Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"โปรดนำสัตว์กลับคืนธรรมชาติ"             
โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์
 


   
search resources

กองอนุรักษ์สัตว์ป่า
พิสิษฐ์ ณ พัทลุง
Environment
Pet & Animal




ขณะที่สัตว์ป่าใกล้จะหมดไปจากธรรมชาติคือความสูญเสียที่กำลังดำเนินไปอย่างไม่อาจทัดทาน ความสำเร็จในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าหลาย ๆ ชนิดก็เป็นเสมือนความหวังอันเรืองรองที่เข้ามาชดเชย แต่หวังนี้จะเป็นจริงหรือเพียงเป็นความฝันเลื่อนลอยยังเป็นเรื่องที่ยากจะตัดสิน

การเพาะพันธุ์เอื้อต่อการทำธุรกิจอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เอื้อต่อการอนุรักษ์เพียงใด นับเป็นคำถามที่ท้าทายไม่น้อย

"การเพาะเลี้ยงไม่ใช่ว่าในป่าไม่มีแต่ในฟาร์มเรามีมากที่สุดในโลก อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง ในธรรมชาติต้องมี ไม่ใช่จับเข้าฟาร์มหมด สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ให้รัฐบาลทำ อย่างถ้าเราอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าได้แล้ว ก็เก็บภาษีตรงนี้สิครับ แล้วเอาเงินไปตั้งเป็นแหล่งขึ้นมา อาจจะกรมป่าไม้ทำร่วมกับเอกชนก็ได้" จิตติ รัตนเพียรชัยเสนอทัศนะพร้อมกับรูปธรรมการปฏิบัติ

จรูญ ยังประภากรเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เช่นกัน ได้กล่าวว่า "การค้าเป็นอีกเรื่องหลังจากที่เพาะสำเร็จจนกระทั่งปริมาณของสัตว์มีเกินพอแล้ว ส่วนเกินก็เป็นเรื่องของการค้าขายตามมา"

ความคิดเช่นนี้จะเป็นจริงได้อย่างไร

"ถูกต้องที่สัตว์ป่าหลายชนิดไม่ควรมาเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ต้องแยกว่าในเมืองจะแก้ปัญหาอย่างไร ในป่าจะแก้อย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทำลายอีก จะเพิ่มหรือเสริมเข้าไปหรือเปล่า" สัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากรไม่ค่อยแน่ใจ

"ถ้ารัฐบาลจะคุมให้ดีต้องเอาไปปล่อยถิ่นธรรมชาติด้วย นอกนั้นขาย แบบนี้ไม่มีสูญ" วิโรจน์ นุตพันธุ์ให้ความเห็น

นี่คือทัศนะของเอกชนและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องอยู่กับการทำธุรกิจด้วย สำหรับด้านของนักอนุรักษ์ พิสิษฐ์ ณ พัทลุง คงจะเป็นตัวแทนได้ดี

"ผมขอพูดให้ชัดเจนว่า ผมไม่เคยต่อต้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือการทำสวนสัตว์ที่ถูกต้อง ตราบใดที่สัตว์ป่ายังไม่สูญพันธุ์ ผมไม่เห็นว่าเสียหาย เพียงแต่คิดว่าไม่เพียงพอเพราะไม่จบกระบวนการเท่านั้นเอง การเพาะขายแล้วอ้างว่าอนุรักษ์ ทั้งที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้ธรรมชาติเลย นี่ไม่ถูกต้อง ละอง ละมั่งที่ว่าเพาะได้มากมาย เพาะง่ายผมไม่เถียง ในป่าไม่มี มีแต่ในบ้าน แล้วใครบ้างมีโครงการหรือมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าได้ช่วยธรรมชาติ"

น้ำหนักที่ให้อาจจะต่างกัน แต่สาระของคำตอบที่ต่างระบุออกมาก็คือ ต่อไปนี้มนุษย์ต้องทำหน้าที่เสริมให้แก่ธรรมชาติบ้างแล้วหลังจากที่ใช้ไปมากจนเป็นการทำลายมานาน

การนำสัตว์คืนสู่ธรรมชาติเป็นปฏิบัติการที่กำลังมีการทดลองทำในต่างประเทศอยู่ขณะนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าประสบผลสำเร็จสมบูรณ์มากนัก สำหรับประเทศไทยทางกรมป่าไม้และหน่วยราชการบางแห่งได้ริเริ่มการเพาะพันธุ์เพื่อมุ่งหมายด้านการอนุรักษ์มาระยะหนึ่งแล้ว การเพาะประสบผลพอสมควร แต่การนำไปคืนธรรมชาติยังไม่เด่นชัดนัก เท่าที่ได้ทำไปแล้วคือ โครงการคืนละองละมั่งที่ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิก็ไปไม่ได้ไกลนัก ยังไม่มีการทำทั้งกระบวนการ

นอกจากนี้มีการเอานกกระเรียนและเป็ดก่าคืนถิ่นทั้ง 2 ชนิดนี้นับเป็นการรับคืนจากต่างประเทศซึ่งเพาะได้สำเร็จ ขณะในป่าของไทยที่เป็นแหล่งกำเนิดไม่มีเหลือให้เห็น

"การทำตรงนี้เป็นเรื่องยาก แต่สำคัญมาก ผมว่าเราต้องทุ่มเทให้มากทั้งกำลังคน งบประมาณ วิชาการและเทคโนโลยี ผมเองมีความหวังเรื่องนี้ค่อนข้างสูง" เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยกล่าว

ความยากของการคืนสัตว์สู่ธรรมชาติเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งภายนอกและภายในตัวสัตว์เอง ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวหลักชี้ขาดไม่น้อยก็คือคน ตราบใดที่การล่ายังคงเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ป่ายังคงถูกทำลาย การคืนกลับสู่บ้านที่แท้จริงของสัตว์ป่าก็ย่อมไม่สัมฤทธิผล

โดยธรรมชาติของสัตว์เองเป็นอุปสรรคอีกข้อหนึ่ง วิญญาณป่านั้นไม่ใช่สิ่งที่มือของผู้เลี้ยงหรือซี่เหล็กของกรงขังจะปลูกฝังให้ได้ สัตว์ป่าในเมืองเมื่อออกไปสู่ดงไม้และความอิสระเสรีจึงมีกมีชีวิตล้มเหลวหาอาหารกินไม่ได้ หนีภัยไม่เป็น ฯลฯ

"สัตว์ที่ปรับตัวยากที่สุดคือพวก PRIMATE พวกลิง สัตว์ที่กินพวกลูกไม้ ต้องรู้จักการเลือกสรร รู้จักพันธุ์ไม้ในป่าแต่ละแบบ ถ้าได้รับการเทรนแบบเมือง ไม่มีทางรู้ได้ ร่างกายก็ไม่ทนทาน โดนฝนโดนแดดจะรู้ไหมว่าต้องทำอย่างไร ถ้าจะทำกระบวนการต้องละเอียดมาก มีการเทรนเป็นขั้นตอน อาจจะต้องเอาไปไว้ในกระท่อมกลางป่า ไม่ให้เจอคน บางครั้งต้องแกล้งยิง แกล้งตี ไม่ให้เข้าหาคน พวกสัตว์กินสัตว์ ง่ายกว่า แต่ก็ต้องฝึกให้ล่าได้ รุ่นแม่อาจยังล่าไม่เป็น แต่พอมีลูกก็ปรับเข้ากับสังคมป่าได้" ดร. อุทิศ กุฏอินทร์ แห่งคณะวนศาสตร์ให้ความรู้

เรื่องเหล่านี้ต้องเป็นหน้าที่ของทางราชการโดยไม่ต้องสงสัย แต่ต้องมีความร่วมมือจากส่วนอื่นประกอบด้วย โดยเฉพาะเอกชนที่เก็บเกี่ยวเอาประโยชน์ไปจากสัตว์ป่า ต้องไม่ลืมที่จะตอบแทนคืนกลับให้แก่สังคมด้วย ไม่ใช่มุ่งที่ผลประโยชน์ส่วนตนเพียงประการเดียว เพราะหากเป็นเช่นนั้น ผลร้ายที่ตามมาก็จะตกอยู่กับโลกทั้งโลก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us