Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"มีพ่อตามากด้วยบารมีสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง"             
 


   
search resources

โนเบิล โฮลดิ้ง, บจก.
กิตติ ธนากิจอำนวย
Real Estate




เพียง 18 วันของการเปิดโครงการโนเบิลพาร์คปรากฏว่าสามารถทำยอดขายได้ครบ 100% อีกทั้งยังมีรายชื่อลูกค้าที่รอจับจองโครงการในเฟสสองถึง 157 รายความสำเร็จครั้งนี้เองที่ทำชื่อของบริษัทโนเบิล โฮลดิ้งเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าของโครงการ

กิตติ ธนากิจอำนวยคือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังโครงการพัฒนาที่ดินของกลุ่มโนเบิลในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโนเบิลโฮลดิ้ง ซึ่งถูกมองว่าเป็นน้องใหม่ในวงการเรียลเอสเตท

การที่กิตติกลายมาเป็นลูกเขยของอำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารของแบงก์กรุงเทพเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองว่าความสำเร็จของบริษัทฯ นี้มาจากการมีชื่อของอำนวย วีรวรรณ และชาตรี โสภณพนิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย

ซึ่งนั่นเป็นเพียงเหตุผลประการหนึ่งที่กิตติเองก็ไม่ได้ปฏิเสธเพราะมันหมายถึงความเชื่อถือของลูกค้าที่มีต่อผู้บริหารของแบงก์กรุงเทพทั้ง 2 คน

ในขณะที่ความสามารถของกิตติในการทำธุรกิจด้านนี้มีมากว่า 15 ปีจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี 2519-2535) แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักเขา

กิตติเรียนจบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงที่เขายังเป็นนิสิตปี 3 อยู่นั้นเป็นช่วงเดียวกับที่เหตุการณ์ทางการเมืองของไทยเปลี่ยนแปลงมาก จนทำให้นิสิตนักศึกษาหลายต่อหลายคนต้องเปลี่ยนการทำกิจกรรมทางการเมืองไปด้วย

ช่วงเวลานั้นกิตติจึงหันมาพัฒนาที่ดินผืนแรกในซอยนวลน้อย เอกมัยซึ่งเช่ามาเพื่อสร้างเป็นสปอตคลับโดยใช้ชื่อว่า "เอกมัยเทนนิส" ใช้เงินลงทุนครั้งนั้น 5 แสนบาทโดยเปิดให้บุคคลทั่วไปสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก

จนกระทั่งกิตติเรียนจบมหาวิทยาลัย จุไรรัตน์ ศรีไกรวินเจ้าของสวีเดนมอเตอร์ ซึ่งเป็นเพื่อนของพี่สาวก็ได้ชักชวนให้เข้าถือหุ้นในบริษัทที่ตั้งขึ้นมา เพื่อพัฒนาที่ดินโดยเริ่มโครงการแรกเป็นทาวน์เฮาส์ราคาแพงที่ถนนวิทยุในชื่อโครงการ THE EMBASSY PLACE ในนามบริษัทสวีดิช คอนสตัคชั่น โดยใช้เวลาในการขายโครงการนี้ 1 ปีเต็ม

หลังจากเสร็จโครงการที่ถนนวิทยุประมาณปี 2523-2524 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ราคาที่ดินตก การซื้อขายไม่ค่อยดี กิตติจึงคิดที่จะหาประสบการณ์ด้านอื่นนอกเหนือจากการพัฒนาที่ดินเพียงอย่างเดียว พอดีกับที่เพื่อนมาชวนให้ไปทำธุรกิจเทรดดิ้งโดยการเป็นตัวแทนในการซื้อของให้รัฐบาลพม่าเช่น พวกอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือทำประมง เครื่องจักรเครื่องกลโดยจัดตั้งบริษัทคอนติเนลตันขึ้น

กิตติทำธุรกิจเทรดดิ้งร่วมกับเพื่อนควบคู่ไปกับงานพัฒนาที่ดินซึ่งเขาทำอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วจนกระทั่งถึงปี 2526 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเส้นสายพม่าที่เคยรู้จักก็พลอยหายไปด้วย จึงมาถึงจุดที่ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนไม่อยากทำธุรกิจด้านนี้ต่อไป เป็นจังหวะเดียวกับที่การพลังงานแห่งชาติเปิดให้มีการประมูลเหมืองลิกไนต์จึงเข้าร่วมประมูลและในที่สุดก็ชนะการประมูลครั้งนี้

หลังจากประมูลได้ไม่นานทางบริษัทเหมืองบ้านปูก็ได้ขอซื้อกิจการนี้ต่อพร้อมทั้งขอให้เข้าไปช่วยบริหารกิจการในเหมืองบ้านปูซึ่งขณะนั้น (เพิ่งเริ่มกิจการได้ปีกว่า) มีผลขาดทุนอยู่เกือบ 200 ล้านบาทเนื่องจากสินค้าที่ผลิตออกมาขายไม่ได้

กิตติเข้าไปถือหุ้นส่วนหนึ่งในเหมืองบ้านปู พร้อมทั้งเข้าช่วยบริหารในส่วนของการตลาด โดยมีเงื่อนไขที่เหมืองบ้านบ้านปูยอมให้กิตติทำธุรกิจพัฒนาที่ดินต่อเนื่องได้ด้วย จนในที่สุดทีมงานก็สามารถพลิกสถานการณ์ของเหมืองบ้านปูจากจุดที่ไม่ค่อยมั่นคงจนสามารถยืนได้อย่างมั่นคง และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สำเร็จในปี 2530 กิตติจึงได้ขอแยกตัวออกมาทำธุรกิจของตัวเองอย่างแท้จริง

ในช่วงที่อยู่เหมืองบ้านปูนั้นกิตติได้ลงทุนทำธุรกิจพัฒนาที่ดินของตนต่อเนื่องไปด้วยตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับทางเหมืองบ้านปูไว้ โดยครั้งนี้ได้รวบรวมทุนจากผู้ถือหุ้นบางคนของเหมืองบ้านปูทำโครงการเดอะการ์เดนเพลสที่ซอยทองหล่อ และรอยัลปาร์คที่ศรีนครินทร์

เมื่อแยกตัวจากเหมืองบ้านปูแล้วกิตติได้ตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในชื่อโนเบิล โฮลดิ้งเมื่อปี 2531 โดยผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัทโอเรียนท์ของวงชัย บุษราพันธ์ซึ่งเป็นพี่เขยของกิตติ บริษัทกิจพรค้าข้าวของวิชาญ บุษราวงศ์ซึ่งเป็นน้องชายของวงชัย บุษราพันธ์ ชาตรี โสภณพนิช อำนวย วีรวรรณ ชาลี โสภณพนิชและบริษัทอื่นอีกเล็กน้อย

โครงการแรกที่ทำในนามของโนเบิล โฮลดิ้งคือโครงการโนเบิ้ลเฮ้าส์ 1 ที่ซอยทองหล่อ โครงการต่อมาคือโครงการโนเบิลเพลสที่จังหวัดชลบุรี และล่าสุดคือโนเบิลพาร์คที่บางนา-ตราด

จากประสบการณ์ในการทำธุรกิจเรียลเอสเตทที่ผ่านมา ทำให้กิตติได้แนวความคิดในการพัฒนาที่ดินอีกรูปแบบหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความสำเร็จในเวลาต่อมา

ตัวอย่างแรกคือการสร้างสนามกอล์ฟในโครงการโนเบิลเพลสโดยไม่ต้องกู้เงินจากแบงก์ทั้งนี้ โดยอาศัยคอนเซ็ปต์ของวิธีการในการทำธุรกิจในอดีต ก่อนที่จะเกิดแบงก์เข้ามาใช้นั่นคือการระดมทุนส่วนตัวจากหุ้นส่วนสมมุติว่าต้องการเงินจำนวน 1,000 ล้านบาทก็ชวนคนเข้ามาร่วมทุน 100 คนแต่ละคนควักคนละ 10 ล้านบาทโดยมีผลตอบแทนให้ซึ่งในโครงการโนเบิลเพลสนั้นผู้ถือหุ้นจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นสนามกอล์ฟ ที่ดินส่วนกลางที่เป็นส่วนป่าเนรมิตซึ่งอยู่ในโครงการ คลับเฮาส์ โปโลคลับที่ดินเปล่าในโครงการอีกคนละ 2 ไร่ และรายได้จากผลประกอบการในส่วนของสนามกอล์ฟคลับเฮาส์และโปโลคลับ ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้มีหุ้นส่วนอยู่ประมาณ 500 คน ในขณะที่ยอดขายทั้งหมดของโครงการนี้อยู่ในราว 3,000 ล้านบาท

อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นโครงการล่าสุดคือ โนเบิลพาร์คเป็นการนำเอาระบบคอนโดเฮาส์ หรือคอนโดแนวราบมาใช้คือแบบบ้านเหมือนทาวน์เฮ้าส์ทั่วไปที่ปลูกบนที่ดินแต่การถือครองกรรมสิทธิ์ในส่วนของอาคารและที่ดิน ใช้คอนเซ็ปต์ของคอนโดมิเนียมคือในนามนิติบุคคล ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยใหม่ที่กิตติได้ริเริ่มขึ้นและได้รับความสำเร็จอยู่ในปัจจุบัน

ความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นนั้นกิตติอธิบายว่าส่วนหนึ่งมาจากทีมงานที่ทำงานอย่างจริงจัง ในขณะที่บริษัทเองมีแนวทางการปฏิบัติในเรื่องการพัฒนาอย่างแน่ชัดมีหลักปรัชญาชัดเจนคือ งานที่เราจะทำต้องมีคุณภาพไม่เน้นกำไรเป็นอันดับแรก

"ความคิดในการทำโครงการต้องทำการบ้าน ทำงานจริงจังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวทางที่แปลก เราไม่บอกตัวเองว่าเราเป็นคนทำหมู่บ้าน แต่เราต้องดูว่าทำหมู่บ้านอย่างไรให้ดีมีคุณภาพ มีแนวความคิดที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่อย่างแท้จริง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us