|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 43.4 จากเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 40.7 เนื่องจากการผลิตปรับดีขึ้นตามคำสั่งซื้อในประเทศ และต้นทุนการผลิตปรับลดลง ทำให้ผลประกอบการทางธุรกิจดีขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น จากประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การลงทุนปรับตัวดี
ขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และคาดว่าจะดีขึ้นในระยะต่อไป โดยผู้ประกอบการที่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ ได้แก่ สาขาสาธารณูปโภคและสาขาการเงิน ขณะที่ความเชื่อมั่นของสาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง และสาขาบริการ ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 48.9 ในเดือนกรกฎาคม เป็น 50.2 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นการจ้างงาน ซึ่งเป็นระดับที่มีความเชื่อมั่นสูงกว่า 50 เป็นเดือนแรกในรอบ 6 เดือน โดยผู้ประกอบการสาขาสาธารณูปโภค ขนส่งและคลังสินค้า การเงินและบริการ มีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ รวมทั้งสาขาอุตสาหกรรมและการค้า ส่วนการจ้างงานและการปรับอัตราค่าจ้าง แม้ว่าผู้ประกอบการยังคงรักษาระดับการจ้างงานไว้ในระดับเดิม แต่จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลาต่อวันมีแนวโน้มลดลง โดยสัดส่วนผู้ประกอบการที่ไม่มีการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 36.1% ในเดือนกรกฎาคม เป็น 37.6% ในเดือนสิงหาคม ขณะที่ราคาสินค้า ผู้ประกอบการทั้งในสาขาอุตสาหกรรมและการค้าส่วนใหญ่คาดว่าราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะยังไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย โดยสัดส่วนของผู้ประกอบการที่เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์อยู่ในช่วง 2-4 % เพิ่มขึ้นจาก 64.7 % ในเดือนกรกฎาคม เป็น 65.6% ในเดือนสิงหาคม โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงาน ต้นทุนการผลิตและอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่า เงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะทรงตัวมากขึ้น เนื่องจากมาตรการผ่อนคลายระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินในเดือนกรกฎาคม โดยสัดส่วนผู้ประกอบการที่เห็นว่าค่าเงินบาททรงตัว เพิ่มขึ้นจาก35 %ในเดือนกรกฎาคม เป็น 53.4% ในเดือนสิงหาคมนี้
ขณะที่ภาระดอกเบี้ยและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว โดยสัดส่วนผู้ประกอบการที่ภาระดอกเบี้ยและอัตราดอกเบี้ยในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทรงตัว เพิ่มขึ้นจาก 66.7 % เดือนกรกฎาคม เป็น 71.7 % ในเดือนสิงหาคม และจาก 46.5% เป็น 63 % ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่งเป็นผลของยอดจำหน่ายและการค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ยังกังวลต่อสภาพคล่องในอีก 3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากได้ให้สินเชื่อแก่ลูกค้ามากขึ้น แต่สินเชื่อที่ได้รับจากสถาบันการเงินอยู่ในระดับทรงตัว ส่วนข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจที่สำคัญยังคงเป็นปัจจัยเดิม คือ การปรับราคาสินค้าทำได้ยาก และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
|
|
|
|
|