Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"ชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง ทายาทรุ่นที่สามของศรีเฟื่องฟุ้ง"             
 

 
Charts & Figures

ผู้ผลิตกระจกและกำลังผลิต


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท กระจกไทยอาซาฮี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

กระจกไทยอาซาฮี, บมจ.
ชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง
Glass




หลังการมรณะกรรมของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ภารกิจดูแลรักษาอาณาจักรธุรกิจอันยิ่งใหญ่ในบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีได้ตกอยู่กับชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง ทายาทคนโตที่เพิ่งขึ้นมาเป็นกรรมการอำนวยการแทนสมบัติ พานิชชีวะตั้งแต่การปรับโครงสร้างการบริหารระดับสูงกลางปีที่แล้ว

การเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทครั้งนั้นเป็นการผ่องถ่ายอำนาจการบริหารจากเกียรติสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยชัยคีรีได้ถูกคาดหวังให้ดำเนินบทบาทสำคัญนี้สืบต่อไป

"หลังจากที่มีการปรับโครงสร้าง ท่านได้วางไว้แล้วว่าให้คุณสมบัติเป็นประธานกรรมการและคุณชัยคีรีเป็นกรรมการอำนวยการในกระจกไทย-อาซาฮี คุณชัยนรินทร์ไปดูแลด้านธนาคารมหานครส่วนคุณชัยณรงค์จะอยู่ในโรงงานบางกอกโฟลทกลาส" วิฑูร เตชะทัศนสุนทร ลูกหม้อเก่าที่ทำงานกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเล่าให้ฟัง

ไม่ต่ำกว่าสามทศวรรษตั้งแต่ดำเนินธุรกิจผูกขาดในปี 2506 เกียรติประสบความสำเร็จอย่างสูงกับผลดำเนินงานของกระจกไทย-อาซาฮี และได้สร้างรากฐานอันมั่นคงแก่ลูกหลานไว้แล้ว

ภารกิจข้อหนึ่งของชัยคีรีคือ การแตกกิจการอุตสาหกรรมกระจกให้ครบวงจรอย่างสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสายการผลิตและจัดจำหน่ายเพื่อรักษาสถานภาพความเป็นยักษ์ใหญ่ผู้นำต่อไป

ปัจจุบันด้านวัตถุดิบ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทรายแก้ว จ. ระยอง หินโดโลไมท์จากกาญจนบุรีและหินฟันม้าจากตากส่วนที่เหลือ 20% คือโซดาแอซและโซเดียมซัลเฟตที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ส่วนของการผลิตบริษัทกระจกไทย-อาซาฮี มีโรงงาน 3 แห่ง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 168 ไร่ ที่สมุทรปราการ

โรงที่หนึ่ง-ผลิตกระจกชีทมีกำลังการผลิต 1,277,500 หีบต่อปี (หยุดการผลิต)

โรงที่สอง-ผลิตกระจกชีทมีกำลังการผลิต 600,000 หีบต่อปี

โรงที่สาม-ผลิตกระจกโฟลทมีกำลังผลิต 3,500,000 หีบต่อปี

นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตกระจกเงา 5,400,000 ตร. ฟุต/ปี และผลิตกระจกสะท้อนแสง 725,760 ตร. ฟุต/ปี รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่นกระจกนิรภัย (บริษัทไทยเซฟตี้กลาส) กระจกเงา กระจกแกะสลักลวดลาย และกระจกเทียม (บริษัทไดอะกลาส)

ส่วนด้านการจัดการด้านการตลาดสินค้าก็มีการแยกตั้งเป็นบริษัทใหม่ชื่อ "บริษัทกลาสเวย์" จัดการด้านตลาดสินค้ากระจกแปรรูป และอุปกรณ์เกี่ยวกับกระจก รับเหมาติดตั้งกระจก รวมทั้งนำเข้าและส่งออกกระจก

โครงการจัดตั้งคลังสินค้าในเขตภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อกระจายสินค้าอย่างสะดวกรวดเร็วก็เป็นโครงการหนึ่งที่ผู้บริหารบริษัทได้เร่งสร้างขึ้นให้ครบ 4 ภาค คือคลังสินค้าที่เชียงใหม่และพิษณุโลก กับอีกสองแห่งที่เสร็จแล้วคือขอนแก่นและหาดใหญ่

การขยายธุรกิจเข้าไปในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้กระจกเป็นวัตถุดิบ ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของชัยคีรีที่จะทำ เช่นโครงการกระจกนิรภัยสำหรับอาคารสูง ซึ่งบริษัทได้ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยล้านบาท

ในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตเกียรติ ความเปลี่ยนแปลงจากนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบต่อการผูกขาด และสายสัมพันธ์ทางการเมืองที่เคยมีมาเมื่อทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้เกิดสภาพการแข่งขันขึ้นด้วยการอนุญาตให้เปิดเสรีโรงงานกระจกได้

ยุคใหม่ภายใต้การนำของชัยคีรี จึงต้องเผชิญการท้าทายจากยักษ์ใหญ่รายใหม่ "บริษัทสยามการ์เดียน" ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทปูนซิเมนต์ไทยกับบริษัทการ์เดียนอินดัสทรีแห่งสหรัฐอเมริกา

สงครามทางการค้าได้ขยายสนามรบสู่ภูมิภาคที่กว้างขวางและยกระดับเวทีการต่อสู้สู่ระดับโลก แรงกดดันย่อมทบทวีเป็นอนันต์ ดูได้จากกรณีการเกิดสยามการ์เดี้ยนในประเทศไทยที่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณถูกแรงบีบจากพระราชบัญญัติการค้าของสหรัฐฯ มาตรา 301

นี่คือการบ้านข้อหนึ่งที่ชัยคีรีต้องคิดวางแผนให้รอบคอบ เพราะในสภาพการแข่งขันและกำลังผลิตในปีนี้จะทบทวีคูณ (ดูจากตารางประกอบ) หลังจากสยามการ์เดียนเดินเครื่องผลิตในอนาคตได้และทุ่มตลาดในประเทศได้ครึ่งหนึ่งของกำลังผลิตนับ 131,400 ตัน/ปี ย่อมหมายความว่า ศึกหนักอกของชัยคีรีภายใต้แรงกดดันนี้ต้องมีทางออกที่ดี

ทางออกหนึ่งที่เกียรติได้ทำไว้คือ การซื้อกิจการบริษัทบางกอกโฟลทกลาสจาก "ตังน้ำ" เจ้าของเดิมที่เป็นเอเยนต์ใหญ่ของกระจกไทย-อาซาฮีซึ่งถือว่าเป็นการรุกก้าวทางธุรกิจกระจกอีกก้าวหนึ่ง ที่จะต้านแรงบีบจากสยามการ์เดียน เนื่องจากได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอในโครงการผลิตกระจกโฟลทกลาสเท่ากับกำลังผลิตของสยามการ์เดียนคือ 131,400 ตัน/ปี และมีแผนในอนาคตที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก่อนหน้าที่จะสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากบีโอไอจะหมดภายใน 6 ปีนี้

แต่การบริหารงานบางกอกโฟลทกลาสได้มีความพยายามแยกเป็นอิสระ ภายใต้การนำของชัยณรงค์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ซึ่งต้องลาออกจากกระจกไทย-อาซาฮี

"เรามีนโยบายเด็ดขาดที่จะแยกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านคณะกรรมการหรือผู้บริหารในทางธุรกิจกระจกไทย-อาซาฮี กับบางกอกโฟลทกลาสคือคู่แข่งซึ่งกันและกัน แม้จะมีผู้ถือหุ้นคล้ายกัน เพียงแต่การแข่งขันอาจจะไม่รุนแรงถึงขั้นขัดแย้ง เพราะถ้าถึงจุดนั้นเราจะนั่งจับเข่าคุยกัน" ชัยคีรีเล่าให้ฟัง

สายสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวที่กระจายความรับผิดชอบแผ่ขยายอาณาจักรธุรกิจในหมุ่สามพี่น้องที่มีชัย คีรีเป็นพี่ใหญ่คอยประสานความคิดและผลประโยชน์ ย่อมเป็นการบ้านที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งตั้งใจจะให้ชัยคีรีก้าวรุกไปข้างหน้าต่อไป เพื่อแผ่ขยายอาณาจักรธุรกิจให้ครบวงจรได้ในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us