Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กันยายน 2550
พิษน้ำมันหั่นจีดีพีอุตสาหกรรม             
 


   
search resources

Commercial and business




กระทรวงอุตสาหกรรมเตือนผู้ผลิตรับมือน้ำมันแพงและซับไพร์มที่ยังมีแนวโน้มเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจยาวถึงปี 2551 หั่นเป้าจีดีพีภาคอุตสาหกรรมปีนี้ขยายตัวเหลือ 4.5% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 5% หรือคิดเป็นมูลค่าที่โตลดลง 5 หมื่นล้านบาท เผยปัจจัยฉุดจีดีพีรวมลดมาจากการบริโภคในประเทศชะลอตัวหนัก ด้านกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมใช้จังหวะบาทแข็ง ปรับตัวทั้งด้านการผลิต บริหาร และการตลาด หลังประเทศเปิดเสรี

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำมันแพงที่สูงขึ้นถึงระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรล และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพร์ม) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ลดลงซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มีนโยบายที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ปรับแนวคิดการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นมูลค่าเพิ่มของการผลิตให้มากขึ้น พร้อมกับให้ทุกฝ่ายให้คำแนะนำการลดต้นทุนต่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) เพื่อรับผลกระทบล่วงหน้าที่คาดว่าจะต่อเนื่องในปี 2551

“ จีดีพีภาคอุตสาหกรรมปีนี้คงจะเติบโตในอัตราที่ลดลงซึ่งทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหรือสศอ.ประเมินว่าจะลดลงจากเป้าหมายที่วางไว้เดิมที่คาดว่าจะโต 5% คงจะเฉลี่ยไม่ถึง 5% ซึ่งจีดีพีอุตสาหกรรมจะดูที่มูลค่าเพิ่มมาคิด ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมเน้นการผลิตนั้นไตรมาส 4 คาดว่าจะขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่ขยายตัว 5.7% เนื่องจากช่วงสิ้นปีการบริโภคจะมีมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงสิ้นปีที่จะมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพื่อรองรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ รวมถึงโบนัสราชการออก ”นายปิยะบุตรกล่าว

นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสศอ. กล่าวว่า ปี 2549 จีดีพีภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6% และปีนี้เดิมตั้งเป้าหมายที่จะขยายตัวที่ระดับ 5 % แต่จากการที่ภาพรวม 2 ไตรมาสแรกขยายตัวเพียง 4.4% ดังนั้นครึ่งปีหลังที่เหลือจะต้องมีการขยายตัวให้ถึง 5.5% ขึ้นไปซึ่งดูแล้วภาพรวมไม่น่าจะเป็นไปได้จึงลดเป้าหมายลงคาดว่าจะขยายตัวเพียง 4.5-5%

“จีดีพีภาคอุตสาหกรรมปีนี้ที่โต 4.5% นั้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป้าเดิมโต 5.% จะมีมูลค่า 3.05 ล้านล้านบาท ซึ่งภาพรวมที่ทำให้จีดีพีลดลงเพราะการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด”นายสมชายกล่าว

สำหรับปัจจัยที่จะต้องติดตามในปี 2551 คือ ปัญหาราคาน้ำมันว่าจะแพงมากน้อยเพียงใด และซับไพร์มจะส่งผลให้จีดีพีของสหรัฐอเมริกาเติบโตในระดับ 2% ตามที่สหรัฐคาดหวังได้หรือไม่ซึ่งจะมีผลต่อภาคการส่งออกไทยโดยรวมในปีหน้าเนื่องจากไทยพึ่งพิงตลาดส่งออกสหรัฐถึง 15% ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่พอสมควรประกอบกับการส่งออกของไทย 1 ใน 3 ของประเทศมาจากอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบในประเทศเท่านั้น ขณะที่อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบหลักในไทยเช่น อาหาร และสิ่งทอการส่งออกค่อนข้างได้รับผลกระทบจากภาวะบาทแข็งค่า

จี้อุตฯฉวยจังหวะบาทแข็งปรับตัวรับค้าเสรี

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หลังจากไทยมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศอื่นๆ ไปแล้วนั้น สำหรับอุตสาหกรรมไทยที่ยังไม่มีการปรับตัว ขอแนะนำให้เริ่มปรับตัวได้แล้ว โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่จะนำเข้าเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีในการผลิตในราคาถูก เพื่อนำมาปรับเปลี่ยน และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้ โดยแนวทางในการปรับตัวที่สำคัญมี 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านการบริหาร และด้านการตลาด

โดยด้านการผลิต ควรปรับสายการผลิตสินค้าให้สั้นและรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ใช้เวลาในการผลิตลดลง หรือนำเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้เพื่อความรวดเร็วในการส่งมอบ รวมกลุ่มกันเป็นคลัสเตอร์ เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีมาตรฐานเดียวกัน และนำระบบการผลิตแบบลดการสูญเสียหรือขจัดต้นทุนส่วนเกินมาใช้ เพื่อลดของเสียในการผลิต รวมถึงลดการเก็บสต็อกสินค้า และเปลี่ยนการผลิตและสินค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ส่วนด้านการบริหาร ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารเพื่อความรวดเร็วและประหยัดเวลา เช่น ซอฟต์แวร์โปรแกรมบัญชี โปรแกรมสินค้าคงคลัง การสร้างพันธมิตรทางการค้าและจับคู่ทางธุรกิจ พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย เรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาในการติดต่อกับประเทศที่จะไปค้าขายด้วย รวมถึงหมั่นวิจัยด้านการผลิตหรือการตลาด และติดตามข่าวสารการค้าและการบริหารให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ขณะที่ด้านการตลาด ควรมองหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม ส่งเสริมการขายภายในประเทศให้มากขึ้น พัฒนารูปแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยเปลี่ยนจากรับจ้างผลิตมาเป็นการผลิตที่รับออกแบบให้ด้วย สร้างตราสินค้าของตนเอง หากสินค้าไทยที่ต้องการจะเป็นแบรนด์ของโลก น่าจะพิจารณาใช้สินค้าของตนเป็นผู้สนับสนุนในกิจกรรมระหว่างประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us