Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 กันยายน 2550
เบรกบัวหลวงขายหุ้นACL คลังให้รอกฎหมายแบงก์ผ่านสนช.             
 


   
www resources

โฮมเพจ หลักทรัพย์บัวหลวง, บมจ.

   
search resources

หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
Funds




รมว.คลังในฐานะผู้กำกับนโยบายและผู้ถือหุ้นใหญ่เบรกธนาคารกรุงเทพขายสินเอเซียให้จีน-มาเลย์ในช่วงนี้ ระบุอยากให้รอกฎหมายสถาบันการเงินผ่านสภาฯ ก่อน แย้มวันนี้คลังเสนอ พ.ร.บ.เงินตราเข้า ครม.ก่อนผลักดันเข้า สนช.รอบใหม่ ด้านธปท.โต้ไม่ใช่ปัญหามาสเตอร์แพลน1 เหตุสถาบันการเงินรายอื่นปรับตัวได้

กรณีที่สถาบันการเงินจากจีนและมาเลเซียสนใจเข้ามาซื้อหุ้นธนาคารสินเอเชีย (ACL) จากธนาคารกรุงเทพ (BBL) ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหุ้นของต่างชาติใน ACL เกินกว่า 25% นั้น นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า ธนาคารสินเอเซียไม่ใช่สถาบันการเงินที่อ่อนแอ ดังนั้นการที่จะมีผู้ถือหุ้นต่างชาติเกินกว่า 25% ก็ควรจะรอให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันการเงินฉบับใหม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวจะมีการระบุข้อกำหนดในส่วนดังกล่าวอย่างชัดเจน

"กระทรวงการคลังกำลังผลักดันให้กฎหมายฉบับดังกล่าวผ่านการพิจารณาของ สนช.และออกมามีผลบังคับใช้ให้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ เช่นเดียวกับกฎหมายการเงินอีก 3 ฉบับที่รอการพิจารณาอยู่" นายฉลองภพกล่าวและว่า กระทรวงการคลังจะเสนอร่าง พ.ร.บ.เงินตรา เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (18 ก.ย.) จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าน่าจะเสนอให้ สนช.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า พร้อมกับร่างพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ส่วนร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก คาดว่าจะใช้เวลาปรับปรุงแก้ไขและชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายราว 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะเสนอเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของ สนช.

ส่วนธนาคารจากต่างประเทศ 2 แห่ง ที่สนใจร่วมทุนธนาคารสินเอเซีย ได้แก่ ธนาคารอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า (ICBC) จากจีน และธนาคาร CIMB จากมาเลซีย ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรียกค่าปรับจากธนาคารกรุงเทพ กรณีที่ไม่สามารถลดสัดส่วนหุ้นธนาคารสินเอเซียให้ต่ำกว่า 10% ได้ตามกำหนดเวลาที่เคยขอผ่อนผันไว้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพถือหุ้นอยู่ 19.2% ส่วนต่างชาติปัจจุบันถือหุ้นแล้ว 21.7%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ซึ่งได้รับมอบหมายจากธนาคารกรุงเทพให้รับผิดชอบดีลดังกล่าว ได้นำตัวแทนผู้บริหารธนาคาร ICBC และ CIMB เข้าพบนายฉลองภพเพื่อรับทราบนโยบายของกระทรวงการคลัง แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทั้งผู้ดูแลนโยบายและผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารสินเอเซีย เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะ

แย้งไม่ใช่ปัญหาแผนมาสเตอร์แพลน1

ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้ให้สถาบันในระบบมีการปฏิบัติตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ฉบับที่ 1 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการเงิน ไม่สามารถถือหุ้นสถาบันการเงินแห่งอื่นได้ (One presence) ถือเป็นหลักการที่เหมาะสม แต่เท่าที่ได้ให้เวลาในการปรับตัวขณะนี้ เหลือเพียงธนาคารกรุงเทพ เพียงรายเดียวที่ยังถือหุ้นในธนาคารสินเอเชีย เพื่อรายย่อยอยู่ ส่วนรายอื่นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ครบทุกแห่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธนาคารกรุงเทพ จะสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธปท.ได้โดยเร็ว ส่วนการดำเนินการเปรียบเทียบปรับนั้น เป็นเรื่องของฝ่ายตรวจสอบสถาบันการเงิน ดังนั้น ในภาพรวมไม่ได้แสดงว่า นโยบายตามมาสเตอร์แพลนที่ได้ออกไปได้สร้างปัญหาให้กับระบบสถาบันการเงิน จึงไม่ได้มีการยืดเวลาออกไปให้ธนาคารกรุงเทพ หรือทบทวนแผนงาน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากกรณีธนาคารสินเอเชียแล้ว ก่อนหน้านี้ ยังมีกรณีของธนาคาร จีอีมันนี่ เพื่อรายย่อย ที่เข้าถือหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ได้ใช้วิธีการขายหุ้นธนาคารจีอี เพื่อรายย่อยออกไป แต่ใช้วิธีนำธนาคารจีอี มันนี่ ไปควบรวมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาแทน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us