Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535
"เหลียนฟ่ง" ผู้อยู่เบื้องหลังนักสู้แห่งไทยวา"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

ไทยวากรุ๊ป
เหลียนฟ่ง
Agriculture




ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของไทยวากรุ๊ปมีตำนานแห่งชีวิตนักสู้ชาวสิงคโปร์ที่ "โฮริทวา" ได้บันทึกไว้เป็นความทรงจำในหนังสือชื่อ "EATING SALT" หรือ "นักสู้แห่งไทยวา" เพื่อเป็นมรดกทางความคิดแก่ลูกหลาน

เบื้องหลังความสำเร็จของอาณาจักรธุรกิจของกลุ่มไทยวาในประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า "เหลียนฟ่ง" ภรรยาคู่ชีวิตของโฮริทวา เหลียนฟ่งเป็นลูกสาวคนโตหลี่ ก๋วอชิงหรือ "เค.ซี.ลี." มหาเศรษฐีจีนในอเมริกา ผู้ก่อตั้งบริษัท วาชางเทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่นซึ่งลงทุนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และได้แตกขยายสาขามาสู่ประเทศพม่าและไทย โดยให้โฮริทวา ลูกเขยเข้ามาเรียนรู้และดูแลขยายกิจการ

พ่อตาของโฮริทวาสร้างชื่อเสียงและความมั่นคงขึ้นมาจากแร่ทังสเตนเป็นสำคัญเพราะเป็นคนแรก ๆ ที่ค้นพบทังสเตนในประเทศจีน มีโรงงานถลุงแร่ทังสเตนและผลิตทังสเตนเส้นตั้งอยู่เมืองเคลนโคฟ รัฐนิวยอร์ก ขณะเดียวกันบริษัท วาชางก็มีบทบาทสำคัญในการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งมีสินค้านำเข้าจากจีนส่วนใหญ่เป็นสินแร่พวกทังสเตน พลวง ดีบุก และส่งออกเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์เคมีจากอเมริกาไปจีนด้วย

แต่หัวคิดอนุรักษ์ของพ่อตาที่ยึดมั่นฝึกปรือคนจากระดับล่างขึ้นมา แม้คน ๆ นั้นจะมีศักดิ์เป็นลูกเขยก็ตาม ทำให้โฮริทวาประสบความลำบากยากเย็นในระยะแรก เพราะเขาต้องไต่เต้าตัวเองจาก MESSENGER BOY หรือเด็กส่งเอกสาร หรือเดินถือกระเป๋าเอกสารติดสอยห้อยตาม ทั้ง ๆ ที่ระดับความรู้ของโฮริทวานั้นจบปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล

โฮริทวาต้องต่อสู้กับตัวเองที่จะเอาชนะความต่ำต้อยและอุปสรรคชีวิตจนกระทั่งสามารถพิสูจน์ตัวเองต่อพ่อตาได้สำเร็จ

นอกจากนี้โฮริทวาต้องพิสูจน์ตัวเองในวัยสามสิบเอ็ดอีกครั้งเมื่อพ่อตาได้ส่งเขาเข้ามาทำงานในเมืองไทย กินเงินเดือนเสมียน 1,000-1,200 บาท แม้ว่าทั้งคู่จะประสบความยากลำบากในเรื่องที่อยู่อาศัยคับแคบและเหลียนฟ่งแพ้อากาศร้อนอบอ้าวจนเกิดผดผื่นคันเต็มตัว แต่ทั้งคู่ก็ไม่เคยปริปากบ่นจนกระทั่งพ่อตาโฮริทวามาเห็นกับตาตัวเอง

ผู้หญิงจีนร่างเล็ก ๆ ซึ่งสูงเสมอไหล่ของโฮริทวาคนนี้ ได้ร่วมชีวิตคู่ตามแบบฉบับกุลสตรีจีนที่ถูกเลี้ยงดูและเติบโตในวัฒนธรรมอเมริกันที่ประสานกับวัฒนธรรมจีน ความเป็นลูกคนรวยที่ไม่เคยตกระกำลำบาก ทำให้เหลียงฟ่งเริ่มจับงานบ้านเป็นครั้งแรกในชีวิต

เหลียนฟ่งเป็นสุภาพสตรีที่มีการศึกษาระดับสูง จบปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์เคมีจากวิทยาลัยมิลส์ที่เมืองโอคแลนด์ แคลิฟอร์เนีย หลังจากนั้นเข้าทำปริญญาโทต่อที่เอ็มไอที แต่ก็ได้เปลี่ยนใจมาเอาทีทางปริญญาโทด้านวรรณคดีอังกฤษจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา พื้นฐานความรู้ด้านเคมีที่เธอได้นำมาช่วยสามีสุดที่รักในการก่อตั้งโรงงานวุ้นเส้นในพม่าและประเทศไทย

ทุกครั้งที่โฮริทวารู้สึกท้อถอย เหลียงฟ่งจะเป็นผู้ช่วยปัดเป่าความรู้สึกนั้นออกไป และเมื่อใดที่โฮริทวาหลงและเหลิงในความสำเร็จ เหลียนฟ่งจะกระเซ้าเย้าแหย่เตือนให้เขารู้สึกต้องระวังตัว

เหลียนฟ่งได้เคยให้กำลังใจกับโฮริทาวาเมื่อครั้งเขาไม่สามารถเรียนจบปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดเรื่องนี้ได้สร้างความรันทดใจให้กับโฮริทวามากถึงกับร้องห่มร้องไห้ รู้สึกว่าชีวิตหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ความใฝ่ฝันได้พังทลายลงแล้วเพราะในช่วงนั้นโฮริทวาก็เช่นเดียวกับนักศึกษาจีนคนอื่น ๆ ที่ต้องการได้ปริญญาเอกเป็นใบเบิกทางไปสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยของจีน

ชะตากรรมได้เล่นงานโฮริทวา หลังจากพลาดหวังการจบปริญญาเอก เขาก็ต้องประสบความล้มเหลวในธุรกิจอีก เมื่อตั้งบริษัทลี-โฮ เทรดดิ้ง คอร์ป ซึ่งจัดส่งคาร์บอนแบล็กไปยังสิงคโปร์ แต่พบปัญหาที่ผู้ผลิตไปตั้งตัวแทนขายเองและไม่ยอมขายให้บริษัทของเขา ในที่สุดกิจการก็ต้องปิดลง

ท่ามกลางความมืดมิดของความหวัง เหลียนฟ่งได้จุดประกายแห่งพลังใจขึ้นมาใหม่ ที่ทำให้วิถีชีวิตของโฮริทวา พลิกฝันสู่นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา โดยเป็นคนกลางที่ชักนำอย่างนุ่มนวลให้พ่อช่วยเหลือสามีสุดที่รักของเธอ โดยมิให้เขามีปมด้อยว่าไม่มีปัญญาต้องพึ่งบารมีเมีย

แต่เหลียนฟ่งเป็นภรรยาที่รักและเข้าใจสามี อุตสาหกรรมทำวุ้นเส้นในนามของบริษัทวาลัญจะไม่สำเร็จเลยถ้าหากไม่ได้เหลียนฟ่งช่วยวิจัยกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ แม้จะมีความเชื่อโบราณที่ห้ามมิให้ผู้หญิงเข้าใกล้หม้อต้มวุ้นเส้น ความรู้ทางเคมีของเหลียนฟ่ง ทำให้ประสิทธิผลของวุ้นเส้น ชนะคู่แข่งทั้งต้นทุนและคุณภาพสินค้า

ในฐานะแม่ เหลียนฟ่งได้ให้กำเนินลูกสามคน คนโตชื่อ "มินฟอง" เป็นนักเขียนสตรีที่ปัจจุบันใช้ชีวิตที่สวิสเซอร์แลนด์คนที่สองคือ "โฮ กวง ปิง" อดีตผู้นำนักศึกษาและหัวก้าวหน้าและผู้สื่อข่าวฝีมือเยี่ยมของนิตยสารฟาร์อีสเทอร์นอีโคโนมิครีวิว ซึ่งได้กลายเป็นทายาทธุรกิจสินทรัพย์หมื่นล้านของโฮริทวาที่ทำหน้าที่แผ่ขยายอาณาจักรสู่การลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ นอกเหนือจากธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว

คนสุดท้องคือ "โฮ กวง เจิ้ง" สถาปนิกหนุ่มที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทอาร์คิเทรฟ ผู้ออกแบบ "ไทยวาทาวเวอร์" ริมถนนสาธรและโครงการยักษ์ใหญ่ที่ภูเก็ตอันได้แก่ ดุสิตลากูน่า ไทยวาพลาซ่า เชราตันแกรนด์โฮเต็ล แปซิฟิกไอแลนด์คลับ

"ผมขอขอบใจเหลียนฟ่ง ภรรยาของผม ที่ให้กำเนิดลูกสามคนและเลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้คนด้วยความรักและทะนุถนอม ขณะเดียวกันก็ทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนตลอดชีวิต การแต่งงานของเรา ความสนใจในด้านงานวิจัยมันสำปะหลัง และวุ้นเส้นของเธอก็เป็นตัวชี้นำในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สัญชาตญานในการวินิจฉัยแยกแยะในเรื่องตัวบุคคลและธุรกิจ มีส่วนช่วยให้ผมก้าวเดินไปข้างหน้าได้โดยไม่หลงทิศผิดทาง (ในยามสับสน) การบอกว่าผมรักเธอ อาจทำให้ผมรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ แต่ผมสามารถบอกได้ว่า ถ้าไม่มีเธอแล้วชีวิตของผมคงจะไม่เป็นเช่นทุกวันนี้" โฮริทวาได้บันทึกความรู้สึกต่อสุดที่รักของเขาไว้เช่นนั้น

"ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ" ตลอดชีวิตเจ็ดสิบปีของโฮริทวาได้พิสูจน์แล้วว่าเขามีศักยภาพที่จะสร้างอาณาจักรของตัวเองได้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้พ่อตาเลย

จากกิจการโรงงานวุ้นเส้นพัฒนามาสู่ธุรกิจมันสำปะหลัง ซึ่งโฮริทวาเคยเป็นนายกสมาคมมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ปัจจุบันกิจการในเครือกลุ่มไทยวามีไม่ต่ำกว่า 75 บริษัท ที่โฮ ริทวาได้สร้างไว้ให้กับลูกหลานโดยมีเหลียนฟ่งเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us