Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 กันยายน 2550
รายการ“ข่าว”จ่อคิวโดนคุมเรตติ้ง             
 


   
search resources

TV




ผลประเมินการทดลองนำคู่มือการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์เดือนแรกออกมาแล้ว คุณหญิง ทิพาวดี โต้โผใหญ่ ยอมรับอยู่ในระดับที่พอใจ แม้จะมีบางรายการของแต่ละสถานีโทรทัศน์จัดเรตรายการไม่ตรงกัน เชื่อมั่นว่าจะปรับเข้าหากันได้ ล่าสุดชูรายการประเภทข่าว ควรนำเข้าสู่การจัดเรตติ้งด้วย เพื่อความทัดเทียมกันสำหรับผู้ผลิตรายการ พร้อมลดปัญหาการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม ควบคู่จรรยาบรรณวิชาชีพ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการประสานการดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า ผลการประชุมครั้งที่ 4/2550 เมื่อวานนี้ (26 ก.ย.) เป็นเรื่องของผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการทดลองนำคู่มือการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ของการประชุมครั้งที่มี 3-2550 ไปเมื่อวันที่24 ส.ค. 2550 โดยให้แต่ละสถานีโทรทัศน์นำไปทดลองใช้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน และจะมีการประชุมร่วมกันเดือนละ 1 ครั้ง

โดยผลการทดลองนำไปใช้ในเดือนแรก นับตั้งแต่วันที่ 1-21 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นไปด้วยดี ทุกสถานีให้ความร่วมมือ และมีความระมัดระวังในการนำเสนอเนื้อหา แม้ว่าจะมีความคิดเห็นในการจัดเรตติ้งแต่ละรายการไม่ตรงกันบ้างระหว่างแต่ละสถานี กับทางแกนนำเครือข่ายครอบครัวอาสาเฝ้าระวังสื่อ ที่ทางคณะอนุกรรมการฯมอบหมายให้ดูแล เช่น ช่อง 3 จากจำนวนรายการทั้งหมดที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ 27 รายการ มีจำนวนรายการที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ 22 รายการ และที่ต่างกันอยู่ 5 รายการ แต่มองว่าไม่เป็นปัญหาแต่อย่างไร โดยแต่ละสถานีพร้อมที่จะปรับการจัดสัญลักษณ์ให้ตรงกับทางแกนนำเครือข่ายครอบครัวฯได้กำหนดไว้

สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่มีการกำหนดสัญลักษณ์แตกต่างกับทางแกนนำเครือข่ายครอบครัวมากที่สุด คือ ทีไอทีวี จากจำนวนรายการทั้งหมดที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ 13 ช่อง มีเพียง 7 ช่อง ที่มีความคิดเห็นตรงกัน และไม่ตรงกันถึง 6 รายการ เช่น รายการการ์ตูนคลับ สัญลักษณ์จากทางสถานีให้เป็น “ท” แต่ทางเครือข่ายฯให้เป็น “น18” ซึ่งมองว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเป็นสัญลักษณ์รายการที่มีความหมายใกล้เคียงกัน จึงมองว่าการปรับสัญลักษณ์ให้ตรงกันไม่ยากจนเกินไป

อีกทั้งที่ประชุมได้มีมติใช้สัญลักษณ์ใหม่ทุกสถานี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป และคาดว่าทุกสถานีจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้สัญลักษณ์ใหม่ได้ครบทั้งหมดไม่เกินวันที่ 15 ตุลาคมนี้

ด้านนายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย ตัวแทนสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการกำหนดสัญลักษณ์ที่ไม่ตรงกันของช่อง 3 กับทางเครือข่ายฯ ทางสถานีฯพร้อมที่จะแก้ไข แต่มีข้อสงสัยว่าทำไมบางรายการถึงมีแนวความคิดไม่ตรงกัน จึงได้สอบถามไปยังตัวแทนของทางเครือข่ายฯพบว่า ระยะเวลาเพียง 20 กว่าวันที่ผ่านมา ทางเครือข่ายยอมรับว่าเป็นเวลาที่น้อยมาก จึงอาจจะมีการทำงานที่ไม่ละเอียดเท่าที่ควร ดังนั้นจึงขอกลับไปตรวจสอบดูอีกครั้งถึงความเหมาะสมใน 5 รายการที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ไม่ตรงกัน ซึ่งผลออกมาจะเป็นเช่นไร ทางสถานีพร้อมที่จะปฏิบัติตาม

อีกส่วนหนึ่งสำหรับรายการวาไรตี้ อย่าง ตีสิบ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการนำเสนอบางสัปดาห์ที่ไม่ตรงกับสัญลักษณ์ที่จัดไว้ ทางที่ประชุมเสนอว่า ให้คงไว้ที่สัญลักษณ์ “น” หรือ “ท” ก่อน ส่วนหากสัปดาห์ใดมีการนำเสนอเนื้อหาที่อาจจัดอยู่ในประเภท “ฉ” ให้มีการประชาสัมพันธ์ในรายการนั้นต่อไป

ดึงรายการข่าวร่วมวงจัดเรตติ้ง

อย่างไรก็ตาม คุณหญิงทิพาวดี ได้กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ได้นำรายการประเภทข่าวเข้ามาร่วมพิจารณาด้วยว่า ควรที่จะมีการจัดเรตติ้งหรือไม่ เพราะมีรายการประเภทข่าวบางรายการ เช่น ข่าวบันเทิง หากตีความแล้วอาจจะมองว่าเป็นรายการประเภทบันเทิงก็เป็นได้ จึงได้มอบหมายให้ทางคณะอนุกรรมการย่อยนำไปศึกษาหาข้อมูล เพื่อนำมาพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

“เดิมที่ไม่มีการจัดเรตติ้งเกี่ยวกับรายการข่าว เพราะมองว่ารายการข่าวมีเรื่องของระเบียบการควบคุมในการนำเสนอข่าวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจรรยาบรรณวิชาชีพในการนำเสนอข่าว แต่เนื่องจากเห็นว่าผู้ชมเริ่มจดจำรายการต่างๆว่าจัดอยู่ในประเภทใดจากสัญลักษณ์แล้ว จึงน่าจะนำเอารายการข่าวเข้ามาในการจัดเรตติ้งครั้งนี้ด้วย เพื่อความทัดเทียมกันของผู้จัดรายการทุกประเภท โดยมีบรรทัดฐานเดียวกันในการผลิตรายการออกมา”

เบื้องต้น ทางที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ควรที่จะนำเอาระเบียบการควบคุมการนำเสนอข่าวที่มีอยู่แล้วมาไว้รวมกับกับคู่มือฉบับนี้ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีการพิจารณาว่าควรที่จะจัดสัญลักษณ์หรือไม่ ถ้ามี คาดว่าจะเป็น “ท” ซึ่งในรายละเอียดของรายการประเภทนี้ น่าจะช่วยควบคุมการนำเสนอข่าวได้อีกระดับหนึ่ง เช่น ไม่เผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us