Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 กันยายน 2550
ยูนิเวนเจอร์เดินหน้าฟื้นตึกร้าง ทางลัด “เจริญ” สู่เบอร์หนึ่งอสังหาฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูนิเวนเจอร์

   
search resources

ยูนิเวนเจอร์, บมจ.
Real Estate




ยูนิเวนเจอร์หวนคืนอสังหาฯ หลังเปิดทางทายาทสิริวัฒนภักดีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ใช้วิกฤตครั้งใหม่สร้างโอกาส ต่อยอดเครือข่ายธุรกิจอสังหาฯ ของกลุ่มเจ้าพ่อน้ำเมาให้เติบโตแบบก้าวกระโดด หอบเงินทุนพันล้านเดินหน้าเทคโอเวอร์โครงการสร้างค้าง-มีปัญหาการเงิน พร้อมเจรจาขอถือหุ้นใหญ่ในแกรนด์ยูนิตี้ฯ เพื่อรุกอสังหาฯ ระดับกลางเต็มตัว

หลังจากเป็นที่เปิดเผยว่า บริษัท อเดลฟอส ซึ่งถือหุ้นโดย ฐาปน และปณต ทายาทของเจริญ สิริวัฒนภักดี ราชันย์น้ำเมาผู้สร้างอาณาจักรธุรกิจเบียร์ช้าง ได้เข้ามาซื้อหุ้นยูนิเวนเจอร์ (UV) จากการเพิ่มทุนในสัดส่วน 29.18% และจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเก่า ซึ่งอยู่ระหว่างการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 51.57% และกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยยังเปิดทางให้ผู้บริหารเก่ายังมีบทบาทด้านการบริหารนั้น เป็นสัญญาณที่บอกว่า เจริญ ขยับแล้วที่จะรุกคืบในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อีกก้าวหนึ่ง และเป็นทางลัดที่ส่งให้สิริวัฒนภักดีก้าวไปสู่เบอร์หนึ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็วที่สุด

เหตุผลที่ทายาทของเจริญเลือกยูนิเวนเจอร์ คงไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของคอนเนคชั่นที่แนบแน่นกับผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น แต่ตัวของยูนิเวนเจอร์เองถือว่ามีศักยภาพ ทั้งในแง่ธุรกิจที่ทำที่ถือว่ามีการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ พลังงาน ระบบที่จอดรถ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ผ่านบริษัทร่วมทุน ได้แก่ แกรนด์ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ (UV-แอล.พี.เอ็น.ฯ), ปริญเวนเจอร์ (UV-ปริญสิริ) และ เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ (UV-แสนสิริ) รวมทั้งประสบการณ์ด้านการพัฒนาที่ดิน ทำให้ยูนิเวนเจอร์เป็นหนทางที่เหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแค่เงินทุน แลนด์แบงก์จำนวนมาก และกลุ่มบริษัท ที.ซี.ซี. แลนด์ในมือเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนอาณาจักรธุรกิจให้ไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้ในพริบตา

สิ่งที่เจริญกำลังทำ คือ ใช้ยูนิเวนเจอร์รุกเข้าไปสู่อสังหาริมทรัพย์ระดับกลาง และวางตัวให้ ที.ซี.ซี. จับตลาดระดับบน อีกทั้งการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ของทายาทเจริญ ทำให้ทิศทางต่อจากนี้ของยูนิเวนเจอร์ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่ง อรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ ทำให้มีความพร้อมที่จะเดินหน้าในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มที่ หลังจากในปีที่แล้วได้หยุดไป เนื่องจากมองเห็นภาวะชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงหันไปเน้นน้ำหนักในธุรกิจอื่นแทน

ทั้งนี้การเข้ามาของผู้ถือหุ้นใหม่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน ทำให้บริษัทมีความพร้อมที่จะพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูงได้ ซึ่งจะสร้างโอกาสในการแข่งขัน และการเติบโตของบริษัทฯ ได้มากขึ้น ซึ่งจะเน้นการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มประสบปัญหาในการดำเนินงาน (Distress Asset) ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้อยู่ 2-3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ โดยการรุกเข้ามาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งนี้ จะทำให้สัดส่วนรายได้ในส่วนนี้ปรับเพิ่มเป็น 78% ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

การเข้าไปเทคโอเวอร์ตึกร้าง หรืออาคารค้างที่มีปัญหาในการดำเนินงานที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวมนับแสนล้านบาท เป็นทางเลือกที่เจริญเร่งทำในการแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสที่จะเติบโตในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างก้าวกระโดด เพราะในช่วงที่ผ่านมามีหลายโครงการที่มีศักยภาพสูง อยู่ในทำเลดี แต่เริ่มติดขัดมีปัญหาในการดำเนินงาน หากได้พัฒนาต่อก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างรวดเร็วกว่าการซื้อที่ดินพัฒนาเอง

อีกทั้งสถาบันการเงินอยู่ในช่วงเร่งระบาย NPA และ NPL ในมือออกมา เพราะลดภาระกันสำรองหนี้ ซึ่งจะกลายเป็นภาระทางการเงิน บวกกับยูนิเวนเจอร์ก็มีความชำนาญด้านนี้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่ยูนิเวนเจอร์จะขอเจรจากับแอล.พี.เอ็นฯ และกลุ่มเยาววงศ์ 2 ผู้ร่วมทุน เพื่อขอถือหุ้นใหญ่ในแกรนด์ยูนิตี้ฯ ในสัดส่วน 60% เพราะเป็นบริษัทที่ซื้ออาคารร้างมาพัฒนาต่อโดยเฉพาะ ซึ่ง อรฤดี เชื่อมั่นว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่อยู่ในระดับต่ำที่ 0.07: 1 และเงินทุนกว่า 1,000 ล้านบาท จะเป็นความพร้อม ทำให้การพัฒนาโครงการประสบความสำเร็จได้ ในขณะที่ปริญเวนเจอร์ จะยังคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ 49% เน้นการพัฒนาโครงการในแนวราบเช่นเดิม และยังปล่อยให้ปริญสิริเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางต่อไป

สำหริบทิศทางในอนาคต ยูนิเวนเจอร์สนใจที่จะพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้ในระยะยาวให้กับบริษัทด้วย เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน อาจจะเป็นอาคารสร้างค้างหรือซื้อที่ดินมาพัฒนาเองก็ได้ ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่ายูนิเวนเจอร์ได้จัดตั้งบริษัท เลิศรัฐการ จำกัด เพื่อเช่าที่ดิน 5 ไร่ บริเวณแยก ถ.เพลินจิตและ ถ.วิทยุ ติดสถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ที่ปัจจุบันเป็นอาคารพาณิชย์ใกล้กับแอทธินี ทาวเวอร์ อาคารสำนักงานของ ที.ซี.ซี. แลนด์ เพื่อพัฒนาโครงการโรงแรมหรืออาคารสำนักงานด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us