Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550
1 ร้าน 3,000 แบบ 50,000 รายการ             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ นารายา

   
search resources

นารายณ์เอนเตอร์เทรด
Crafts and Design
Garment, Textile and Fashion




ความโดดเด่นและแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยพิมพ์ลายของแบรนด์ Naraya ไม่ได้อยู่ที่ราคาถูก เริ่มต้นแค่ 20 บาท ทำให้ผู้ซื้อสะดวกใจที่จะหยิบจับเงินในกระเป๋าออกมาจับจ่ายและหิ้วกลับไปใช้เองหรือฝากคนรู้จักเพียงเท่านั้น

แต่ต้องยอมรับว่า เหตุผลสำคัญมากที่สุดที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การที่ Naraya สามารถออกแบบกระเป๋าได้หลากหลายถึง 3,000 แบบ แบ่งเป็นลายผ้า สีสัน และขนาด รวมแล้วมีสินค้ากว่า 50,000 รายการ วางขายอยู่ตามแต่ละสาขาของตนเอง

กระเป๋าผ้าบนชั้นที่จัดเรียงกันเป็นตัวอย่างให้ลูกค้าได้เห็น ก่อนการสอบถามพนักงานถึงสถานที่จัดเก็บของสินค้าแบบนั้นๆ จ่ายเงินที่เคาน์เตอร์แล้วหิ้วกลับบ้าน เป็นกระเป๋าแบบที่วาสนาและแผนกดีไซน์ตั้งชื่อเล่นว่า "กระเป๋าพี่ กระเป๋าน้อง"

กระเป๋าแบบเดียวกันไม่เพียงแต่แตกต่างกันที่ขนาด แต่ว่ายังแตกต่างกันที่สี ซึ่งอาจจะลงตัวหรือถูกใจใครสักคนในครอบครัว

ขนาดที่เหมือนเป็นพี่น้องกัน พอๆ กับความหมายโดยนัยที่ต้องการให้พี่สาวก็สามารถใช้ใส่ของได้ น้องสาวก็หิ้วไปโรงเรียนได้ด้วยเช่นกัน เผลอๆ กระเป๋าแบบเดียวกัน แต่ขนาดใหญ่กว่าก็อาจจะถูกใช้จากคุณแม่หรือคุณย่าก็เป็นได้

ดังนั้น หากจะใช้คำว่า "ละลานตา" เพื่ออธิบายความรู้สึกของลูกค้าที่ก้าวเท้าเข้าไปในร้านสีเหลืองขาวหลายๆ สาขาของ Naraya ก็ดูเหมือนจะไม่ผิดจากความเป็นจริงนัก

"ละลานตา" ยังใช้เป็นคำอธิบายที่ "ผู้จัดการ" ใช้อธิบายจำนวนของลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าใน Naraya เมื่อมีโอกาสเข้าเยี่ยมชมสาขาที่ตั้งอยู่ชั้นกราวด์ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์

หากแต่ว่าพนักงานดูแลร้านกลับบอกว่า นี่คือบรรยากาศ "ธรรมดา" เพราะหากเป็นวันที่ลูกทัวร์ชาวเกาหลี ญี่ปุ่น หรือไต้หวันมาลงหลายคันรถบัส พื้นที่ทุกตารางนิ้วไม่มีที่ว่างสำหรับลูกค้าใหม่ๆ เลยด้วยซ้ำ

ความสำเร็จของ Naraya ที่สามารถออกแบบกระเป๋าผ้าและข้าวของที่ใช้ผ้าเป็นวัสดุพื้นฐาน เริ่มต้นจากผ้าเพียงไม่กี่ลายในวันที่เริ่มกิจการ

จนกระทั่งรู้จักมักคุ้นกับเจ้าของโรงงานผ้า เริ่มซื้อขายกันแบบจับมือให้คำมั่นที่จะผลิตผ้าในรูปแบบหรือลายที่ขายให้กับ Naraya แต่เพียงผู้เดียวในเวลาต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งโรงงานผ้าที่คุ้นเคยและจากการออกแบบของแผนกดีไซเนอร์ของ Naraya ทำให้มีลายผ้าที่จดลิขสิทธิ์ออกแบบมาจาก Naraya ห้ามลอกเลียนแบบแล้วเป็นร้อยลาย

หลายปีมานี้ วาสนาไม่ได้หยุดการออกแบบกระเป๋า และมองหาลายผ้าใหม่ๆ มาใช้กับสินค้าของ Naraya ด้วยตนเอง แต่การมีมืออาชีพเข้ามาช่วยเหลือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับแบรนด์ที่ต้องการจะเติบโตในตลาดยิ่งๆ ขึ้นไป

วาสนาเริ่มจ้างดีไซเนอร์คนแรกเข้ามาทำงานเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว หลานสาวของเธอซึ่งจบจากศิลปากร ถูกจ้างเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้สร้างจินตนาการ แล้วนำมาวาดให้เป็นรูปร่างกระเป๋า ข้าวของเครื่องใช้ที่ผลิตจากผ้าลายดอกตามสไตล์ของ Naraya

ช่วงแรก เมื่อดีไซเนอร์วาดภาพออกมาแล้ว การขึ้นแบบกลับเป็นปัญหา เพราะชาวบ้านที่เป็นแรงงานเย็บสินค้าเคยเป็นที่พึ่งในการขึ้นแบบตลอดมา วาสนาจึงตัดสินใจจ้างคนงานที่จบเสื้อผ้าสิ่งทอมาทำงานด้วย เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถึงตอนนี้รวมฝ่ายพัฒนาและวิจัยสินค้าเข้าไปด้วยก็เกือบสิบชีวิต

ทุกอย่างทำงานเป็นกระบวนการผลิตที่รัดกุม เมื่อฝ่ายวิจัยค้นพบสินค้าที่น่าจะออกแบบ ก็จะแนะนำฝ่ายดีไซเนอร์ให้วาดภาพออกมา พร้อมทดลองจับคู่ลายผ้าที่มีอยู่ในคลังข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผลงานถูกส่งต่อไปยังแผนกขึ้นตัวอย่าง เสร็จแล้วส่งไปให้วาสนาพิจารณา ติชมและส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป

ไม่เพียงแต่ลายผ้าเท่านั้นที่วาสนาจดลิขสิทธิ์เฉพาะ แต่ยังหมายรวมถึงการจดลิขสิทธิ์แบรนด์ของตนให้กระจายครอบคลุมหรือมีผลทางการค้าทั่วโลกอีกด้วย

ประเทศแรกที่มีการจดลิขสิทธิ์แบรนด์ Naraya ก็คือสาธารณรัฐเชค เนื่องจากมีลูกค้าจากประเทศนี้หิ้วของ Naraya ไปจำหน่ายที่นั่นเป็นจำนวนมาก ก่อนขยายมาจดลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่น ยุโรป อินเดีย และอื่นๆ จนเกือบครบทั่วโลก

"ตอนนั้นเพิ่งเริ่มจะมีเงิน แต่สามีบอกว่าต้องจดลิขสิทธิ์แล้วล่ะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะโดนลอกเลียนแบบได้ ค่าจดลิขสิทธิ์นั้นก็เป็นล้าน แต่ก็ยังน้อยกว่าค่าจ้างทนายต่างประเทศที่ช่วยดำเนินการให้เพราะต้องใช้สำนักงานทนายความหรือบริษัททนายความนานาชาติ เราเคยใช้ที่ปรึกษาด้านกฎหมายจากทั้งเบเกอร์ แอนด์ แมคแคนซี่, ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส หรือแม้แต่ติลิกี้ แอนด์ กิบบิ้นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล นี่ก็จนเกือบครบแล้ว แบรนด์เราเลยไม่เหมือนคนอื่นตรงที่ทำเพราะความจำเป็นแทบทุกอย่าง" วาสนาบอก

ใบประกาศนียบัตรจดลิขสิทธิ์ในหลายๆ ประเทศ อาจไม่ใช่สิ่งที่แสดงความสำเร็จของ Naraya เป็นแน่ แต่สิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จที่แท้จริงของ Naraya กลับเป็นกระเป๋าทั้ง 3,000 แบบ 50,000 รายการ ที่วางอยู่ในร้านของ Naraya ต่างหาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us