|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การเจรจาขายหุ้นของธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน)ACL ระหว่างธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL และพันธมิตรในต่างประเทศจำนวน 19% จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้คือ ธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินการในประเทศจะต้องถือหุ้นธนาคารพาณิชย์ได้เพียงแห่งเดียว เพื่อไม่ให้การดำเนินการขัดแย้งกัน
ส่วนการขายหุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศจะต้องถือหุ้นได้ไม่เกิน 25% ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากธนาคารสินเอเซียต้องการให้ถือได้ไม่เกิน 49% เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์บางแห่ง จะต้องขออนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธปท.จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าการให้ถือหุ้นเกิน 25% แต่ไม่เกิน 49% จะขัดต่อกฎหมายหรือไม่
“ที่ผ่านมาที่ทางการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 25% แต่ไม่เกิน 49% เนื่องจากเป็นการเข้ามาเพื่อฟื้นฟูฐานะของแบงก์และเพื่อให้การดำเนินกิจการของแบงก์พาณิชย์ในประเทศ
สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยในเบื้องต้นต่างชาติที่เข้ามาเจรจากับแบงก์กรุงเทพเพื่อซื้อหุ้นของแบงก์สินเอเซียก็ไม่เกิน 25% สักราย” นายฉลองภพกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างผลักดันพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ... เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ผ่านสนช.ได้การเข้าถือครองหุ้นของธนาคารพาณิชย์ไทยไม่เกิน 49% โดยนักลงทุนต่างชาติคงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด รวมทั้งกรณีของธนาคารสินเอเซีย เพราะในข้อกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องเข้ามาฟื้นฟูสถานะของธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด
นโยบายของกระทรวงการคลังในระยะกลาง ไม่มีความต้องการที่จะถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์จำนวนมาก ซึ่งการที่กระทรวงการคลังและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF)เข้าถือหุ้นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งในปัจจุบันเนื่องจากเป็นการเข้าไปพยุงและฟื้นฟูฐานะของธนาคารพาณิชย์จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมกระทรวงการคลังก็จะขายหุ้นในธนาคารพาณิชย์ที่ถืออยู่ออกอย่างแน่นอน
สำหรับการเข้ามาซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยชาวต่างชาติทั้งหมด ล้วนมีจุดประสงค์เดียวกันคือต้องการมีอำนาจในการบริหารจัดการในธนาคารพาณิชย์เหล่านั้น แต่การที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมเต็ม ที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาให้รอบคอบต่อการเข้ามามีอำนาจควบคุมของต่างชาติว่า จะสามารถสร้างมูลค่าและความแข็งแกร่งให้แก่ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งนั้นๆ ได้หรือไม่
สำหรับ นักลงทุนต่างประเทศที่สนใจซื้อหุ้นสินเอเซีย ICBC จากจีน กับ CIMB จากมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันธนาคารกรุงเทพถือหุ้นสินเอเซีย 19.2% กระทรวงการคลัง 30.6% และสถาบันการเงินต่างประเทศ 21.7%
เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า มีความตั้งใจที่ขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปให้ทันในสิ้นปีนี้ แต่กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกัน หากขายหุ้นไม่ทันสิ้นปี ต้องโดนค่าปรับจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงอยากขายหุ้นออกไปในตลาด
“กรณีของสินเอเซียหรือธนาคารพาณิชย์อื่นๆ หากต่างชาติต้องการเข้ามามีอำนาจควบคุมและบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กระทรวงการคลังและแบงก์ชาติในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแล จะต้องดูความสามารถของต่างชาติที่เข้ามาว่าจะทำได้ดีแค่ไหน ถ้าเข้ามาแล้วทำให้สินเอเซียสถานะย่ำแย่ ก็จะเป็นผลเสียต่อสินเอเซียเอง เรื่องนี้ต้องมีความรอบคอบอย่างมาก เพราะประสบการณ์หลังวิกฤตเศรษฐกิจแบงก์ต่างชาติ ที่เข้ามาถือหุ้นไทยแล้วประสบความสำเร็จก็มีและที่บาดเจ็บกลับไปก็มีหลายรายเช่นกัน” นายฉลองภพกล่าวและว่า เรื่องนี้ต้องทำให้การแข่งขันของระบบธนาคารพาณิชย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนแม่บทสถาบันการเงิน หรือมาสเตอร์ แพลน เฟส 2 ที่ต้องสร้างความเป็นธรรมและหลากหลายให้แก่ผู้ใช้บริการของธนาคารพาณิชย์
นายฉลองภพยังกล่าวถึงกรณีของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB ที่กลุ่ม ไอเอ็นจี กรุ๊ป จากเนเธอร์แลนด์จะเข้ามาว่า กระทรวงการคลังจะใช้หลักเกณฑ์ที่คล้ายๆ กันกับการดำเนินการของธนาคารสินเอเซียอย่างรอบคอบ โดยในขั้นแรกกระทรวงการคลังจะยังคงรักษาสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารทหารไทย ก่อนที่จะทยอยขายในเวลาและในราคาที่เหมาะสมต่อไป
|
|
 |
|
|