพราะทำงานใต้ดินอย่างลับ ๆ เพื่อช่วยพวกเสรีไทยซึ่งขณะนั้นมี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชเป็นผู้นำปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากญี่ปุ่น ผู้ใหญ่จุ้ยถูกจับได้ขณะพยายามจมเรือบรรทุกสินค้าญี่ปุ่น" ลูกสาวที่ใกล้ชิดเกียรติเล่าให้ฟัง

"ท่านเล่าว่า สงครามเป็นเวลาที่น่ากลัว เวลาเพื่อนรักถูกฆ่าคนแล้วคนเล่า คืนนี้นอนด้วยกัน พรุ่งนี้ไม่เห็นแม้เงา และอีกอย่างหนึ่ง การสู้รบกับญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อต้องทำศึกกลางเวหา เพราะเครื่องบินญี่ปุ่นที่ทาด้วยสีเหลือง จะมีลักษณะเบามากกว่า สามารถเลี้ยวได้คล่องแคล่วว่องไวเปรียบเหมือนรถโตโยต้า ขณะที่เครื่องบินของอเมริกัน มันทั้งหนักและแข็งแรงเหมือนรถแคดิแลค ที่เทอะทะใหญ่โตหมุนกลับลำได้ยากกว่า ดังนั้นคงนึกภาพออกว่า เวลาทำศึกกันผลมันจะเป็นอย่างไร?" อรุณีรำลึกถึงคำบอกเล่าของพ่อ

ครั้งหนึ่งเหตุการณ์สำคัญได้เกิดขึ้นในชีวิตการเป็นนักรบของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เมื่อเกียรติถูกคนอื่นหัวเราะเยาะว่าเป็น "RUNAWAY CAPTAIN" !!

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อเกียรติเป็นจ่าฝูงนำเครื่องบินรบเก้าลำออกไปสู้รบกับญี่ปุ่น ความได้เปรียบของเครื่องบินอเมริกันที่แข็งแรงกว่าและสามารถบินสูงเหนือกว่าคู่ต่อสู้ ทำให้ญี่ปุ่นไม่รู้ตัว ฝ่ายของเกียรติเปิดฉากโจมตียิงเครื่องบินญี่ปุ่นก่อน แต่ยิงได้เพียงสามนัด เครื่องบินญี่ปุ่นก็ตอบโต้อย่างหนักจนกระทั่งเกียรติเห็นท่าว่าจะสู้ไม่ได้จึงสั่งให้ทุกคนถอยหนี!

"เมื่อกลับมาถึง ผู้บังคับบัญชาและคนอื่น ๆ ต่างพากันหัวเราะเยาะ และเรียกพ่อว่า RUNAWAY CAPTAIN แต่ที่พ่อทำเพื่อรักษาชีวิตทุกคน นายของพ่อไม่เข้าใจ แต่เพื่อน ๆ เข้าใจดีและยังคงใช้วิธีการของพ่อตลอดคือหนีเอาตัวรอดให้ได้" เกียรติได้เล่าให้ลูกสาวฟังถึงการตัดสินใจในครั้งนั้น

"ท่านได้ทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเองในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไม่ใช่ในรูปแบบที่ทุกคนเรียกว่าวีรบุรุษ แต่เป็นบุรุษที่เอาตัวรอดได้เยี่ยมยอด" อรุณีให้ความเห็น

หากจะกล่าวอีกแง่มุมหนึ่ง ยามสงครามที่คนแปลกหน้าต่างฆ่ากันและกันโดยมิได้ขุ่นแค้นกันด้วยเรื่องส่วนตัว เกียรติคงได้พบสัจธรรมว่าการเป็น "นักรบ" นั้น แตกต่างจากความเป็น "นักฆ่า" โดยสิ้นเชิง นักรบย่อมเห็นคุณค่าของชีวิตตนเองและผู้อื่น ฉะนั้นเขาจึงไม่โอ้อวดตัวเองหรือเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ หากพยายามทะนุถนอมชีวิตไว้เพื่อมอบให้กับเป้าหมายที่เหมาะสมจริง ๆ

นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ถ้าเกียรติตัดสินใจบ้าบิ่นไปอีกทางหนึ่ง ประวัติศาสตร์ธุรกิจเมืองไทยคงจะไม่มีตำนานมหาเศรษฐีอย่าง "เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง" เป็นแน่แท้ คงจะมีแต่ "วีรบุรุษที่ตายแล้ว" ผู้มีชื่อว่า "CAPTAIN TON CHENG" จารึกไว้ในอนุสาวรีย์วีรชนกลางสมรภูมิรบนั้นแล้วก็ได้!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us