Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กันยายน 2550
ยันซับไพรม์ไม่กระทบไทย ธอส.คาดเฟดลดดบ.สกัดวิกฤตอีก 0.50%             
 


   
search resources

Loan




สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย-ธอส.ร่ายยาวชี้แจงต้นตอปัญหาซับไพรม์สหรัฐ มั่นใจไม่กระทบไทยมากนัก ระบุการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในระดับ 0.50%เพื่อไม่ให้ลุกลามไปถึงลูกค้าชั้นดี คาดช่วงที่เหลือของปีปรับลดอีก 0.50% ขณะที่กสิกรฯฟันธงดัชนีหุ้นไทยปีนี้อยู่ที่ 860 จุด ดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 3.00% และค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.75-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เชื่อหลังสถานการณ์ซับไพรม์คลี่คลายจะมีเงินลงทุนเพิ่ม

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูลย์ ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "Subprime CDO กับสถานการณ์การเงินที่อยู่อาศัย"ว่า ความแตกต่างของระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐกับไทยนั้น อยู่ที่สหรัฐจะอาศัยเงินจากตลาดทุนซึ่งทำโดยการออกหุ้นกู้หรือตราสารในชื่อ Mortgage Backed Securities (MBS) จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(Securitization) และผู้ปล่อยสินเชื่อนั้นจะเป็นบริษัทธรรมดาเรียกว่า Mortgage Company เป็นหลัก ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีเงินทุนน้อย เมื่อปล่อยสินเชื่อได้จำนวนหนึ่งก็จะขายสินเชื่อออกไปเพื่อให้ได้เงินไปปล่อยกู้ใหม่หมุนเวียนไป โดยสินเชื่อชั้นดี Prime คือ กู้ไม่เกิน 80% เงินงวดไม่เกิน 25% ของรายได้และไม่มีประวัติเครดิตเสีย

ขณะที่ไทยนั้นจะอาศัยเงินจากตลาดเงินหรือเงินฝากธนาคารเป็นหลัก โดยตลาดทุน(ตราสารหนี้)ของไทยมีขนาดเล็กมากและระยะสั้นไม่เหมือนสหรัฐฯ และการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจะมาจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)เป็นหลัก ซึ่งธนาคารจะมีเงินฝากในตัวเองและนำมาปล่อยสินเชื่อจึงไม่นิยมขายสินเชื่อและเกรงอัตราหนี้สงสัยจะสูญ(เอ็นพีแอล)จะสูงขึ้น นอกจากนี้มาตรฐานการให้กู้เพื่อที่อยู่อาศัยยังต่ำกว่าในสหรัฐฯและประเทศอื่นๆในภูมิภาค อีกทั้งยังมีอัตราเอ็นพีแอลสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

"ถ้าเทียบกันแล้วมาตรฐานการปล่อยกู้ของเราต่ำกว่าประเทศอื่นในแถบนี้ และยังมีเอ็นพีแอลที่น่าจะเรียกได้ว่าสูงที่สุดในโลก เพราะประเทศอื่นๆในโลก ไม่มีใครจะมีเอ็นพีแอลที่เกินกว่า 1% โดยเฉพาะในแถบเดียวกันนี้มีต่ำมาก แต่เรามีเอ็นพีแอลอยู่ถึง 5%ก็บอกว่าต่ำแล้ว คงเพราะชินตัวตัวเลขพวกนี้ แม้กระทั่งเป้าหมายที่จะให้ลงมาที่ 2% ก็ยิ่งมองว่าต่ำมาก แต่ที่อื่นเขาไม่ถึง 1%"นายกิตติกล่าว

นายกิตติกล่าวว่า วิกฤตการณ์ซับไพรม์ในระบบสินเชื่อของสหรัฐนั้น ช่วงที่ผ่านมาราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นรุนแรงบริษัทให้กู้วงเงินสูงแก่ผู้ที่มีรายได้ไม่พอประวัติไม่ดีจำนวนหรือพวกที่อยู่ในกลุ่มซับไพรม์มากขึ้น เมื่อราคาบ้านชะลอตัวทำให้เอ็นพีแอลของซับไพรม์เพิ่มขึ้นรวดเร็วทำให้มีบริษัทให้กู้บางแห่งปิดตัวไป ซึ่งปัญหานี้ได้ลุกลามไปยังตราสาร Collateralized Debt Obligations (CDO) และส่งผลไปถึงประเทศอื่นๆที่มีการลงทุนในตราสารดังกล่าว ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% เหลือ 4.75% ส่วนไทยนั้นทางสถาบันการเงินชี้แจงว่ามีการลงทุนใน CDO น้อยมาก จึงไม่มีผลกระทบต่อระบบการเงิน

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ซับไพรม์คือตัวลูกค้าไม่ได้เกี่ยวกับหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่เป็นตัวลูกค้าที่มีตำหนิ และคาดว่าตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐจะยังมีปัญหา จากจำนวนหนี้เสียในตลาดเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากระบบการคิดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะเป็นระบบที่ปรับได้เป็นช่วงๆ (Adjustable Rate Mortgage – ARM) โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงแรก ซึ่งจะมีการระบุในสัญญาชัดเจนว่าจะปรับขึ้นในทุกปีที่เท่าใดบ้างและเมื่ออัตราดอกเบี้ยเก่าหมดอายุก็ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่ จึงน่าจะเป็นเหตุผลให้ผู้กู้เกิดภาวะ Interest Rate Shock ทำให้เฟดต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 0.50% เพราะถ้าไม่ปรับลดก็อาจจะเกิดปัญหาลามไปถึงลูกค้าชั้นนำด้วย และเชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้เฟดน่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50%

ด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ปัญหาซับไพรม์เป็นฉนวนให้เฟดทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อเป็นการอัดฉีดสภาพคล่อง อีกทั้งราคาทองคำยังเป็นตัวชี้วัดว่าค่าเงินของสหรัฐจะยังคงอยู่ในขาลง นอกจากนี้มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯนั้นในปีนี้น่าจะปรับตัวลงอีก 1 รอบ และในปีหน้าอีก 1 รอบ ก่อนจะทรงตัว

อย่างไรก็ตาม มองว่าการคลี่คลายของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นจะทำให้มีการลงทุนเข้ามาเพิ่ม แต่ยังจะต้องรอดูถึงผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรและมีการขาดทุนใน CDO หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง แต่จากที่จะมีการเลือกตั้งจึงมองว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยปีนี้อยู่ที่ 860 จุด อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงอีกครั้งมาอยู่ที่ 3.00% และค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.75-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

"สิ่งที่ควรปรับปรุงนโยบายการเงินคือเงินเฟ้อของแบงก์ชาตินั้นอยากให้รักษาเสถียรภาพให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ และเงินเฟ้อที่นำมาใช้ควรจะเป็นทั่วไปเหมือนที่ประเทศอื่นใช้กันเพราะการใช้เงินเฟ้อพื้นฐานนั้นมันไม่สะท้อนตัวเลขเศรษฐกิจที่แท้จริง"นายกอบสิทธิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us