Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ไทม์ วอร์เนอร์             
 

   
related stories

เอโอแอลผนวกไทม์ วอเนอร์ เครือข่ายการตลาดจัดจำหน่ายและเนื้อหาสื่อ
เอโอแอล

   
search resources

Time Warner




ไทม์ วอร์เนอร์ อิงค์. (Time Warner Inc.) เป็นกิจการที่เกิดจากการ ควบกิจการระหว่างไทม์ อิงค์. (Time Inc.) และ วอร์เนอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Warner Communications) เมื่อปี 1989 ต่อมาในปี 1992 ก็สร้างกิจการ ไทม์ วอร์เนอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Time Warner Entertainment-TWE) หลังจากร่วมธุรกิจกับธุรกิจสวนสนุกอีก หกแห่ง ที่ได้ซื้อกิจการเข้ามาในเครือ ตามลำดับ โดยที่มีโตชิบา คอร์ปอเรชัน (Toshiba Corporation) และ อิโตชู (ITOCHU) ถือหุ้นบริษัทละ 6% และทั้งสองบริษัทก็ยังถือหุ้นอีกบริษัทละ 25% ในกิจการ "ไทม์ วอร์เนอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ แจแปน" ด้วย

ในปี 1993 ยูเอส เวสต์ ได้ซื้อหุ้น 25% ในกิจการดับบลิวอี เป็นมูล ค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ โดยไทม์ วอร์เนอร์หวัง ที่จะได้เทคโนโลยีด้านการ สื่อสารจากยูเอส เวสต์ แต่ความร่วมมือดังกล่าวไม่บรรลุผล เพราะหลังจากนั้น เพียงปีเดียวทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีความเห็นไม่ลงรอยกันเมื่อไทม์ วอร์เนอร์ ต้องการกอบกู้ธุรกิจ "วอร์เนอร์ บราเดอส์" และ "เอชบีโอ" เพียงลำพัง โดยให้ ยู เอสเวสต์ดูแลเฉพาะธุรกิจด้านเคเบิลเท่านั้น

ทีดับบลิวอีเข้าสู่ธุรกิจเคเบิลทีวีด้วยการร่วมทุนกับ "แอดวานซ์ พับลิเคชันส์ แอนด์ นิวเฮ้าส์ บรอดแคสติง" (Advance Publications and Newhouse Broadca sting) ในปี 1995 และได้ขายหุ้น 51% ของกิจการสวนสนุกให้กับบอสตัน เวนเจอร์ กรุ๊ป เป็นมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์บวกกับหนี้ สินอีก 800 ล้านดอลลาร์ ไทม์วอร์เนอร์สบโอกาสเป็นธุรกิจด้านสื่ออย่างเต็มตัวอีกครั้งเมื่อโตชิบา และอิโตชูยอมแลกหุ้นของทีดับบลิวอี ที่ถืออยู่กับหุ้นของ ไทม์วอร์เนอร์

ปี 1995 ไทม์ วอร์เนอร์ประกาศว่าจะซื้อกิจการ "เทอร์เนอร์ บรอดคาสติง ซิสเต็มส์" (ทีบีเอส) และปรับโครงสร้างกิจการด้านบันเทิง ที่มีอยู่ ต่อมา ไทม์ วอร์เนอร์ก็ซื้อกิจการทีบีเอสไว้ในเครือแทน ที่จะให้เป็นของทีดับบลิวอี ทำให้ยูเอสเวสต์ฟ้องไทม์ วอร์เนอร์ เพื่อขัดขวางการซื้อกิจการ และปรับโครงสร้าง แต่ไทม์วอร์เนอร์ก็ฟ้องกลับว่ายูเอสเวสต์ล้มเหลวกับการปรับปรุงระบบ เคเบิลของทีดับบลิวอี และยืนกรานว่าบริษัทมีสิทธิ ที่จะปรับโครงสร้างกิจการได้

ปี 1996 ศาลสหรัฐฯ ปฏิเสธคำฟ้องของยูเอสเวสต์ ปลายปีนั้น เองไทม์ วอร์เนอร์ ก็บรรลุข้อตกลงซื้อกิจการทีบีเอส และสามารถให้บริการผ่านอิน เตอร์เน็ตโดยร่วมทุนกับ "โรด รันเนอร์" (Road Runner) ด้วย ต่อมาทีดับ บลิวอีประกาศผนวกกิจการ "โรดรันเนอร์" เข้ากับ "มีเดียวัน เอ็กซเพรส" ของยู เอส เวสต์ ทำให้เป็นธุรกิจออนไลน์แบบบรอดแบนด์ (broadband รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ )

เมื่อ "อเมริกัน ออนไลน์" เข้าซื้อกิจการ "ไทม์ วอร์เนอร์" แล้ว กิจการทีดับ บลิวอีก็จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "เอ โอแอล ไทม์ วอร์เนอร์"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us