Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กันยายน 2550
พลิกโฉมแฟชั่นอิมพอร์ตแบรนด์บ.แม่ลุยเอง-ไมเนอร์ฯปรับทัพรับศึก             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
แมทธิว กิจโอธาน
Garment, Textile and Fashion




ตลาดสินค้าแฟชั่นอินเตอร์แบรนด์เริ่มพลิกโฉมหน้า บริษัทแม่เข้าเกียร์ลุยเอง หลายแบรนด์จ่อคิวรุกตลาดไทย ส่งผลให้ตลาดแข่งขันรุนแรง ไมเนอร์ฯ ชี้ต้องปรับตัวขนานใหญ่รับศึก เดินหน้ารีเฟรชปรับแผนตลาดแบรนด์เอสปรีครั้งใหญ่รอบ 19 ปี ชู 4 กลยุทธ์หลักลุย

นายแมทธิว กิจโอธาน ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดแฟชั่นอินเตอร์แบรนด์มีแนวโน้มที่จะแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศแต่ละแบรนด์ที่จะเข้ามาทำตลาดในไทยและในเอเชียเอง ซึ่งจะสามารถทำราคาลงมาต่ำได้โดยอาศัยความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่สนับสนุนได้เต็มที่ แบรนด์ดังที่เริ่มเข้ามาแล้ว คือ แบรนด์เอ็มเอ็นจี แบรนด์ซาร่าจากสเปน และที่จะเข้ามาเช่น แบรนด์แก๊ปส์ แบรนด์บานาน่า แบรนด์พ็อพช็อป เป็นต้น

จากเดิมที่ตลาดเป็นลักษณะของการนำเข้ามาทำตลาดโดยผู้นำเข้า ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะต้องเสียภาษีนำเข้าเท่ากันคือ 30% ซึ่งทำให้การตั้งราคานั้นจะอยู่บนพื้นฐานต้นทุนภาษีที่เท่ากัน เมื่อบริษัทแม่มาเองสามารถที่จะปรับราคาจำหน่ายลงมาได้เพื่อขยายฐานตลาดและสร้างแบรนด์ รวมทั้งการใช้กลยุทธ์แบบรีจินัลซึ่งทำให้แต่ละแบรด์ที่ทำตลาดในไทยต้องปรับตัวทั้งโลคอลแบรนด์และอินเตอร์แบรนด์ สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาสามารถจับต้องได้

ทั้งนี้ตลาดแฟชั่นแบรนด์ในไทยมีมูลค่ารวม 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นอิมพอร์ตแบรนด์ประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยกลุ่มไมเนอร์ฯ มี 3 แบรนด์ทำตลาด คือ เอสปรี มียอดขาย 730 กว่าล้านบาท สัดส่วน 65-70% บอสซินี่มียอดขายกว่า 400 ล้านบาท และทิมเบอร์แลนด์มียอดขายกว่า 200 ล้านบาท รวมกว่า 1,300 ล้านบาท จับตลาดระดับกลาง ซึ่งมีมูลค่าตลาดประมาณ 5,000 ล้านบาท จากตลาดอิมพอร์ตแบรนด์ โดยก่อนหน้านี้ได้ตัดสินใจเลิกทำตลาด 2 แบรนด์คือ แรมเพจ และสแนคกานอล

"แบรนด์อินเตอร์ที่บริษัทแม่มาทำเอง ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ที่ทำตลาดอยู่เดิมโดยดีลเลอร์หรือผู้นำข้า ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจก็ยังไม่กระเตื้องมาก โดยช่วง 8 เดือนแรกที่ผ่านมานี้ ตลาดแฟชั่นนำเข้าตกลงไปมากกว่า 20% เพราะว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง หลายแบรนด์ต้องจัดเซลล์โปรโมชัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้โครงสร้างราคาเสีย แต่ต่อไปราคาต่ำลงเพราะบริษัทแม่มาทำเองยิ่งกระทบมากขึ้น" นายแมทธิว กล่าวยอมรับ

สำหรับการปรับตัวของไมเนอร์ฯ นั้นขณะนี้ได้โฟกัสไปที่แบรนด์เอสปรี ที่มีการปรับแผนการตลาดและรีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 19 ปีที่ทำตลาดในไทย โดยมียอดขายกว่า 730 ล้านบาทปีที่แล้ว และจุดขายมากกว่า 99 จุดมากที่สุดในเอเชีย โดยยึด 4 กลยุทธ์หลักคือ 1.การปรับราคาลงประมาณ 20-25% และแยกระดับราคาให้เหลือเพียง 17 ราคาจากเดิมที่มากถึง 40 ราคา ในรูปแบบเฟอร์เฟค ไพรซ์ (Perfect Price) กำหนดราคา 3 ระดับ ได้แก่ เบสิก ระดับกลาง และพรีเมียม อีกทั้งยังปรับให้ถูกกว่าหรือเทียบเท่ากับเอสปรีในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ จากเดิมที่เอสปรีไทยแพงกว่า 20-30% เช่นเสื้อทีเชิร์ตจะเริ่มต้นที่ 490 บาท จากเดิมเริ่มที่ 1,000 กว่าบาท จะเน้นขายปริมาณไม่เน้นมาร์จิ้น ลดราคาได้เพราะสั่งของเข้ามาจำนวนมาก

2. การขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่วัยรุ่นชายมากขึ้น ด้วยการนำเข้าแบรน์อีดีซีเมนบายเอสปรี มาจำหน่ายจับกลุ่มอายุ 16-25 ปี 3.การเพิ่มสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านเอสปรีมากขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 50,000 ชิ้นจากเดิมที่มี 28,000 ชิ้น และเพิ่มความถี่ในการวางคอลเลกชันใหม่เฉลี่ย 10 วันต่อครั้ง จากเดิม 1-2 เดือนต่อครั้ง โดยคัดเลือกสินค้าตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายตามแต่ละพื้นที่ของร้านเอสปรี 4.ชูคอนเซปต์เป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ใส่ได้ทุกโอกาส

ทั้งนี้ได้ตั้งงบประมาณกว่า 30 ล้านบาทใช้ในเฟสแรกคือ 3 เดือนจากนี้ เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ว่าเอสปรีเปลี่ยนแปลงอย่างไรด้วยแคเมปญ What ' new @ Esprit พร้อมกับมีการจัดแคมแปญลุ้นโชค ขณะเดียวกันยังได้ขยายฐานลูกค้าโดยจับมือกับแบงก์กสิกรไทยทำกิจกรรมกับลูกค้าแบงก์กสิกรไทยโดยเฉพาะที่มีมากกว่า 6 ล้านคน เพิ่มขนาดร้านเอสปรีให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรวมสินค้าทุกไลน์ โดยเปิดให้บริการแล้วที่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เอ็มโพเรี่ยม และมีแผนจะเปิดร้านอีดีซีเพิ่มขึ้นด้วย โดยตั้งเป้าหมายยอดขายเอสปรีในปีนี้เพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว และคาดว่าปีหน้าจะเติบโต 12%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us