Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
ทิ้งแบตเตอรี่สะเทือนถึงดวงดาว             
 


   
search resources

ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีทองพาณิชย์
Watches




กระแสความตื่นตัวของภาวะโลกร้อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเปิดตัวนาฬิการุ่นใหม่ของซิติเซ่นได้แบบไม่น่าเชื่อเหมือนกัน เพราะอย่างน้อยการเลือกนาฬิกาประเภทควอทซ์ ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างมลภาวะได้ทางหนึ่ง

วิภาวรรณ มหาดำรงค์กุล ผู้จัดการทั่วไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีทองพาณิชย์ บอกว่า แต่ละปีนาฬิกาถูกผลิตขึ้นมากว่า 2 ล้านเรือน ทั่วโลก และส่วนใหญ่เป็นนาฬิกาที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อน

ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นกับผู้ผลิตนาฬิกา โดยเฉพาะทางฝั่งเอเชียคือ ญี่ปุ่น ที่เป็นผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่ ลดการผลิตนาฬิกา ใช้แบตเตอรี่ลงเหลือแค่ 50% และหันไปใช้พลังงานอื่นแทน เหมือนกับในอเมริกาที่นาฬิกากว่า 80% ที่วางจำหน่าย ไม่ได้ใช้แบตเตอรี่

แนวคิดแบบนี้ทำให้เห็นความแตกต่างของผู้ผลิต 2 ซีกโลกคือฝั่งตะวันตก ที่ยกให้สวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ผลิตรายใหญ่กับฝั่งตะวันออก ที่มีญี่ปุ่นเป็นรายใหญ่ มีแนวทางการพัฒนานาฬิกาต่างกัน อย่างเห็นได้ชัด

เริ่มกันที่ฝั่งตะวันตกก่อน นาฬิกาของกลุ่มนี้จะใช้เทคโนโลยีแบบเดิมที่เรียกว่า นาฬิกาอัตโนมัติ โดยใช้แรงเหวี่ยงของเครื่องจักรในนาฬิกามาขับเคลื่อน โดยแรงเหวี่ยงนี้มาจากการแกว่งแขนตามจังหวะการเดินของผู้สวมใส่ ซึ่งถือเป็นกลไกแบบเดิมและคลาสสิก นาฬิการะดับหรูของสวิสใช้ระบบนี้ ข้อเสียของระบบนี้คือ หากไม่สวม ใส่นาฬิกาเป็นเวลานาน นาฬิกาก็จะหยุดเดิน

ส่วนฝั่งญี่ปุ่นก็มีนาฬิกากลไกแบบนี้ให้เลือก แต่ที่พัฒนาไปกว่านั้นก็คือ นาฬิกาใช้พลังแสงอาทิตย์ และนาฬิกาที่ใช้แรงเหวี่ยงของฝั่งยุโรป แต่ปรับปรุงให้ทันสมัยและทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน แม้ไม่ได้สวมใส่

"ซิติเซ่นคิดค้นนาฬิการะบบ Eco-Drive มาตั้งแต่ปี 1995 และพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงรุ่นล่าสุดที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงทุกชนิดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ตลอดอายุการใช้งาน" วิภาวรรณอธิบายถึงนาฬิการุ่นใหม่ที่เข้ากับภาวะโลกร้อน ในปัจจุบัน

ระบบของนาฬิการุ่นนี้ก็คือที่ใต้หน้าปัดนาฬิกาจะติดตั้งแผงรับแสง แล้วแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าบรรจุเข้าไปไว้ในแบตเตอรี่แบบพิเศษมีอายุการใช้งานยาวนาน 20 ปี โดยการบรรจุพลังงานจนเต็มจะสามารถทำให้นาฬิกาทำงานได้นาน 6 เดือน โดย ไม่ต้องรับแสงเพิ่ม

การขายนาฬิกาแบบนี้ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะลุกขึ้นมาขายได้ ต้องหาตัวแทนหรือกลุ่มอ้างอิงขึ้นมา ทางซิติเซ่นก็เลยต้องมีแบรนด์ แอม บาสเดอร์เข้ามาช่วย ซึ่งก็ได้ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล โอรส ม.จ.ชาตรี เฉลิม ยุคล มาทำหน้าที่นี้

นาฬิกานอกจากทำหน้าที่บอกเวลาแล้ว ยังทำหน้าที่บอกถึงสถานะผู้สวมใส่ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us