Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535
"ที่ปรึกษาทางธุรกิจทางเลือกของนักลงทุนต่างชาติยุคฟื้นฟู"             
 


   
search resources

วินัย อินถาวงศ์
Consultants and Professional Services
Laos




"ลาวกำลังเข้าสู่ยุคฟื้นฟูประเทศ หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายให้เอกชนเข้ามาจัดการลงทุนมากขึ้น หนทางหนึ่งของการลงทุนฟื้นฟูอยู่ที่บทบาทสำคัญของบริษัทที่ปรึกษาซึ่งกำลังเฟื่องฟูอย่างมาก"

ถ้าหากพิจารณาจากจำนวนของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจในเวียงจันทร์แล้ว จะพบว่าลาวกำลังเผชิญกับความยุ่งยากจากการพัฒนาประเทศอยู่ไม่น้อยทีเดียว

เพราะนับจากปี 1988 เป็นต้นมา มีบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจทั้งประเภทให้บริการทั่วไปและให้คำปรึกษาเฉพาะด้านผุดขึ้นเป็นจำนวนนับสิบแห่ง ในขณะที่ประเทศเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติและเริ่มปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น

ผู้ที่ก่อตั้งกิจการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นอดีตข้าราชการซึ่งมีประสบการณ์และสายสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงกลไกของระบบราชการได้ นอกจากนั้นก็จะเป็นชาวต่างชาติที่พำนักในลาวที่เล็งเห็นว่าดินแดนซึ่งมีชาวนาอยู่จำนวน 4 ล้านคนและไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลยแห่งนี้ แท้จริงแล้วกลับอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและแร่ธาตุต่าง ๆ

สำหรับธุรกิจที่ปรึกษาที่ให้บริการเฉพาะด้านก็มีอาทิบริษัทบูรพา ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งถนัดทางด้านป่าไม้ เอชอีซี ผู้เชี่ยวชาญด้าน วิศวกรรมพลังน้ำ เอสเค คอนซัลแทนท์ ทางด้านการก่อสร้าง เอสเอ็มอีดี ทางด้านการพัฒนาชนบท หรือเอซีอี ซึ่งถนัดในธุรกิจการตรวจสอบบัญชี

นอกจากนั้นยังมีที่ปรึกษาอีกบางส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอื่น ๆ อีก แล้วแต่ภูมิหลังทางด้านภาษาและวัฒนธรรม อย่างกรณีของ วิบูน พะนะจักชาวลาวที่อพยพไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ปัจจุบันกลับมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจจากฝรั่งเศสเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีบริษัทที่ปรึกษาบางแห่ง เช่น เอซีอี ของดาววอน พะจันทะวง ซึ่งให้บริการกับบริษัทหลายสัญชาติด้วยกัน ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากว่าตัวดาววอนเองนั้นมีความสามารถใช้ภาษาทั้งลาว ไทย ฝรั่งเศส อังกฤษและเวียดนาม

เอซีอี เป็นชื่อกิจการที่ย่อมาจาก ACCOUNTING CONSULTANCY ENTERPRISE ก่อตั้งเมื่อปี 1989 ด้วยทุนเรียกชำระแล้ว 10,000 ดอลลาร์ โดยผู้ถือหุ้นกิจการราว 30 รายนั้นเป็นข้าราชการระดับสูงจากกระทรวงอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์, นักธุรกิจในท้องถิ่นและชาวต่างชาติอีก 4 ราย ส่วนผลกำไรต่อปีนั้นตกราว 37,500 ดอลลาร์

ธุรกิจที่เอซีอีดำเนินการนั้นมีทั้งส่วนของบริการด้านการตรวจสอบบัญชี บริการฝึกอบรม บริการโทรสารและเลเซอร์-พรินติ้ง นอกจากนั้นยังจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ โดยมีอรพิม อินถาวง ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมเจ้าอนุ ในเวียงจันทร์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ส่วนตัวดาววอนซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปนั้น เคยเรียนรู้กลยุทธ์การค้ากับผู้เชี่ยวชาญฝรั่งเศสตั้งแต่ก่อนปี 1975 หลังจากนั้นเข้าทำงานในกรมบัญชีของกระทรวงอุตสาหกรรมอีก 7 ปี ก่อนจะออกมาจับงานในภาคธุรกิจ

เอซีอีอ้างว่าเคยให้บริการแก่บริษัทในลาวหลายแห่งและบริษัทต่างชาติอีก 25 แห่ง นอกจากนั้นยังเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ เดล ชาง, ดีทแฮล์ม, ฮอนด้า มอเตอร์ไซเคิลและจอยท์ ดีเวลลอปเมนท์แบงก์ด้วย

เอสเอ็มอีดี หรือ SOCIETE MIXTE D'ETUDE E DE DEVELOPMENT เป็นธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาชนบท ก่อตั้งเมื่อมกราคม 1989 โดยเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง SOCIETE D' INVESTESSEMENT ET DE DEVELOPMENT INTERNATIONA (SIDI) แห่ง ฝรั่งเศส เวียงจันทน์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต คอร์ป" และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจเกษตรวิศวกรไฮโดรลิก นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจและนักการธนาคารอีกจำนวน 12 คน

SIDI นั้นเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับการลงทุนทางด้านการผลิตในโมรอกโก, ตุรกีและบังคลาเทศส่วน "เวียงจันทน์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต คอร์ป" นั้นเป็นธุรกิจด้านนำเข้าและส่งออกของเมืองเวียงจันทน์เมื่อแรกตั้งกิจการนั้นมีทุนจดทะเบียนจำนวน 30,000 ดอลลาร์ ต่อมาเพิ่มเป็น 70,000 ดอลลาร์ และสัดส่วนการถือครองหุ้นระหว่างฝรั่งเศสกับลาวเมื่อก่อตั้งกิจการที่เป็นแบบ 50-50 ก็เปลี่ยนเป็นฝรั่งเศส 40% "เวียงจันทน์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต" 40% และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 20%

"บริษัทฝรั่งเศสเป็นผู้จัดสรรทุนและช่วยเราดำเนินการทางธุรกิจด้วย" โอรถ จุลละมนตี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของลาว และปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของเอสเอ็มอีดีชี้ และขณะนี้เจ้าหน้าที่ของ SIDI ราว 20-25 คนก็กำลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้านการพัฒนาชนบท และโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกหลายโครงการให้กับสำนักงานเลขาธิการลุ่มแม่น้ำโขง, ธนาคารโลก, ยูเอ็นดีพีและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย อีกทั้งยังให้คำปรึกษาทางด้านผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมแก่โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ "น้ำเทิน" ของ "สโนวี เมาน์เทน เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ป" แห่งออสเตรเลีย นี่ยังไม่นับถึงการดำเนินการตั้งศูนย์ฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งในเวียงจันทน์เมื่อปีที่แล้วด้วย

"เอสเค คอนซัลแทนท์" มีแสงคำ พินิธ เป็นเจ้าของและบริการกิจการ นับเป็นธุรกิจที่ปรึกษาเฉพาะด้านหน้าใหม่ ก่อตั้งเมื่อมกราคม 1991 ด้วยทุนเรียกชำระแล้วจำนวน 10,000 ดอลลาร์ มีสถาปนิกในท้องถิ่นจำนวน 4 คน วิศวกร 1 คนและเลขานุการอีก 1 คน เน้นให้คำปรึกษาทางด้านโครงการเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง การออกแบบ และการประมูลโครงการ

เพียงชั่วเวลาไม่ถึงปี เอสเค คอนซัลแทนท์ก็สามารถรับงานบางส่วนจากธนาคารโลก ยูเอ็นดีพีและยูเอ็นเอชซีอาร์ รวมทั้งยังรับเหมาโครงการด้านวิศวกรรมจากบูรพา ดีเวลลอปเมนท์ด้วย แสงคำยังชี้ด้วยว่า "ธุรกิจเกือบจะถึงจุดคุ้มทุนแล้ว"

ปัจจุบันแสงคำอายุ 53 ปี เคยเป็นวิศวกรที่ผ่านการอบรมจากฝรั่งเศส และเคยรับราชการในลาวก่อนจะลาออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัวในปี 1984 เขาเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมวันชนะ อันเป็นธุรกิจครอบครัวที่เริ่มให้บริการเมื่อกลางปี 1989 ในย่านชานเมืองเงียบสงบ และมีลูกค้าหลักคือกลุ่มที่ปรึกษาชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักในลาวเป็นช่วงสั้น ๆ

"ไฮโดรพาวเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์" (เอชอีซี) เป็นบริษัทที่ปรึกษาขนาดกลางจากต่างประเทศที่เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ และให้คำปรึกษาโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ บริหารกิจการโดยทองสมุทร ลือนามมะจัก ชื่อกิจการเดิมคือ "ไฮโดรพาวเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง เซ็นเตอร์" ซึ่งมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม แต่ปัจจุบันเอชอีซีเป็นบริษัทกึ่งอิสระที่มีกระทรวงเศรษฐกิจ การวางแผนและการคลังถือหุ้น 100% แต่บริหารงานโดยการจัดสรรงบประมาณด้วยตนเอง มีพนักงานอยู่ทั้งหมด 40 คน และผ่านการฝึกอบรมจากยูเด็นดีพีมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ในจำนวนพนักงานทั้งหมดจะมีบางส่วนที่เป็นวิศวกรจากต่างประเทศ

ธุรกิจส่วนใหญ่ของเอชอีซีจะเป็นการรับเหมาช่วงจากบริษัทที่ปรึกษาระหว่างประเทศ อาทิ ACRES ของแคนาดา, SWECO จากสวีเดน และอีกหลายบริษัทที่มีฐานอยู่ในไทยอย่าง TEAM, AEC และ SEATECH โดยเฉพาะในด้านการสำรวจภูมิประเทศการขุดเจาะพื้นดิน งานวิศวกรรมโยธา ซึ่งมีความจำเป็นต่อการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ เอชอีซีอ้างว่าในรอบปีที่ผ่านมานั้น ได้รับงานในโครงการต่าง ๆ ถึงราว 10 โครงการด้วยกันโดยรวมถึงการศึกษาในระดับย่อยต่อโครงการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2, เขื่อนน้ำซองและเขื่อนเซโดน

"เราจะดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปโดยรับงานในส่วนสนับสนุน และปล่อยให้ส่วนของการรับผิดชอบโครงการอยู่ในมือของบริษัทต่างประเทศไป" ทองสมุทรผู้จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมจากฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตกล่าว

"บูรพา ดีเวลลอปเมนท์." เป็นกิจการที่เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจการทำไม้ และยังได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเวียงจันทน์ด้วย

กิจการบูรพาบริหารโดย ปีเตอร์ ฟอดจ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านป่าไม้ชาวสวีเดนซึ่งเข้ามาในลาวตั้งแต่ปี 1980 พร้อมกับภรรยาซึ่งเป็นนักกฎหมายทางด้านภาษีและเคยทำงานกับรัฐบาลสวีเดนด้วย

ฟอดจ์ภูมิอกภูมิใจอย่างมากกับการที่ได้ริเริ่มกิจการต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลลาวเป็นแห่งแรก และดำเนินการให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุนเกี่ยวกับการเพาะปลูกและการปศุสัตว์ สำนักงานของบูรพาในเวียงจันทน์มีพนักงานระดับมืออาชีพราว 20 คน และเป็นพนักงานระดับซูเปอร์ไวเซอร์และพนักงานภาคสนามอีกประมาณ 30 คน โดยมาจากหลายต่อหลายประเทศด้วยกัน

"เราให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจป่าไม้ และทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทั่ว ๆ ไป แต่มุ่งที่โครงการเฉพาะด้านเป็นหลัก" ฟอดจ์อธิบาย "จุดประสงค์ของเราอยู่ที่การสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านป่าไม้ในลาว" และเสริมว่าที่ผ่านมา บูรพาดีเวลลอปเมนท์ได้ช่วยบริษัทระหว่างประเทศราว 15-20 แห่งในการเข้ามาประกอบธุรกิจในลาว โดยคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมงหรือเหมารวมในอัตรา 850 ดอลลาร์สำหรับการดำเนินการจัดตั้งบริษัทขึ้น ซึ่งรับผิดชอบตั้งแต่ขั้นตอนของงานเอกสาร การทำสัญญา และติดตามขั้นตอนการอนุมัติจากทางการ ซึ่งมักกินระยะเวลาราว 3 เดือน

แม้กระนั้น สายสัมพันธ์และความรอบรู้ในขั้นตอนทางราชการ นับเป็นปัจจัยสำคัญของบริษัทที่ปรึกษาหลายแห่ง เช่น จีโคลาว บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่ ท้าวปัญญาสุวรรณภูมิ บุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีลาวเพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่เดินทางกลับสู่ลาวได้เพียง 2 ปี

ท้าวปัญญาผู้นี้เคยปฏิบัติหน้าที่ในด้านการบิน และหน่วยงานราชการหลายแห่ง รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางการเงินด้วยเขายังได้เข้าดำเนินงานที่บริษัท "คอยน์" ในกรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 8 ปี และจะยอมรับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่าง ๆ 10 บริษัทที่ไม่ใช่บริษัทฝรั่งเศส

บริษัทที่ปรึกษาที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความมั่นคงและมีสายสัมพันธ์ที่ดีมากก็คือ วิโค กรุ๊ป ของ วินัย อินถาวงศ์ ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่มากโดยเป็นสำนักงานตัวแทนในท้องถิ่นของบริษัทฝรั่งเศส, ยุโรป และปัจจุบันก็กำลังดำเนินการเจรจากับบริษัทตะวันตกหลายแห่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการในลาว

วิโค กรุ๊ป ซึ่งให้บริการทางการค้าและทางธุรกิจหลายแขนง นับเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งมากจากประสบการณ์ทางการค้าในลาวถึง 15 ปี ทั้งยังมีแรงหนุนจากเครือข่ายธุรกิจของตระกูลอินถาวงศ์ที่ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางอีกด้วย

ที่ปรึกษาชาวเวียงจันทน์ผู้หนึ่งอรรถาธิบายว่าตระกูลอินถาวงศ์เป็นแม่แบบของกลุ่มเศรษฐีใหม่ในลาว เช่นเดียวกับที่ "สุวรรณวงศ์" เป็นตัวแทนของกลุ่มนักการทูตรุ่นเก่า

ในขณะเดียวกัน ดารากอน สุวันนะวง และ ดรุณี ปัทมะวง ซึ่งต่างก็เคยปฏิบัติงานในกระทรวงต่างประเทศทั้งคู่ ก็เริ่มเข้าสู่ธุรกิจที่ปรึกษาแล้ว โดยได้ร่วมกันก่อตั้ง "เวียงจันทน์ อินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลแตนท์" (วีไอซี) ขึ้นเมื่อปลายปี 1987 ด้วยเงินทุนเบื้องต้นเพียง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเธอคุยว่าปริมาณเงินทุนปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 60,000-70,000 ดอลลาร์แล้ว

วีไอซีเริ่มต้นขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว โดยส่วนใหญ่ทำธุรกิจด้านการแปลและเอกสารปัจจุบันมีพนักงาน 5 คน และอีก 6 คนสำหรับงานในส่วนที่ต้องให้บริการแก่บริษัทสำรวจน้ำมัน ทั้งนี้เพราะบริษัทน้ำมันจากสหรัฐฯ ที่ดำเนินการสำรวจน้ำมันในภาคใต้ของลาว และจะเข้าไปทำการสำรวจน้ำมันในกัมพูชาด้วย ได้ว่าจ้างวีไอซีเป็นบริษัทที่ปรึกษาและช่วยเป็นธุระในส่วนของการบริหารด้วย

"นอกจากธุรกิจด้านที่ปรึกษาและให้บริการด้านงานในสำนักงานและ วีไอซียังเสนอบริการด้านการบริหารแก่บริษัทที่ไม่มีสำนักงานตัวแทนในลาว รวมทั้งกำลังพิจารณาข้อเสนอร่วมทุนในธุรกิจด้านการสอบบัญชีอีกด้วย" ดรุณีกล่าว

บุรุษอีกผู้หนึ่งที่กำลังเล็งโอกาสงามทางธุรกิจในกัมพูชาอยู่ก็คือ อลัน กาย ซึ่งดำเนินกิจการ "กายอินเวสต์เมนท์ แอนด์ บิสซิเนส แอนด์ ไมนิ่ง คอนซัลแตนท์ อินโดจีน" ร่วมกับภรรยาคือวันชาวลาวเชื้อสายจีนที่มีความสามารถพูดได้ถึง 7 ภาษาประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านงานเลขานุการ

กาย วัย 53 ปี ผู้นี้ได้ดำเนินชีวิตผิดพลาดมาครั้งหนึ่ง ก่อนหน้านี้เขาเป็นวิศวกรแล้วกลับหักเหมาสู่อาชีพเซลส์แมน เมื่ออายุ 39 ไปเรียนต่อด้านธรณีวิทยาและย้ายไปพำนักอยู่ที่ออสเตรเลียและแล้ว ในช่วงปี 1988-90 ที่มีการเจรจากันในเรื่องเหมืองแร่และธุรกิจการบิน กายก็ตัดสินใจกลับมาตั้งรกรากในลาว "สัญชาตญาณของผมบอกผมว่า จะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในลาว" กายกล่าว

กายได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อตั้งบริษัทถึง 8 แห่งในลาว เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเขาเป็นที่ปรึกษาให้กับ เวสต์ โคสท์ เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งได้ก่อตั้ง ลาว เวสต์ โคสท์ เฮลิคอปเตอร์ ขึ้นเมื่อปี 1990 โดยเป็นสัญญาความร่วมมือเป็นเวลา 10 ปีระหว่าง บริษัทแม่ในออสเตรเลีย และกระทรวงกลาโหมลาว ปัจจุบันลาว เวสต์โคสท์ มีเฮลิคอปเตอร์ให้เช่า 2 ลำ

นอกจากนั้น เดือนพฤษภาคม 1991 กายได้จัดการสัมมนาระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในเรื่องพัฒนาการของทรัพยากรแร่ธาตุในลาว

ในขณะที่กำลังมองหาธุรกิจแขนงที่ไม่ต้องแข่งขันกับนักธุรกิจที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น กายยอมรับว่าเขายังไม่ทราบแน่นอนถึง "ผลตอบแทนที่แท้จริง" ทว่าเขาได้วางรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตไว้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us