"เราต้องตั้งใจให้ลึกซึ้งว่าทรัพยากร
ป่าไม้นั้นสำคัญต่อพวกเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ให้ความชุ่มฉ่ำต่อแผ่นดิน
และป่าไม้ต้องมีสัตว์เพื่อช่วยในการขยายพันธุ์และสร้างความสมดุลของธรรมชาติ
ส่วนสัตว์ป่านั้นก็ต้องมีแหล่งที่อยู่อาศัย จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์ ป่าไม้
และสัตว์ป่ามีความสัมพันธ์กันอย่างละเอียดลึกซึ้งจนไม่สามารถจะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปได้?
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในหนังสือ Wildlife in the
Kingdom of Thailand
ขณะที่มนุษย์ก้าวเข้าสู่ปี 2000 (2543) โลกได้สูญเสียพื้นที่ พืชพรรณและสัตว์ป่าที่อยู่อาศัยในป่าไปอย่างมหา
ศาลเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของพลเมืองโลก
รวมทั้งมุ่งประเด็นไปในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนละเลยเรื่อง ระบบนิเวศธรรมชาติ
ผลการวิจัยที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าในปัจจุบันมีการทำลายป่าไม้ในเขตร้อน พื้นที่ขนาดเท่าสวนสาธารณะในกลางกรุงนิวยอร์กทุกๆ
1 นาที พื้นที่ขนาดเท่าเมืองนิวออรีนทุกเดือน และพื้นที่ขนาดเท่ากับเกาะอังกฤษทุกปี
ป่าไม้ถูกตัดโค่นเพื่อเอาไม้ ที่ดินถูกบุกรุกเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์ ทำเรือกสวนไร่นา
หาอาหารและสร้างบ้านเรือน เมื่อใดที่มีการตัดไม้ทำลายป่าทำให้มีผลกระทบต่ออากาศ
ฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงเพิ่มอากาศเสียกลายเป็นสภาวะเรือนกระจกขึ้นในชั้นบรรยากาศ
ความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศนี้ทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ตามมา
โดยทั่วไปเป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์ คือผู้ชี้ชะตาและรับผิดชอบต่อการทำลายป่าไม้และบรรยากาศที่กำลังเกิดขึ้น
ซึ่งก็รวมถึงชาวไทยและประเทศไทยด้วย มนุษย์เราเป็น "ผู้กำหนดจุดจบของธรรมชาติ?
โดยการทำลายป่าทั้งภายนอกและภายในป่ารวมไปถึงอุทยานแห่งชาติ การทำลายสัตว์
ตลอด จนการสร้างสถานที่พักตากอากาศ สนาม กอล์ฟ ปัญหาในการปลูกป่า ล้วนเป็นผู้สร้างความขมขื่นให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติ
อนาคตของโลกดูเปราะบางลงทุกวัน และมีแนวโน้มจะมีมากขึ้นจนไม่อาจหวนกลับมาสู่ภาวะปกติได้
ดังนั้น มนุษย์จึงเผชิญอยู่กับอันตรายตลอดเวลา การทำลายพรรณพืชและสัตว์ป่าของคนรุ่นก่อนมีผลร้ายแรงต่อคนรุ่นต่อไปนับพันปีในอนาคต
การกระทำย่อมมีผลกระทบต่ออากาศ แผ่นดิน และชีวิตของคนทั่วโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 75% ของพื้นที่ทั้งหมด
เพียง 50 ปีให้หลังประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เพียง 20% พื้นที่และสัตว์ป่าหลายชนิดได้สูญสิ้นไปพร้อมกับป่าเหลือ
ให้เห็นเพียงภาพถ่าย ภาพเขียนหรือในหนังสือเท่านั้น
มนุษย์กำลังอยู่ระหว่างทางข้ามของการศึกษาและความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีชีวิตรอบตัวซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพิทักษ์รักษาป่าไม้และสัตว์ป่านี้ยังเหลืออยู่ให้รอดชีวิตสืบไป
เราจำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยภาพถ่ายธรรมชาติตามความเป็นจริง ตลอดจนการสื่อสารทันสมัยอื่นๆ
เพื่อให้คนที่ไม่มีโอกาสได้มองเห็นความงดงามของโลกธรรมชาติ
การเดินทางเพื่อชมธรรมชาติของ ประเทศไทยด้วยภาพถ่ายจากหนังสือเล่มนี้ให้ความเพลิดเพลิน
เกิดจินตนา การเสมือนว่าตนเองอยู่ในสถานที่ตามภาพถ่ายนั้น ทำให้มองเห็นความงดงามของธรรมชาติรอบตัว
ภาพถ่ายเหล่านี้แสดงความงดงามในตัวเอง การตีความหมายของภาพถ่ายขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง
Wildlife in the Kingdom of Thailand เป็นหนังสือที่นักถ่ายภาพอิสระชาวอเมริกัน
แอล.บรู๊ซ เคคูลี่ (L. Bruce Kekule) รายงานด้วยภาพถ่ายของชีวิตสัตว์ป่าและเป็นการเดินทางเข้าสู่อาณาจักรของโลกธรรมชาติด้วยกล้อง
และฟิล์มถ่ายรูปเพื่อบันทึกความทรงจำของผืนป่าเล็กๆ ในประเทศไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผืนป่าอันกว้างใหญ่
ความสนใจของเคคูลี่เกิดขึ้นเมื่อเดินทางเข้ามาประเทศไทยพร้อมบิดาเพื่อมาทำธุรกิจไม้แกะสลักที่
จ.เชียงใหม่ เมื่อปี 1964 ชีวิตของเขาจึงวนเวียนอยู่กับธรรมชาติและส่วนตัวชอบการท่องเที่ยว
ความคิดที่จะเป็นนักถ่ายภาพจึงเริ่มก่อตัวขึ้น
"ที่สำคัญผมสังเกตเห็นสัตว์ป่าในเมืองไทยเริ่มลดน้อยลงจึงคิดว่าน่าจะทำหนังสือเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่า
ขณะนั้นเมืองไทยยังไม่ค่อยมีหนังสือประ-เภทนี้มากนัก จะมีเฉพาะในรูปของหนังสือเรียนเท่านั้น?
เคคูลี่ กล่าว
อย่างไรก็ตามช่วงกลางทศวรรษ 1980 แนวความคิดดังกล่าวเป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้น
กว่าจะเป็นจริงเป็นจังก็ล่วงเลยมาถึงปี 1995 เมื่อเคคูลี่ตัดสินใจซื้อกล้องนิคอนและเริ่มต้นเดินทางเก็บภาพสัตว์ป่า
สถานที่ใช้ถ่ายรูปล้วนเป็นสถานที่ที่เป็นพื้นที่ป่าสำคัญของไทยที่เลือก
สรรแล้วคือ วนอุทยานแห่งชาติ 2-3 แห่ง เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่ห้ามล่าสัตว์
ซึ่งใช้เวลาถึง 4 ปี และใช้ฟิล์มไปมากกว่า 1,000 ม้วนในการถ่ายภาพสัตว์ป่าที่ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้
"จากการเรียนรู้โดยการออกพื้น ที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับรู้ถึงลักษณะนิสัยและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ
จึงเป็นปัจจัยของความสำเร็จของภาพถ่ายที่สมบูรณ์พร้อมทั้งเวลาและสถานที่
สัตว์ป่ากลัวคน ปัญหาของสัตว์ป่าที่สำคัญคือ มนุษย์? ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก
มนุษย์เราควรเก็บพวกมันไว้เป็นสมบัติเพียงรูปถ่ายในชีวิตที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ
ของพวกมันเท่านั้น? เคคูลี่ กล่าว
ตามความคิดของเคคูรี่สัตว์ป่าในเมืองไทยยังมีเหลืออยู่อีกมาก "แต่ลดน้อยลงถ้าคนไทยไม่ช่วยกันรักษา?
เนื่องจากในปัจจุบันคนไทยกว่า 90% คิด ว่าสัตว์ป่าหมดไปแล้ว อีก 10% มองว่าเหลือน้อยเต็มที
ดังนั้น Wildlife in the Kingdom of Thailand จะบอกให้รู้ว่า สัตว์ป่าในเมืองไทยมีมากน้อยแค่ไหนและจะรักษาได้อย่างไร
"ความหวังของผมคือการเพิ่มจิตสำนึกของคนไทยที่มีต่อสัตว์ป่า เพราะหนังสือเล่มนี้ช่วยให้คนมีความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น
และอยากให้คนไทยหันมาช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าซึ่งถือว่าเป็นหน้าตาของเมืองไทยอย่างหนึ่ง?
Wildlife in the Kingdom of Thailand คือหนังสือที่บอกให้รู้ว่าเมืองไทยยังมีดีอยู่อีกมาก
ทั้งพรรณพืชและสัตว์ป่าที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเคคูลี่กำลังจุดประกายในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าผ่านภาพถ่าย
ดังนั้นควรร่วมมือกันปกปักรักษาส่วนเสี้ยวที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดในปัจจุบันให้คงอยู่
ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง แต่เพื่อทุกๆ คน