Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 ตุลาคม 2550
เทสโก้กำไรบนซากโชวห่วย สูบไทย 37% จากยอดขายทั่วโลก             
 


   
www resources

Tesco Lotus Homepage

   
search resources

เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม, บจก.
Retail




โฆษกกรรมาธิการพาณิชย์ เผยเทสโก้ โลตัส ดูดเงินจากผู้บริโภคชาวไทยส่งกลับบริษัทแม่ที่อังกฤษปีละหลายหมื่นล้าน หนุนส่งให้เทสโก้ ไต่ทะยานขึ้นเป็นบริษัทร่ำรวยที่สุดอันดับสี่ของโลกในชั่วพริบตา ยิ้มร่ายอดยอดขายรวมทั่วโลก 79,978 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากไทยมากถึง 37% สวนทางกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยของไทยที่ล้มตายอย่างรวดเร็วเหลือรอดไม่ถึงครึ่ง แจงประเทศในเซาท์อีสต์เอเชียล้วนควบคุมการขยายสาขาของค้าปลีกค้าส่งต่างชาติมีเพียงไทยที่ปล่อยอิสระ

ว่าที่ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โฆษกกรรมาธิการพาณิชย์ ฉายภาพให้เห็นถึงการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกในโลกที่ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกรวมถึงไทย กระทั่งส่งผลกระทบมายังผู้ประกอบการค้าปลีกในไทยมหาศาล โดยเฉพาะค้าปลีกดั้งเดิมที่อยู่คู่สังคมไทย เช่น ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว โชว์ห่วย ร้านชำ ร้านค้าเร่รวมไปถึงตลาดสด ซึ่งขณะนี้แทบทุกจังหวัดได้ร้องเรียนต่อสนช. เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น

ว่าที่ ร.อ.จิตร์ กล่าวในงานประชุมเปิดตัวจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานผู้ค้าปลีกและผู้ประกอบอาชีพอิสระของคนไทย” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ โดยมีมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและสื่อเครือผู้จัดการให้การสนับสนุนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าธุรกิจค้าปลีกไต่ทะยานแซงหน้าธุรกิจอื่นๆ มายืนอยู่ในอันดับหนึ่งของโลกในขณะนี้

นิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ระบุว่า บริษัทวอลล์มาร์ท กลายเป็นบริษัทธุรกิจเอกชนที่มีมียอดขายสูงสุดอันดับหนึ่งของโลกแซงหน้าบริษัทน้ำมันอย่างเอ็กซอน-โมบิล ติดต่อกันเป็นปีที่ 7 ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2549 มียอดขายรวม 351,139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลกำไร 11,284 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยกลยุทธ์การขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดทั้งในเขตเมือง อำเภอ ตำบล และเจาะลึกลงถึงระดับหมู่บ้าน

แนวทางการขยายธุรกิจของวอลล์มาร์ท สหรัฐฯ ที่เริ่มต้นจากร้านเล็กๆ สู่การขยายสาขาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกลายเป็นธุรกิจการค้าใหญ่ที่สุดในโลกภายในหนึ่งชั่วอายุคน ถือเป็นต้นแบบที่กลุ่มธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเทสโก้-โลตัส, คาร์ฟูร์ ฯลฯ ดำเนินรอยตามและต่างเร่งขยายสาขาทั้งในประเทศแม่และประเทศต่างๆ ทั่วโลก

โฆษกกรรมาธิการพาณิชย์ กล่าวว่า หากกล่าวถึง เทสโก้-โลตัส บริษัทค้าปลีกสัญชาติอังกฤษ ซึ่งกำลังรุกขยายสาขาอย่างหนักในไทยขณะนี้ สามารถทำยอดขายจากอันดับที่ 8 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมาขึ้นสู่อันดับ 4 ในปี 2549 โดยมียอดขายรวม 79,978 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

“ประเด็นที่น่าตกใจก็คือ สัดส่วนยอดขาย 37% เป็นยอดขายจากสาขาในประเทศไทย นั่นเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเทสโก้ จึงเร่งขยายสาขาอย่างรวดเร็ว” ว่าที่ ร.อ. จิตร์ กล่าว

ขณะที่ เจฟฟ์ อดัมส์ ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส ประเทศไทย ยอมรับว่า เทสโก้ เป็นโมเดิร์นเทรดที่ครองอันดับหนึ่งในไทย และเทสโก้ ในไทย มียอดขายเป็นอันดับ 2 ของเทสโก้ในต่างประเทศ

ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ได้อ้างข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ว่าเมื่อปี 2544 เทสโก้ โลตัส มีสาขาในไทย เพียง 33 สาขา ส่วนเทสโก้ โลตัส เอ็กซเพรส มีเพียง 2 แห่ง แต่เมื่อถึงปี 2549 เทสโก้ โลตัส ขยายสาขาเพิ่มเป็น 91 แห่ง ขณะที่โลตัส เอ็กซเพรส ได้เพิ่มสาขาเป็น 200 แห่ง และในปี 2550 ยังตั้งเป้าเพิ่มเป็น 118 แห่ง และ 300 แห่งตามลำดับ ซึ่งกลยุทธ์การสร้างยอดขายด้วยการขยายสาขาลงถึงระดับหมู่บ้าน เป็นการเดินตามรอยวอลล์มาร์ท

ทั้งนี้ หลังจากเครือซีพี ได้ขายหุ้นโลตัส 75% ให้กับเทสโก้ ยักษ์ค้าปลีกจากอังกฤษ เมื่อปี 2541 ในปีถัดมา เทสโก้ ได้ขยายสาขาในไทย จำนวน 24 แห่ง มียอดขายรวม 21,740 ล้านบาท จากนั้นจำนวนสาขาและยอดขายของเทสโก้ ก็ไต่อันดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปี 2543 มียอดขาย 33,340 ล้านบาท, ปี 2544 มียอดขาย 45,087 ล้านบาท, ปี 2545 ยอดขาย 54,340 ล้านบาท, ปี 2546 ยอดขาย 64,695 ล้านบาท และปี 2547 ยอดขาย 72,736 ล้านบาท

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เทสโก้ ได้ทุ่มทุนปีละประมาณ 5,000 - 7,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อขยายสาขาให้ได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้เทสโก้ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 39% ขณะที่ บิ๊กซี มีส่วนแบ่งตลาด 25% และ แมคโคร 24% ตามลำดับ

ภาพรวมการค้าปลีกค้าส่งของไทย ข้อมูลของบริษัทเอซี นีลเส็น และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า ส่วนแบ่งการตลาดของค้าปลีกสมัยใหม่ ในปี 2549 มีมูลค่าหรือยอดขายรวม 4.8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 34.2% ของมูลค่าทางธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งรวมทั้งหมดประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท โดยจำนวนลูกค้าของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ตกประมาณ 80 ล้านรายต่อเดือน (นับจากจำนวนใบเสร็จ)

ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ซึ่งกำส่วนแบ่งตลาดอยู่ 34.2% นั้น ตกอยู่อยู่ในมือของกลุ่มทุนต่างชาติที่เป็นผู้นำในธุรกิจนี้ 4 รายหลัก คือ เทสโก้โลตัส, บิ๊กซี, แมคโคร และคาร์ฟูร์,

โฆษกกรรมาธิการพาณิชย์ กล่าวว่า ยอดขายที่เพิ่มสัดส่วนขึ้นทุกปีของทุนค้าปลีกข้ามชาติมาจากการเร่งขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปี 2544 ที่บรรดาค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรด ซึ่งประกอบด้วย เทสโก้-โลตัส, เทสโก้ - เอ็กเพรส, บิ๊กซี, แมคโคร, คาร์ฟูร์, เซเว่น อีเลฟเว่น, แฟมิลี่ มาร์ท, วัตสัน และอื่นๆ รวมกันมีจำนวนสาขา 1,821 สาขา ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3,712 สาขาในปี 2548 และในปี 2550 จำนวนสาขาของโมเดิร์นเทรดเหล่านั้นขยายตัวเป็น 5,720 สาขา กล่าวได้ว่าเพียง 2 ปีนับจากปี 2548 ถึงปี 2550 มีการเพิ่มสาขามากถึง 2,008 สาขา หรือเพิ่มขึ้น 54%

“หากไม่วางแผนชะลอการขยายสาขาห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมถึงร้านสะดวกซื้อ อนาคตประเทศไทยจะมีสาขาของค้าปลีกต่างชาติเข้าไปตั้งทุกหนทุกแห่ง ผูกขาดทั้งบนและล่าง ฮั้วกันทำกำไร ทำลายร้านค้าเล็ก ผู้ประกอบการอิสระจะไม่มีเหลือ” ว่าที่ ร.อ. จิตร์ กล่าว และยังชี้ว่า ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ต่างควบคุมการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติเพื่อปกป้องผู้ประกอบการในชาติ มีเพียงไทยเท่านั้นที่ปล่อยอิสระ (ดูรายละเอียดในตาราง)

เขายังชี้ว่า การเร่งขยายสาขามีความหมายถึงการเพิ่มกำไร ลดต้นทุน เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และยิ่งเพิ่มสาขามากขึ้นเท่าใดก็จะสามารถเพิ่มรายได้ช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่การขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งการสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ สร้างความคุ้มค่าการลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าและเทคโนโลยีที่ลงไป

ส่วนเล่ห์เหลี่ยมหรือกระบวนการประกอบการค้าที่ไม่เป็นธรรมทำลายร้านเล็กให้ล้มหายตายจากนั้น กลุ่มค้าปลีกต่างชาติจะใช้วิธีการขายสินค้าต่ำกว่าทุน (ในบางสินค้าและจำกัดจำนวนซื้อ) เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาภายในห้างให้มากที่สุด ขณะเดียวกันทางห้างก็สามารถใช้ปริมาณลูกค้าไปต่อรองในการสร้างรายได้อื่นๆ ที่มากกว่ารายได้จากการขายสินค้าที่ซื้อมา - ขายไป

นอกจากนั้น ยังทำสัญญาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้ยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมทางการค้าดังเช่นที่ปฏิบัติในประเทศแม่ เช่น กรณีแมคโคร ถมที่และสร้างห้างขวางทางระบายน้ำท่วมในจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

อนึ่ง เมื่อต้นปี 2550 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล และศูนย์วิจัยพฤติกรรมบริโภค คณะบริหาธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำรวจและวิจัยผลกระทบจากการเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพฯ โดยสุ่มตัวอย่างจากร้านโชว์ห่วยที่เปิดดำเนินการมา 1 ปีขึ้นไปจำนวน 400 ร้าน พบว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทไฮเปอร์มาร์ท ส่งผลกระทบต่อร้านโชว์ห่วยมากที่สุดร้อยละ 34% รองลงไปเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 26 และซูเปอร์มาร์เก็ต ร้อยละ 14

ผลสำรวจยังระบุว่า ในเขตกรุงเทพฯ ขณะนี้ร้านโชว์ห่วย ต้องเลิกกิจการ คิดเป็นสัดส่วน 40% ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งปิดตัวเองและอีกครึ่งหนึ่งหันไปทำธุรกิจอื่น ส่วนพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากโชว์ห่วยและโมเดิร์นเทรด ขณะนีมีสัดส่วนเท่ากัน 50:50 แต่คาดว่าภายใน 3-5 ปี โมเดิร์นเทรดจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 80%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us