|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"ประกันภัยศรีเมือง" เห็นสัญญาณรถใหม่ป้ายแดงยอดขายสะดุด ต้องหันมาสร้างสัมพันธ์กับ "ตัวแ ทน" ขยายพอร์ตรถเก่าแทน ขณะที่ฐานลูกค้าแดนปลาดิบชะลอลงทุนเพิ่ม การเติบโตจึงต้องพึ่งพาลูกค้าท้องถิ่นเป็นหลัก ยืนหยัดสร้างอาณาจักรแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับหลบเลี่ยงแรงปะทะจากสงครามหั่นราคาเบี้ยรถยนต์ ที่ทำให้เกิดผลเสียมากกว่า...
ประกันภัยศรีเมือง ในร่างของ "โตเกียว มารีน แอนด์ ไฟร์" ธุรกิจประกันวินาศภัย เบอร์หนึ่งจากเกาะญี่ปุ่น เริ่มต้นเปิดตัวให้ลูกค้าท้องถิ่นได้รับรู้จากการประกาศ "รีแบรนดิ้ง" อย่างเอิกเกริกเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ถึงวันนี้ชื่อของศรีเมืองฯก็ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ช่วง 2 ปีแรก นอกจากการจับพอร์ตลูกค้าค่ายรถรถญี่ปุ่นและซัพพลายเออร์สายเลือดเดียวกันเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูง ศรีเมืองฯก็เริ่มจะขยายสาขาสำหรับพอร์ต ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ส่วนใหญ่จะหนักไปทางรถใหม่ป้ายแดงมากกว่ารถเก่า
สัดส่วนประกันภัยรถยนต์ทั้งอุตสาหกรรมที่มากถึง 60% ของเบี้ยประกันภัยทุกประเภท ทำให้บริษัทประกันภัยเจ้าถิ่นหรือแม้แต่ผู้มาใหม่จากแดนไกล ต่างก็จดจ้องจะเข้าจับจองเป็นเจ้าของ "ขุมทรัพย์" กันอย่างอึกทึก
โยอิจิ ทามากาคิ กรรมการผู้จัดการ ประกันภัยศรีเมือง เริ่มจับสัญญาณผิดปรกติจากยอดขายรถใหม่ของบรรดาดีลเลอร์ และยอมรับว่าถ้ายอดขายรถใหม่ไม่เติบโต จึงเป็นการลำบากที่จะต้องพึ่งพาดีลเลอร์และบรรดาไฟแนนซ์เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงต้องขยายความสัมพันธ์กับตัวแทนให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามผลประกอบการครึ่งปีแรก บริษัทมีเบี้ยประกันรับ 1,225 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 140 ล้านบาท ขยายตัว 19% เป็นเบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 26% ประกันภัยทรัพย์สิน 26% ประกันภัยรถยนต์ 40% และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 8% พร้อมมีศูนย์บริการรวม 16 สาขารองรับตลาดประกันภัยรถป้ายแดง และมีตัวแทน 376 คน
การเบียดแทรกเข้ามาในตลาดประกันภัยรถยนต์ของศรีเมืองฯ จึงอธิบายได้ถึง จุดเริ่มต้นจากสายสัมพันธ์จากสายเลือดบูชิโดโดตรงตรง ก่อนจะส่งผ่านมายังลูกค้าท้องถิ่นในเฟสถัดมา
" เบี้ยประกันภัยรถยนต์เราสูงถึง 56% เพราะการขยายตลาดประกันภัยรถยนต์อย่างจริงจังในปีที่ผ่านมา และใน 3-5 ปีก็จะขยายตัวเชิงรุกต่อไป โดยเฉพาะการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่น"
ยามากาคิ บอกว่า สัดส่วนประกันภัยรถยนต์ปัจจุบันอยู่ที่ 40% แต่ในอนาคตจะเพิ่มเป็น 50% โดยไม่ได้คาดหวังการเติบโตของฐานลูกค้าผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเหมือนในอดีต เพราะค่ายรถยนต์รายใหญ่ และซัพพลายเออร์ทั้ง 2 ค่ายอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า ไม่ได้ลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น การขยายตัวของ ศรีเมืองฯก็จะมาจากลูกค้าท้องถิ่นภายในประเทศมากกว่าฐานลูกค้าญี่ปุ่นที่เริ่มจะติดเชื้อโรคร้ายจาก ค่าเงินบาทที่แข็งตัว โดยเฉพาะธุรกิจส่งออก ที่เกี่ยวพันกับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
โครงสร้างรายได้จาก ธุรกิจประกันภัยทางทะเลและขนส่งของศรีเมืองฯ มีสัดส่วนสูง 27%ของพอร์ต และเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ จากเดิมที่เคยสูงถึง 30% แต่ต้องหลีกทางให้กับเบี้ยรถยนต์ เพราะการเติบโตของประกันภัยรถยนต์ในระยะหลัง
อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถใหม่ที่มีอาการทรุดหนัก ก็ทำให้ต้องพลิกรูปแบบ เปลี่นไปเป็นเริ่มเดินเข้าหาตัวแทน สะพานที่จะข้ามไปถึงเจ้าของรถเก่า ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมใดใดกับแคมเปญรถใหม่
ยามากาคิ บอกว่า ตัวแทนในระบบมีอยู่ 300-400 คน ก่อนจะเพิ่มเป็น 500 คน โดยครึ่งปีแรกมีเข้ามา 130 คน
" ในไทยเป็นเรื่องยากที่จะสร้างตัวแทนได้เอง ตรงกันข้ามกับในญี่ปุ่นที่เครือข่ายตัวแทนแข็งแรงมาก เหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย"
นายใหญ่ของศรีเมืองฯ ยอมรับว่า ผู้มาใหม่ทุกรายมักจะเริ่มเปิดตัวให้ลูกค้าท้องถิ่นได้รู้จัก จากการเปิดสาขาให้ครอบคลุม ควบคู่ไปกับการสร้างตัวแทน และส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ขณะที่คาแรคเตอร์ศรีเมืองฯจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะอดทนใช้เวลาราว 5-10 ปี เพราะมั่นใจว่าตัวแทนเป็นจุดสำคัญที่จำเป็นต้องมี
หลักชัย สุทธิชูจิต รองกรรมการผู้จัดการ ประกันภัยศรีเมือง บอกว่า ครึ่งปีหลังยังคงเน้นขายตัวแบบอนุรักษ์นิยม พร้อมเร่งแผนประชาสัมพันธ์และรีแบรนดิ้งต่อไป หลังจากเริ่มสำรวจพบว่าคนไทยเริ่มรู้จักศรีเมืองฯมากขึ้น
" เราคงขยายทั้งประกันภัยรถยนต์และไม่ใช่รถยนต์ แต่ประกันภัยรถยนต์จะทำให้คนรู้จักได้มากกว่า"
หลักชัยบอกว่า ตัวแทนยังเด็ก และเป็นเจ้าใหม่ในตลาด ในระยะแรกจึงมุ่งเน้นเรื่องการวางระบบไอที และสินไหมทดแทน พร้อมกับฝึกอบรม ดังนั้นเมื่อถึงระดับหนึ่งก็จะควบคุมอัตราความเสียหายไม่ให้สูงขึ้นได้
" เราอยากให้ความสำคัญกับลูกค้าและบริการมากกว่า ที่จะขยายพอร์ตและส่วนแบ่งการตลาดให้ใหญ่ ซึ่งไม่ได้ยากเลย เพียงแค่หั่นเบี้ยให้ต่ำ แต่บริษัทแม่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอันดับในตลาด"
หลักชัย บอกว่า ภายใน 5 ปีต้องเป็นที่รู้จัก โดยการสร้างชื่อ เพื่อให้ง่ายต่อการทำตลาด ในขณะที่โตเกียวมารีน เป็นบริษัทใหญ่และมีชื่อเสียงเกือบทุกประเทศ แต่หลายประเทศในเอเชียก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะตลาดเมืองไทย
" ยอมรับว่าประกันภัยรถยนต์ทำกำไรยาก แต่เรามองระยะยาว คาดว่าจะสร้างกำไรในธุรกิจนี้ได้ โดยเน้นไปช้าๆ ค่อยๆโต แบบมีกำไร"
การลุยขยายพอร์ตประกันภัยรถยนต์ ในฐานะผู้มาใหม่จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะสำหรับศรีเมืองฯ ดูเหมือนการทำความรู้จักกับลูกค้าท้องถิ่น ในขณะที่สนามแข่งขันกลายเป็นลูกไฟพวยพุ่ง น่าจะถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่นายทุนน้องใหม่จะต้องลงทั้งทุนและแรงอย่างหนัก...
|
|
 |
|
|