Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"ได้เปรียบต้นทุน อีก 5 ปีบางจากฯ ขอแชร์ตลาด 6%"             
 


   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
สุมิตร ชาญเมธี
Oil and gas




บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (บางจาก) ในปัจจุบันได้กลายเป็นดาวดวงใหม่ในวงการน้ำมันที่ทอแสงเจิดจ้าขึ้นทุกขณะจากที่เคยทำธุรกิจเฉพาะ การกลั่นก็ขยายสู่ตลาดค้าปลีกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

"ปี 2535 เป็นต้นไป เราจะรุกอย่างรวดเร็ว" สุมิตร ชาญเมธี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บางจากฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงทิศทางการตลาด ค้าปลีกว่าจะเข้าร่วมวงไพบูลย์กับผู้ค้ำน้ำมันรายใหญ่ 4 ราย ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เชลล์ เอสโซ่และคาลเท็กซ์ กระทั่งรายใหม่อย่างบีพี คิว-8

บางจากฯ ถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีโครงสร้างการบริหารในรูปแบบบริษัทที่มีกิจการโรงกลั่นถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง ปตท. และธนาคารกรุงไทย จึงเป็นโรงกลั่นแห่งเดียวที่เป็นของคนไทย 100% ต่างกับโรงกลั่นไทยออยล์ซึ่งมีเชลล์ คาลเท็กซ์ ร่วมทุนหรือเอสโซ่ก็เป็นของเอสโซ่โดด ๆ

ความเป็นโรงกลั่นของคนไทยนับเป็นจุดขาย และจุดเด่นของบางจากฯ ดังที่ผู้บริหารที่นี่จะยกกล่าวอยู่เนือง ๆ ขณะที่ตลาดค้าน้ำมันมักจะเป็นผู้ค้าบริษัทน้ำมันต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่

ตรงนี้จึงเป็นช่องว่างในแง่จิตวิทยาทางการตลาดว่า ในเวทีตลาดน้ำมันยังไม่มีบริษัทน้ำมันของคนไทยอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมี ปตท. เป็นเครื่องมือและกลไกของรัฐในเรื่องน้ำมันอยู่แล้วก็ตาม แต่สภาพที่ ปตท. ไม่มีโรงกลั่นและอยู่ภายใต้โครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ถึงจะมีการผ่อนปรนระเบียบที่บังคับใช้ และ ปตท. ถือหุ้นในบางจากฯ ด้วยก็ตาม ทว่า..ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 องค์กรนี้อยู่เป็นระยะเสมอ

ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น บางจากฯ จึงเข้าสู่ตลาดค้าปลีกได้อย่างชอบธรรม

จะเห็นว่าบางจากฯ ได้เริ่มแผนประชาสัมพันธ์ด้านตลาดผ่านสื่อทุกชนิดว่าน้ำมันที่บางจากฯ ขายว่าเป็น "คุณภาพตรงจากโรงกลั่น" และเป็น "บริษัทน้ำมันของคนไทย" จนเป็นที่คุ้นเคยของผู้คนดี เมื่อปลายปีที่แล้ว บางจากฯ จึงเริ่มตั้งปั๊มน้ำมันโลโก "บางจาก" อย่างสมบูรณ์เป็นปั๊มแรก ซึ่งเป็นปั๊มของทหารอากาศ โดยมี พล. อ. อ. เกษตร โรจนนิลเป็นประธานเปิด

สุมิตรกล่าวว่ารูปธรรมที่เกิดขึ้นถือว่าบางจากฯ ทำในสถานะที่เป็นกลไกด้านตลาดของรัฐและบางจากฯ จะปฏิบัติใน 2 ทิศทาง คือ เป็นบริษัทคนไทยที่เข้าไปมีบทบาทแข่งขันเรื่องน้ำมันของประเทศในระดับที่จะมีส่วนครองตลาดเกิน 10% ในระยะยาวเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและเป็นกลไกเสริมตลาดให้บริษัทเอกชนไทยมีส่วนครองตลาดมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่ง 91% จะเป็นตลาดของผู้ค้ารายใหญ่และผู้ค้าต่างประเทศ

แต่ถ้าดูส่วนครองตลาดขณะนี้ ปตท. ครองตลาดน้ำมันเป็นที่ 3 รองจากเอสโซ่และเชลล์ในระดับ 20% เศษ

นับแต่นี้ไป การกระจายสัดส่วนตลาดจะเป็นเป้าหมายของบางจากฯ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่จำเป็นก็คือ "การกระจายสู่คนจน และเกษตรกร หรือปั๊มน้ำมันเกษตร ด้วยการดึงสหกรณ์การเกษตร ที่มีอยู่ 1,400 แห่งทั่งประเทศเข้ามาขายน้ำมันเพื่อสมาชิกของตนตลาดส่วนนี้จะใช้น้ำมันปีละ 800 ล้านลิตรหรือประมาณ 3% ของทั่วประเทศ" สุมิตรกล่าวถึงแผนกระจายตลาดน้ำมันสู่ชนบท ขณะนี้ทำไปแล้ว 22 แห่ง และปีนี้จะทำให้ได้อีกประมาณ 100 แห่ง

วิธีการก็คือ ติดต่อแต่ละจังหวัด ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วยและตกลงจะทำ ก็จะทำพร้อมกันทั้งจังหวัด

ส่วนที่ 2 คือตลาดปั๊มน้ำมันทั่วไป หรือปั๊มโลโกบางจากรูปใบไม้นั่นเอง

"ปั๊มบางจากที่เปิดไปแล้วคือที่ดอนเมือง ที่อยุธยา 2 แห่ง ลพบุรีและนครปฐม จังหวัดละหนึ่งแห่ง และจะสร้างปั๊มตัวอย่างที่ลงทุนเองทั้งหมดบริเวณหน้าโรงกลั่นให้เป็นต้นแบบของปั๊มบางจากทั่วไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในเร็ว ๆ นี้" สุมิตรกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดค้าปลีก

ทั้งนี้ ตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้จะสร้างปั๊มอีก 50 แห่ง และทยอยสร้างให้ครบ 400 แห่งในอีก 5 ปีหรือประมาณปี 2539

สุมิตรวาดหวังว่าเมื่อครบ 400 แห่ง บางจากฯ จะมีส่วนครองตลาดประมาณ 10% ของตลาดค้าปลีก หรือประมาณ 10% ของตลาดค้าปลีก หรือประมาณ 6% ของตลาดน้ำมันทั้งประเทศ ถ้ารวมส่วนของตลาดเพื่อเกษตรกรอีก 1% ก็จะเป็น 7% ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมกลยุทธ์เพื่อเดินสู่เป้าหมาย

นอกจากนี้ บางจากฯ ยังได้ออกผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นสำหรับรุกตลาดอย่างครบวงจรเรียกว่า "บางจากกรีน่า" คือ

กรีน่า ดี-วัน น้ำมันเครื่องดีเซลสูตรพิเศษเกรดรวม SAE 15 W-40 ใช้สำหรับงานหนักอย่างรถบรรทุก

กรีน่า ดี-ทู น้ำมันเครื่องดีเซลสูตรมาตรฐาน ผสมสารเพิ่มคุณภาพ เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับเครื่องยนต์ใช้งานหนักทุกประเภท

กรีน่า ทู-ที โลว์สโมคน้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะ ผสมสารสังเคราะห์ PIB ใช้ลดควันขาว

กรีน่า จี-อี น้ำมันเครื่องเบนซินเกรดรวม SAE 20 W-50 ซึ่งจะทนแรงกดดันและอุณหภูมิสูง ๆ ของไทยได้ดี

บางจากฯ ใช้สโลแกนเปิดตัวน้ำมันเครื่องเหล่านี้ว่า "รู้จักเมืองไทย รู้ใจคนขับ" โดยเริ่มวางตลาดตามปั๊มน้ำมันบางจากทุกแห่งและร้านค้าทั่วไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ภาพลักษณ์เหล่านี้คือความเคลื่อนไหวที่บางจากฯ ประกาศให้รู้ว่าตนเริ่มลงสู่ตลาดค้าปลีกอย่างเต็มตัวแล้ว

เป้าหลักที่ต้องการก็คือ "การกระจายส่วนครองตลาดจากผู้ค้ารายใหญ่ 4 รายไปสู่รายอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันในระบบราคาน้ำมันลอยตัวเป็นเรื่องจำเป็นและควรจะมีผู้ค้ารายใหญ่ที่มีส่วนครองตลาดไม่น้อยกว่า 10% ต่อราย หรือทั้งหมดประมาณ 8 ราย เพื่อว่าจะได้มีการแข่งขันในเรื่องราคามากขึ้น จะไม่มีใครกำหนดอะไรได้ตามใจชอบ และด้านความมั่นคงในการจัดหาก็จะมากขึ้น" สุมิตรฉายภาพตลาดในอุดมคติโดยบางจากฯ จะเป็นแหล่งผู้ค้าให้กับบริษัทต่างชาติและคนไทยรายใหม่

ที่สำคัญ บางจากฯ จะเป็นหนึ่งในผู้ค้ารายใหญ่ คือครองตลาด 10% ขึ้นไปในระยะยาว แต่ในระยะ 5 ปีนี้ ขอแค่ 6% ก็พอใจ

อย่างไรก็ตาม บางจากฯคงต้องใช้ความพยายามและเวลาในการพิสูจน์สมมุติฐานและฝันใหม่ที่ถักทอขึ้นมาอย่างมากทีเดียว…!

ด้วยเหตุว่า ในแง่ของการแข่งขันเสรีเต็มตัวแล้ว "คงไม่อาจไปกำหนดให้ผู้ค้าแต่ละรายมีส่วนครองตลาดในปริมาณที่เท่า ๆ กันได้ แต่จะขึ้นกับฝีมือและความสามารถในการรุกตลาดของแต่ละบริษัท" แหล่งข่าวระดับสูงวงการน้ำมันตั้งข้อสังเกต

"เพราะขณะนี้บางจากฯ ยังเพิ่งจะเริ่มต้นในตลาดค้าปลีกยังไม่ต้องลงทุนในเรื่องของคนและเครื่องมือที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะเกิดขึ้นกับบางจากฯ เมื่อทำตลาดค้าปลีกในปริมาณมาก และไม่น่าที่จะทำให้บางจากฯ ขายน้ำมันถูกกว่ารายอื่นถึงลิตรละ 10-20 สตางค์ได้ตลอดไป ที่ทำได้ตอนนี้เพราะโรงกลั่นบางจากไม่ต้องเสีย 2% ของรายได้แก่รัฐเหมือนโรงกลั่นอื่น นับเป็นจุดที่ถัวต้นทุนกันได้"

วันเวลาคงจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าบางจากฯ จะเดินไปถึงเป้าหมายได้อย่างภาคภูมิใจหรือไม่ ..!?!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us