Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 กันยายน 2550
รื้อร่างพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2535 อุดช่องว่างหรือเปิดทางทุจริต             
 


   
search resources

Commercial and business




- จับตาแก้ร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เพิ่มวงเงินจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท รัฐบาลทำเพื่อใคร!
- ชงคลังและสภาพัฒน์ฯตรวจสอบโครงการทุก ๆ 5 ปี
- ปิดทางนักการเมือง ข้าราชการรุมงาบเค้กก้อนโต

นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐหรือพ.ร.บ.ร่วมทุน2535 ที่กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายร่วมทุนดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ คือ ให้เพิ่มมูลค่าโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 3,000 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุน2535 จากเดิมที่ใช้สำหรับโครงการที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของโครงการลงทุนในปัจจุบันที่แต่ละโครงการล้วนมีมูลค่ามาก รวมถึงการตีความให้มีความชัดเจนและกระชับมากขึ้น

การปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาการตีความและอุดช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงปรับปรุงกระบวนการพิจารณาให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเพิ่มมูลค่าโครงการเป็น 3,000 ล้านบาทนั้น ได้ให้กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ ร่วมกันทบทวนมูลค่าขั้นต่ำของโครงการทุก ๆ 5 ปี และให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการดำเนินการสำหรับโครงการที่ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน

หวั่นซ้ำรอยสุวรรณภูมิ

แต่ ทั้งนี้การปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเป็นเป็นจริง เพราะถึงแม้ว่าการแก้ไขกฎหมายร่วมทุนจะเป็นการอุดช่องโหว่การทุจริต แต่ต้องไม่ลืมว่ากฎหมายไทยส่วนใหญ่มักมีช่องว่างให้ผู้ปฎิบัติเข้าไปทุจริตได้ ซึ่งในอดีตมีโครงการทุจริตเกิดขึ้นหลายโครงการ เช่น โครงการก่อสร้างทางยกระดับโฮปเวลล์,การฮั้วประมูลโครงการของภาครัฐ โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นอภิมหาโปรเจกต์โคตรโกง เป็นต้น ที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายเป็นแนวทางในการทุจริต

ดังนั้น การที่กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯเสนอให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.ร่วมทุนใหม่จะต้องตีความและระบุความหมายของคำให้ชัดเชน เพื่อไม่ให้มีช่องว่างให้นักการเมือง ข้าราชการ หรือเอกชน หาทางหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายหรือทุจริต เพื่อโกงกินเงินงบประมาณแผ่นดินได้อีก

สำหรับกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จะต้องดูแลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า การก่อสร้าง ขยาย และถนนนั้น สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบในร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 แล้ว ซึ่งทางกระทรวงฯเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มมูลค่าโครงการจาก 1,000 ล้านบาทเป็น 3,000 ล้านบาท เพราะจะทำให้โครงการสามารถทำได้เร็วขึ้น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณามากเกินไป

ส่วนจะส่งผลให้โครงการมีความล่าช้าหรือไม่นั้น โดยหลักการของพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535การที่จะให้เอกชนเข้ามาใช้สิทธิของรัฐนั้นสิ่งที่ควรจะศึกษา คือ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตมากกว่า ส่วนเรื่องวงเงินที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่สำคัญเท่ากับว่าโครงการที่ดำเนินการส่งผลกระทบอะไรต่อประชาชนหรือเปล่ามากกว่า

ในแง่ของความโปร่งใสนั้น มองว่าในหลักการของพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 มีหัวข้อต่าง ๆหลายข้อ ดังนั้น จะต้องศึกษาให้มีความชัดเจน เพราะหากมีความชัดเจนรอบคอบก็จะส่งผลดีต่อส่วนรวม

“ในส่วนของหน่วยงานเจ้าของโครงการสิ่งที่จะต้องเตรียม คือ การเตรียมโครงการให้มีความพร้อมในเรื่องของรายละเอียดต่างๆ เพราะคำว่าโครงการขนาดใหญ่มันจะมีผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิต ดังนั้น จะต้องมีการศึกษาและกำหนดระยะเวลาสำหรับโครงการที่จะต้องดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ คือ ต้องศึกษาอย่างรอบคอบดูทุกมิติ ซึ่งถึงแม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะทำให้ล่าช้าไปบ้าง แต่ก็ดีกว่ารีบร้อนแล้วมีข้อบกพร่อง อย่างไรก็ตาม การที่กระทรวงการคลังต้องการแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าว ก็เพื่อให้เกิดความรอบคอบ แต่ก็ไม่ควรตีความกันมากเกินไป ควรมีการเขียนไว้ในพ.ร.บ.ด้วยว่าอะไรที่หน่วยงานรัฐควรไปปรับปรุงก็ต้องตีความมาให้ชัดเจน”สรรเสริญ กล่าว

ปิดทางเลี่ยงกฎหมาย

แต่ ทั้งนี้การแก้ไขพ.ร.บ.ร่วมทุนฯดังกล่าวจะเป็นการทำให้กฎหมายมีความชัดเจนและครอบคลุม รวมถึงลดปัญหาการตีความตัวบทกฎหมาย และการหลีกเลี่ยงกฎหมายที่เกิดขึ้นในอดีตได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การร่วมงานหรือดำเนินการโดยเอกชนในกิจการของรัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส

สำหรับสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2535 เพื่อแก้ไขปัญหาการตีความและอุดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย มีดังนี้ การกำหนดนิยามคำว่า การร่วมงานหรือดำเนินการ ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ให้เอกชนลงทุนไปก่อนและภาครัฐผูกพันที่จะชำระคืนภายหลัง ได้แก่ โครงการจ้างเหมาเบ็ดเสร็จ และให้กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุนที่มีลักษณะร่วมทุนอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ยังให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการสำหรับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท โดยออกเป็นกฎกระทรวงและเปลี่ยนบทบาทของคณะกรรมการประสานงาน เป็น คณะกรรมการกำกับติดตามโครงการ และแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการ เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ และกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการกรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา และการสิ้นสุดสัญญาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us