|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2550
|
|
จากพาร์ตเนอร์น้องใหม่ในวันแรก ที่บ้างไม่รู้จักสตาร์บัคส์มากไปกว่าร้านกาแฟ จนเป็น Passionate Partner หรือ "พาร์ตเนอร์เลือดสีเขียว" ที่พร้อมบริการลูกค้าอย่างอบอุ่นและเป็นมิตร ต้องผ่าน "การคั่ว-เข็น" หรือก็คือ การเทรน ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอน "เปลี่ยนถ่ายเลือด (transfusion)" จากสีแดงเป็นสีเขียว ความดีนี้คงต้องยกให้ฝ่ายฝึกอบรม ซึ่งที่สตาร์บัคส์เรียกว่า Learning & Development "ผู้จัดการ" ได้รับอนุญาตให้เข้าไปสังเกตการณ์ในห้องฝึกอบรม เพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่สงสัยมานานว่า "ชาวสตาร์บัคส์ถูกฉีด passion และ "สารให้ความแอ็คทีฟ" เข้าสู่เส้นเลือด ตอนไหนกัน!?!"
- D a y 1
Orientation
เริ่มต้นด้วย Coffee Tasting เป็นวัฒนธรรมเพื่อการต้อนรับน้องใหม่ หลังจาก "smell & slurp" (ดม-ซด) เสร็จก็ต้องบันทึกลงใน Coffee Passport ที่เป็นเหมือนพาสปอร์ตที่พาร์ตเนอร์ต้องพกไว้ เพื่อบันทึกการท่องเที่ยวดินแดนต่างๆ ผ่านการ smell & slurp
ใครที่ไม่เคยดื่มกาแฟดำเพียวๆ ความขมของกาแฟ House Blend ที่เข้มแค่ระดับปานกลางก็ทำให้ใบหน้าแหยเกได้เหมือนกัน
ถ้าคิดว่าวันปฐมนิเทศคงสบาย ผิดถนัด! ราวกับหัวถูกกระแทกด้วยของแข็งที่เรียกว่า "แบรนด์ลิซึ่ม" เพราะแค่วันแรกก็ถูกอัดแน่นด้วยคำว่า Starbucks Experience, Mission Statement และหลัก "5 Be"
อีกทั้งต้องจดจำกฎกติกาการอยู่หลังบาร์อีกเยอะ "ห้ามใส่น้ำหอม เพราะกาแฟดูดซับกลิ่นเร็ว ใส่สร้อยหรือตุ้มหูตุ้งติ้ง เดี๋ยวตกลงไปในแก้วกาแฟ ห้ามระเบิดหู ห้ามสักนอกร่มผ้า ฯลฯ แต่ทำไฮไลต์สีผมได้ แต่ห้ามสีแดง สีเขียว สีม่วง สีทอง..."
- D a y 2
Creating Starbucks Experience
ใครจะคิดว่าการทักทายก็ต้องเทรน ทว่าการฝึกทักทายและจดจำชื่ออย่างมีเอกลักษณ์ ถือเป็นหลักบริการสำคัญของพาร์ตเนอร์สตาร์บัคส์ทุกคน
เกิดมาเพิ่งรู้จักคำว่า "ประสบการณ์สตาร์บัคส์" ก็เมื่อวานนี้เอง วันนี้ต้องรู้เรื่องการสร้างประสบการณ์สตาร์บัคส์แล้ว อาจดูเหมือนง่ายแต่มากด้วยรายละเอียด เริ่มต้นแค่หลักการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบทีมเวิร์ก หรือ Star Skills ก็ต้องเรียนรู้ร่วมครึ่งวัน
- D a y 3
Service at Starbucks
หลังอบรมแค่ 2 วัน พาร์ตเนอร์ใหม่ต้องหมุนเวียนกันทำ Coffee tasting เอง จากนั้นเพื่อนๆ ก็มีหน้าที่ต้องยกข้อดีมาชื่นชม ถือเป็นอีกวัฒนธรรมที่ต้องซึมซับและหมั่นฝึกฝน
จากนั้นก็เรียนรู้แต่เรื่อง Sevice at Starbucks ทั้งวัน พูดซ้ำๆ เรื่อง "the third place" จนหลายคนกดอาการง่วงไม่อยู่ ถึงจะโด๊ปกาแฟไปแล้วหลายแก้ว
- D a y 4
Communication about Coffee
หลังจากได้ทำความรู้จักกาแฟจากแหล่งต่างๆ ที่สตาร์บัคส์นำเข้ามาขาย จากนั้นก็เป็นช่วงชงชิม กาแฟหลากรสชาติ วันทั้งวันต้องชิมกาแฟมากกว่า 20 แก้วช็อต อีกทั้งยังมีกาแฟเย็นจาก "กลุ่มอบรม" รุ่นก่อนที่เข้ามาสอบทำเครื่องดื่มปั่น น้องใหม่หลายคนถึงกับต้องบอกปฏิเสธด้วยแววตาเสียดาย เพราะหากต้องควักเงินซื้อกาแฟปั่นสตาร์บัคส์แก้วนั้นเอง ก็ต้องจ่ายกว่าร้อยบาท
ดม-ซด-จด ใน Coffee Passport ได้หลายหน้า เทรนเนอร์จึงพร่ำพรรณนาถึงตำแหน่งเกียรติยศ ในสตาร์บัคส์อย่าง Coffee Master ทำเอาน้องใหม่หลายคนแอบฝัน บางคนก็แอบฟุ้งด้วยฤทธิ์กาแฟหลายขนาน
"พรุ่งนี้ลงร้านเตรียมตัวให้ดี วันแรกของการลงร้านอาจจะกดดันบ้าง หรืออาจจะถูกโดดเดี่ยวเพราะที่ร้านงานยุ่ง ขอให้ทำการบ้านไปก่อนทุกครั้ง ต้องเรียนแบบผู้ใหญ่ ไม่อยากบอกว่า ภาพจะสวยหรูตลอดเวลา แต่ขอให้อดทน แล้วจะถึงฝั่งฝันเหมือนพี่” เทรนเนอร์พูดเตือน (หรือขู่) ก่อนตบท้ายว่า เจอกันอีกทีอาทิตย์หน้า
- D a y 5
ลงร้าน
พาร์ตเนอร์ที่ร้านทำ Coffee tasting เป็นการต้อนรับและสร้างความประทับใจให้น้องใหม่ จากนั้นจึงเริ่มต้นทำความรู้จักกับเครื่องมือเครื่องใช้ และรู้จักร้านสตาร์บัคส์มากขึ้น รวมถึง ได้เห็นหน้าค่าตาลูกค้าขาจรขาประจำ แต่ที่สำคัญที่สุด คือการได้สัมผัสกับ Starbucks Experience และ "the third place" ด้วยตัวเอง
ก่อนจบ In-Store training พาร์ตเนอร์น้องใหม่ต้องทบทวนเนื้อหาที่เรียนรู้มาจากคลาสเรียนกับผู้จัดการร้าน หรือผู้จัดการเขต
- D a y 6
ลงร้าน
ทำความรู้จักกับเมล็ดกาแฟและเครื่องชง ก่อนจะได้เรียนรู้เรื่องการชงกาแฟและชาตบท้ายด้วยการทำ Coffee tasting กับลูกค้าโดยมีผู้จัดการร้านมานั่งเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด
- D a y 7
ได้พักทบทวนที่เรียนรู้มา 1 วัน
แม้ "ผู้จัดการ" จะได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์การฝึกอบรม และกระบวนการถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมเกี่ยวกับการบริการของสตาร์บัคส์ เพียง 1 สัปดาห์แรก แต่ก็ทำให้พอหาคำตอบของคำถามข้างต้นได้บ้างแล้วว่า "ที่ห้องอบรมนี้นี่เอง" โดยมีผู้ทำหน้าที่ฝัง "ชิป" ที่บรรจุโปรแกรม passionate partner ไว้ในสมองพาร์ตเนอร์ใหม่ทุกคน ก็คือ Learning & Development Specialist
"อาทิตย์แรกเรียนเน้นทฤษฎี อาทิตย์ที่สองลงไปปฏิบัติ อาทิตย์ที่สาม จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ที่บาร์ในออฟฟิศ วันสุดท้ายก็เช็กเนื้อหาที่เรียนทั้งหมด แต่ทั้งหมดใน 3 อาทิตย์ แต่หัวใจที่เราพยายามให้น้องจำก็คือ ค่านิยมของเราทั้ง mission statement, green apron (5 Be) และหลัก star skills เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ซึ่งมันจะส่งผลดีต่อลูกค้า และประสบการณ์สตาร์บัคส์ที่น่าประทับใจ"
เป็นบทสรุปเพียงแค่หนึ่งย่อหน้า แต่ถูกขยายและตอกย้ำซ้ำๆ ในคอร์สอบรมนานได้ 3 สัปดาห์
วรรพรรณ ปรมาภรณ์พิลาส เป็น 1 ใน 2 L&D Specialist ที่ทำหน้าที่อบรมพาร์ตเนอร์ใหม่ทุกคน บอกเล่าเพิ่มเติมว่า "basic" และ "flow" ในการอบรมของสตาร์บัคส์เมืองไทย ได้มาจากบริษัทแม่ทั้งกระบิ เพียงแต่ของเมืองไทยจะใช้เวลา "คั่ว-เข็น" ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนแน่ใจว่าน้องใหม่ทุกคนเข้าใจและ get idea ขณะที่เมืองนอกใช้ 1 วันอาจสอนถึง 2 คลาส เมืองไทยอาจใช้วันละคลาส
"เมล็ดกาแฟ" ที่ไม่ใช่พันธุ์ดีจริง เมื่อคั่วนานๆ ด้วยไฟแรงกว่า 200 องศาเซลเซียส ก็จะไหม้ดำ หรือแตกละเอียด เหมือนกับพาร์ตเนอร์ใหม่บางคน ที่ไม่ได้มีใจรักบริการ ก็มักจะหายไประหว่างการอบรมหรือหลังจากจบการอบรม จากรุ่นละ 20-30 คน อาจจะหายไป 1-2 คน
"เป้าหมายของเราก็คือ ทุกร้านต้องได้มาตรฐานบริการเหมือนกันหมดทุกสาขา" วรรพรรณสรุป
|
|
|
|
|