Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2535
"นักต่อสู้มลพิษทางอากาศ"             
 


   
search resources

คำภิญ สุทธิพิทักษ์
Vehicle
Environment




"ทุกรัฐบาลผมจะไปติดต่อบอกว่าผมอยากแก้ปัญหาอากาศเป็นพิษ.."

นี่คือคำภิญ สุทธิพิทักษ์เจ้าของธุรกิจผลิตชนวนไฟฟ้าไม่ไหม้ไฟมูลค่า 200 ล้าน เขาติดตามปัญหาอากาศเป็นพิษจากยานยนต์มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี แม้ว่าจะต้องบริหารกิจการถึง 2 บริษัทคือบริษัทไทยซิลิคอนและบริษัทคำภิญคอร์เปอเรชั่นจำกัด แต่คำภิญบอกว่าเขามีเวลาอย่างฟุ่มเฟือยในเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงแค่ระดับความสนใจเท่านั้นแต่อยู่ในขั้นที่ศึกษา และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังตลอดมา

คำภิญเริ่มศึกษาเรื่องมลพิษในอากาศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ขณะนั้นปริมาณรถยนต์บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครน้อยกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว แต่สภาพอากาศเป็นพิษที่เกิดจากสารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิง และคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียจากยานยนต์ เริ่มก่อตัวขึ้นจนอยู่ในระดับที่เรียกว่ามีปัญหาเขาในฐานะกรรมการยุวสมาคมแห่งประเทศไทยจึงผลักดันทางสมาคมฯ ร่วมกับตำรวจจราจรรณรงค์ในเรื่องนี้เป็นครั้งแรก

โดยส่วนตัวของเขาเองได้ใช้เวลาในการค้นคว้าสาเหตุที่มาของควันและมลพิษที่มาจากยานยนต์ชนิดต่าง ๆ เขาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง คุณภาพของเครื่องยนต์ สภาพการจราจรและผู้ขับรถ

จากการศึกษาของเขาพบว่าคุณภาพน้ำมันในเมืองไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดเนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด

เขายกตัวอย่างน้ำมันโซล่าสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศและที่กลั่นเองในประเทศนั้น มีคุณภาพต่ำกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดวาบไฟซึ่งกำหนดไว้ที่ 52 องศาเซนติเกรดและอุณหภูมิการกลั่นที่ 357 องศาเซนติเกรดแต่น้ำมันที่นำมาจำหน่ายมิได้เป็นไปตามค่านั้น ทำให้ไขมันผสมอยู่ในน้ำมันโซล่ามากและส่งผลให้น้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดถูกพ่นออกมาทางท่อไอเสียกลายเป็นเขม่าควันพิษสีดำ

"เงินซื้ออากาศหายใจไม่ได้ ทุกคนต้องหายใจ นึกถึงตัวเองไม่ได้ให้นึกถึงลูกหลานถ้าเราไม่ปรับคุณภาพน้ำมันต่อไปบ้านเราจะลำบาก บ้านเราจะมีคนพิการเยอะ มีแต่คนอ่อนแอขี้โรคโดยเฉพาะเด็ก"

คำภิญกล่าวผ่าน "ผู้จัดการรายเดือน" ไปยังผู้ค้าน้ำมันที่ไม่จำหน่ายสินค้าตามมาตราฐานที่กำหนด รวมทั้งมาตรการของรัฐที่ควรจะเด็ดขาดในกรณีของน้ำมันเบนซินที่รัฐยังมิได้กำหนดว่าเมื่อใดจะเลิกใช้เบนซินผสมสารตะกั่วอย่างถาวร

สำหรับตัวของคำภิญตั้งแต่วัยเด็กที่คลุกคลีกับเครื่องยนต์ประมง และเปลี่ยนมาเป็นรถมอเตอร์ไซค์จนกระทั่งรถยนต์ที่เริ่มทดลองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเพื่อวัดควันพิษจากท่อไอเสีย ระหว่างนั้นร่างกายของเขาซึมซับพิษจากหมอกควันเหล่านั้นไปด้วย

อย่างไม่คาดคิดมาก่อนวันหนึ่งเขาพบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก โรคที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ

เขาบอกว่าตนเองยังโชคดีที่แพทย์ตรวจพบโรคร้ายตั้งแต่ในระยะต้น ๆ จึงมีหนทางที่จะเยียวยารักษาได้แม้จะใช้เงินไปจำนวนไม่น้อยเลย คำภิญแสดงความห่วงใยไปถึงคนหาเช้ากินค่ำอีกจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับโรคนี้แต่ไม่มีเงินพอที่จะรักษา

"ถ้าเป็นคนจนจะทรมานมาก เสียเงินเป็นหมื่น ๆ หายแล้วต้องทาครีมเพื่อช่วยผิวที่โดนทำลายหมด ต่อมน้ำลายในปากหายไปเลย แห้งตลอดเวลาต้องดื่มน้ำ"

นอกเหนือจากการค้นคว้าทางวิชาการเรื่องมลพิษทางอากาศจากสภาพความเป็นจริง จนกระทั่งเขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า "กรุงเทพฯ กับวันร้อน" เมื่อท้องฟ้าเป็นสีเทาเพราะเขม่าควันพิษและความเป็นไปได้ในการลดมลพิษในอากาศ" แล้วเขายังพยายามผลักดันกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดแรลลี่ลดมลพิษการร่วมกิจกรรมกับลูกเสือเพื่อช่วยในสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

เขาให้เหตุผลในการจัดแรลลี่ที่มีมาแล้วสองครั้งว่า เป็นการชักชวนคนที่ชอบแข่งรถมาเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้อง ก่อนการจัดแรลลี่จะมีการนัดพบปะเพื่อพูดคุยกันในระหว่างผู้เข้าร่วมถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น กรีนเฮ้าส์เอฟเฟ็ค ปัญหาเรื่องบรรยากาศชั้นโอโซนของโลก เพื่อให้แต่ละคนได้รับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ และจะได้พยายามดูแลเครื่องยนต์ของตนมิให้เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหานั้น ๆ

หลังจากแข่งรถแล้ว คำภิญมีโครงการต่อเนื่องคือชักชวนผู้แข่งรถทั้งหลายร่วมกันปลูกต้นไม้ เพื่อดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผู้ขับขี่ก่อขึ้นและนำกำไรจากการจัดแรลลี่ไปมอบให้ลูกเสือปลูกต้นไม้

โดยส่วนตัวของคำภิญหลังจากที่เขาจบจากพาณิชย์พระนคร ได้เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจที่ STATE UNIVERSITY OF SINGAPORE และได้เข้าทำงานกับบริษัทซูมิโตโม ของญี่ปุ่นเป็นเวลาเกือบสิบปี จนกระทั่งแยกตัวออกมาทำธุรกิจของตนเอง

เส้นทางชีวิตของคำภิญอาจไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการอนุรักษ์หรือกิจกรรมสังคมด้านอื่น ๆ เพราะธุรกิจที่เขาบริหารอยู่ก็เป็นภาระที่หนักหนาอยู่แล้ว แต่เขาบอกว่าความสนใจในเรื่องปัญหารอบตัวเป็นสิ่งที่เขาถูกปลูกฝังมาแต่เป็นเรียนทุนของมิชชันนารี โรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เมื่อเติบโตขึ้นได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศต่าง ๆ รับรู้ถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในต่างแดนเขาตระหนักดีกว่าตนเองควรหันกลับมาทำอะไรให้เป็นประโยชน์กับบ้านเกิดเมืองนอน โดยเฉพาะในสภาพสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมพาณิชย์อุตสาหกรรมที่คำภิญให้คำจำกัดความอย่างสั้น ๆ ว่าเป็นสังคมที่มีคนส่วนใหญ่มีคุณภาพมากแต่มีคุณธรรมน้อย

"คนรวยเหมือนเทวดาเท้าไม่ติดดิน แต่ถ้านอนมองแต่ข้างบนจะเห็นแต่สิ่งสวยงาม ลองก้มมาดูข้างล่างบ้าง น้ำครำเน่า อากาศเป็นพิษ เด็กไม่มีอาหารกิน ชาวนาล้มละลาย ถ้าบ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อกัน คุณจะอยู่ได้มั้ย ก็อยู่ไม่ได้อย่าเอาเปรียบคนจนมาก ผมเชื่ออย่างนั้นถึงได้พยายามทำ"

คำภิญ สุทธิพิทักษ์เชื่อและปฏิบัติในสิ่งที่เขาถนัดมานานแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us