Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"ปีเตอร์+สราวุธ ยอมเสี่ยงเพื่อกอบกู้ SVI"             
 


   
search resources

เซมิคอนดัคเตอร์เวนเจอร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล
ปีเตอร์ รอสคัม
สราวุธ มณีเสาวนพ
Electronic Components




ปีเตอร์ รอสคัม กรรมการผู้จัดการคนใหม่ของบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (SVI) ประกาศกลางที่ประชุมบรรดาโบรกเกอร์ว่า "ผมจะไม่มานั่งตรงนี้ หากไม่มีความเชื่อว่าการถอดป้าย SP บริษัทเซมิฯ จะมีขึ้นในเร็ววันนี้"

วันนั้นปีเตอร์พาคณะผู้บริหาร SVI มาแถลงเกี่ยวกับการกอบกู้ผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของบริษัทฯ และเปิดเผยแผนงาน 3 ปี และประมาณงบดุลให้เหล่าโบรกเกอร์ซักถาม ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากโบรกเกอร์พอประมาณ

ปีเตอร์วางจุดยืนของเขาและสราวุธ มณีเสาวนพ รองกรรมการผู้จัดการ-"คู่ใจ" ที่ร่วมงานกันมานานตั้งแต่สมัยที่เข้าไปพัฒนากิจการพัทยาฟู้ดแล้วออกมาฟื้นฟู SVI ว่าเขาสองคนจะมีฐานะเป็นมืออาชีพที่เข้ามากอบกู้กิจการนี้เท่านั้น

"ผมและพรรคพวกมานั่งกัน ณ ที่นี้เพื่อให้พวกคุณประเมินว่า เราสามารถ TURN THE COMPANY AROUND ได้หรือไม่?" นี่เป็นคำประกาศที่ดูราวกับคำท้าทายต่อข่าวด้านลบของ SVI ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลาที่หุ้นตัวนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ปีเตอร์เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมได้รับการทาบทามเข้ามาบริหาร SVI จากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง" เขาหมายถึงธนาคารเอเชียที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของ SVI และพยายามหาทางแก้ปัญหาลูกหนี้รายนี้ในเรื่องของการบริหารและการถือหุ้น

ปีเตอร์และสราวุธมีสัญญาการบริหารงานที่ SVI นาน 3 ปี ตลอดอายุของสัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แม้จะมีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นก็ตามและ สัญญานี้สามารถต่ออายุได้อีก

คนทั้งสองเข้ามาบริหาร SVI ตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2534 ทำหน้าที่แทนเคล้า ชูลส์กรรมการผู้จัดการคนเดิมที่เข้ามาทำงานได้ประมาณ 1 ปีแต่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์บริษัทให้ดีขึ้นได้

ในเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาปีเตอร์ได้ดำเนินการปรับปรุงหลายอย่างตั้งแต่ละจำนวนพนักงานลงประมาณ 650 คน ทบทวนโครงสร้างการผลิตใหม่มีการรวมบางแผนกงานเข้าด้วยกันเพื่อลดขั้นตอนการติดต่อ และมีการจ้างวิศวกรเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง

ทำการจัดระบบการเก็บวัตถุดิบใหม่ ตรวจเช็กทุกเดือน การซื้อวัตถุดิบใช้ระบบรวมศูนย์ มีหน่วยงานจัดซื้อเพียงหน่วยเดียว เจรจาโดยตรงกับผู้ขายโดยไม่ได้ผ่านทางแอพซิลอนที่เป็นบริษัทในเครือและเคยเป็นผู้จัดซื้อวัตถุดิบให้ SVI ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีการเข้มงวดเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นรายเดือนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับประมาณการที่ตั้งไว้ และยังมีการปรับปรุงทางด้านบัญชีโดยเฉพาะเรื่องวิธีคำนวณต้นทุนสินค้า จัดทำประมาณการใช้เงินทุนหมุนเวียน

ว่าไปแล้วการดำเนินงานต่าง ๆ ของปีเตอร์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ยังไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสิ่งที่ชูลส์เคยให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" ฉบับกรกฎาคม 2534 เกี่ยวกับแผนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ใน SVI ที่เขาคิดว่าจะทำแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนักเพราะถูกให้ออกเสียก่อนในเดือนสิงหาคมถัดมา

ปีเตอร์เปิดเผยถึงปัญหาสำคัญของ SVI ที่เกิดขึ้นก่อนที่เขาจะมารับงานว่าอยู่ที่การบริหารงานที่ผิดพลาดของกรรมการชุดก่อน ไม่ว่าจะเป็นกรณี SEAGATE PROJECT ซึ่งเมื่อ SVI ได้ออร์เดอร์มานั้น ไม่ได้มีการประมาณตนว่าสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนขนาดนั้นได้หรือไม่ และเมื่อลงมือทำจริง ๆ ก็ไม่สามารถทำได้ ในที่สุดออร์เดอร์นี้ก็หลุด

หรือการที่ผู้บริหารชุดเก่าบอกกับลูกค้าว่า SVI จะทำการผลิตสินค้าหรือมีผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลัวไปว่า SVI จะทำการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลัวไปว่า SVI จะใช้เทคโนโลยีของเขาไปผลิต

อันที่จริงแล้ว SVI แม้จะเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็เป็นเพียงผู้ประกอบชิ้นส่วนหรือรับจ้างผลิตชิ้นส่วนตามออร์เดอร์ที่ได้รับเท่านั้น (SUBASSEMBLY BUSINESS) ไม่มียี่ห้อทางการค้า (BRAND NAME) เป็นของตนเอง

ปีเตอร์ย้ำว่า "SVI มุ่งเป็นผู้รับจ้างประกอบแผงวงจรไม่ใช่ผู้ผลิตภัณฑ์ของตนเอง"

สราวุธอธิบายเสริมด้วยว่า "พวกลูกค้าจะมีการ SUPPLY วัตถุดิบมาให้ SVI ด้วย และจะบอกหมดว่าให้ SVI ทำสินค้าหรือประกอบอย่างไร บอกมาด้วยว่าจะสร้างสายการผลิตอย่างไร"

แผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ มีอยู่นั้นทำหน้าที่เป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และกำหนดกรรมวิธีการผลิตอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เป็นไปตามที่ลูกค้ากำหนดก่อนที่จะมีการผลิตจริง แผนกฯ ยังจะทำงานร่วมกับลูกค้าในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกรณีที่ลูกค้าไม่มีหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองธุรกิจหลักของ SVI คือการเป็นผู้ประกอบแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งปีเตอร์เปิดเผยว่าจะมีการนำเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า SURFACE MOUNT TECHNOLOGY/SMT คือการติดตั้งอุปกรณ์ บนพื้นแผ่น PRINTED CIRCUIT/PC โดยไม่ต้องเจาะรู แต่ใช้เทคนิคในการเชื่อมหรือบัดกรี

แต่ SVI ก็ให้ความสนใจในตลาดชิ้นส่วนนาฬิกาแขวนและนาฬิกาข้อมือ รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์การบันทึกข้อมูล (TRANSPONDER) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ใช้ฝังในตัวสัตว์เพื่อบันทึกข้อมูลและบัตรประจำตัวเภทต่าง ๆ (SMART CARD) โดยกรรมวิธีการ ประกอบชิ้นส่วนเหล่านี้จะใช้แบบ SMT และ THRU-HOLE

ตลาดประเภทหลังนี้คือ ตลาดสินค้าเครื่องอุปโภคหรือ OEM

ปีเตอร์เปิดเผยว่ามีการจัดตั้งบริษัทเพื่อเป็นตัวแทนด้านการตลาดขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นแหล่งลูกค้าหลักของ SVI โดยเฉพาะในเยอรมนี ฮอลแลนด์และอังกฤษ

รายละเอียดเหล่านี้ความจริงเป็นเรื่องที่ไม่แตกต่างจากแผนงานของชูลส์เลยสักนิดผิดแต่ว่าปีเตอร์อาจจะมีการดำเนินงานไปบ้างแล้ว ขณะที่ชูลส์ไม่สามารถทำกำไรตามที่ COMMIT ไว้เป็นจำนวน 77 ล้านบาทสำหรับปี 2534 ได้

ปีเตอร์และสราวุธมีเวลา 3 ปีในการกอบกู้บริษัทฯ ตามแผนการเดิมที่วางไว้ เขาทั้งสองอาจโชคดีกว่าชูลส์ตรงที่มีเวลามากกว่า

ครั้งนี้คนทั้งสอง COMMIT การขาดทุนสุทธิในปีแรกที่เข้ามาดำเนินงานไว้ที่ 25 ล้านบาท โดยไม่กล่าวถึงผลการขาดทุนดั้งเดิมที่ผ่านมา ขณะที่ในอีก 2 ปีถัดไปจะสามารถทำกำไรสุทธิได้ 25 และ 50 ล้านบาทในปี 2536 และ 2537 ตามลำดับ

ทีมผู้บริหารที่มีหัวหน้าทีมชุดใหม่คือปีเตอร์มีข้อได้เปรียบบางอย่างต่างไปจากสมัยชูลส์เป็นผู้บริหารเป็นต้นว่า เรื่องเครื่องจักรซึ่งมีการลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้วดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแต่บางส่วนยังไม่ได้ใช้ทำการผลิต

ปีเตอร์คาดหมายว่า "SVI จะดำเนินการผลิตได้เต็มความสามารถในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้" ซึ่งมีผลให้เขาคาดหมายว่า SVI จะมีกำไรสุทธิเฉพาะไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ประมาณ 1.4 ล้านบาท

นอกจากนี้ในประมาณการงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินยังปรากฏว่า SVI ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น

ว่าไปแล้วฐานะทางการเงินของ SVI ก็ไม่ใช่จะเลวร้ายจนเกินกว่าจะกอบกู้ขึ้นใหม่ได้ปีเตอร์รับปากว่าหนี้สินจำนวน 76 ล้านบาทที่ค้างชำระมาเป็นเวลานานนั้นจะสามารถเรียกเก็บได้ในเร็ววัน บริษัทฯ จะไม่ตัดเป็นหนี้สูญเด็ดขาด

ปีเตอร์และสราวุธจะสามารถกอบกู้ชื่อเสียงของ SVI กลับคืนมาได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป แม้ว่าคนทั้งสองจะไม่เคยมีประสบการณ์ในตลาดชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาก่อน แต่ต่างมีความชำนาญในการบริหารโรงงานมาเป็นอย่างดี

เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถของคนทั้งสองในครั้งนี้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us