Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535
"คนแก่ หมาและแมวในแมนฮัตตัน"             
 


   
search resources

United States




ฟ้าในแมนฮัตตันเริ่มมืดช้าลงกว่าที่เคยเป็น อากาศในนิวยอร์กเริ่มอุ่นขึ้นมาบ้างในตอนกลางวันในช่วงเดือนมีนาคม จะเป็นช่วงเดือนต่อของฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลิอากาศจากที่เคยหนาวก็เริ่มที่จะหนาวน้อยลง ใบไม้ใบหญ้าสองข้างทางในแมนฮัตตันก็แตกใบอ่อนหลังจากที่แช่หนาวมาหลายเดือน

เดือนมีนาคมดูเหมือนร้านขายยาจะคึกคักสักหน่อย มีคนแวะเวียนมาหายาแก้หวัดกันมาก เพราะอากาศจะเปลี่ยนแปลงฉับพลันในวันหนึ่งในตอนกลางคืนลดลงต่ำกว่าศูนย์ในตอนกลางวันอุ่นขึ้นมาหน่อย

คนแก่ในนิวยอร์กถึงกับสบถกับฤดูกาลนี้ว่า "MARCH CRAZY"!

มหานครนิวยอร์กยังพลุกพล่านไปด้วยคนหลายเผ่าพันธุ์ หลากผิวสี บางคนอพยพมาจากลุ่มแม่น้ำฮวงโห แยงซีเกียง สร้างชุมชนขึ้นมาเป็น CHAINA TOWN ภาษาอังกฤษสำเนียงกวางตุ้งกลายเป็นภาษาที่ใช้ในย่านนี้ไป

บางเผ่าพันธุ์ริมฝีปากหนาหน่อย ผิวดำผมหยิก เคยถูกบรรพบุรุษของอเมริกาจับมาเป็นแรงงานทาสปั่นฝ้ายเจริญเติบโตออกลูกออกหลานมาเขียนฝาผนัง สร้างศิลปะอันเลอะเทอะบนรถใต้ดินให้เทศบาลคอยตามเช็ดตามสถานี

ส่วนพวกที่มาจากทิศใต้ของประเทศอเมริกา ก็มาเป็นแรงงานราคาถูกตามเมืองใหญ่ ๆ บ้านเราเรียกแรงงานอีสานว่า "ลาว" เช่นเดียวกับบรรดานายจ้างทางนี้ก็เรียกแรงงานเหล่านี้ว่า "ไอ้โก้" เพราะมาจาก MEXICO, เปอร์โตริโก, โคลัมเบีย

ส่วนพวกที่มาจากกลุ่มทะเลสาปเมดิเตอร์เรเนียน ดูจะมีภาษีดีกว่าเผ่าพันธุ์อื่น ก็ตรงที่พวกนี้เป็นชาวยุโรปซึ่งเชื่อมญาติกลายเป็นบรรพบุรุษของประธานาธิบดีของอเมริกามาหลายชั่วคน ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งซึ่งมาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็ได้แต่เบียดแทรกอยู่ตามช่องว่างของสังคมเหล่านี้

นิวยอร์กเป็นมหานครขนาดใหญ่เป็นขุมเครือข่ายทางเศรษฐกิจของโลกตลาดหุ้นบนถนนวอลล์สตรีทก็ตั้งอยู่ที่นี้ ศูนย์แฟชั่นของโลกก็เคลื่อนตัวมาอยู่ที่นี่ ยิ่งเทคโนโลยีบางชนิดบ้านเราเพิ่งจะมีใช้ขณะที่ในแมนฮัตตันเขาโละทิ้งจากท้องตลาดไปหลายปีแล้ว

ด้วยความที่มันเป็นเมือง "มหานครนิวยอร์ก" ความผูกพันธ์ของชิวิตมนุษย์พันธุ์นิวยอร์กก็ดูจะมีแต่เรื่องงานและธุรกิจเท่านั้น นอกเหนือกว่านั้นดูจะหายากมาก

นายจ้างต้องการคนขัดส้วมเพราะความสะอาดของห้องน้ำเป็นสิ่งที่เขาต้องการ เงินดอลลาร์ที่เป็นค่าจ้างก็เป็นค่าตอบแทนที่ได้มา

พ่อค้าก็ผูกพันกันด้วยกำไรของลูกค้าที่มาซื้อของ คุณในฐานะลูกค้าที่ต้องต่อรองราคาให้แหลกลาญกันไปเลย ส่วนพ่อค้าก็หาวิธีการตลาดขายทุกวิถีทางเพื่อระบายสินค้าออกจากชั้นวางของ

นิวยอร์กบางย่านเป็นย่านของอิตาเลียนการค้าขายก็แปลกกว่าใครเขามีทั้งข่มขู่ ปลอบลูกค้าไปในตัว ทั้งคนขาย ลูกจ้างซึ่งกล้ามเป็นมัด ๆ จะมาล้อมหน้าล้อมหลังคุณ ผลทางจิตใจที่ตามมาก็คือคุณต้อง ซื้อสินค้าชนิดหนึ่งออกมาแม้จะไม่อยากซื้อ เห็นทีจะปฏิเสธไม่ได้เสียแล้ว

"สรรพสิ่งในโลกล้วนธุรกิจกลยุทธ์ทางการตลาด สติปัญญาทางการค้าก็ผุดขึ้นมาจากนิวยอร์กนี้เอง"!

สภาพของปัจเจกชน ในรูหูอุดไว้ด้วยวิทยุซาวเบาด์ เดินเพล่นพล่านตามซอกตึกระฟ้า คนขันสกรูท่อแก๊สตามสำนักงาน ในแมนฮัตตัน คนเช็ดกระจกบนตึกสูง พนักงานไปรษณีย์รวมไปถึงขอทานอย่าง HOMELESS มนุษย์เหล่านี้ดำเนินชีวิตอย่างไร ? ภายใต้มหานครนิวยอร์ก เป็นคำถามที่นักสังคมวิทยา เริ่มตั้งคำถามกันมาก ยามที่เดินข้ามถนนมีคนแก่อายุสัก 70 ถือไม้เท้าแบกร่างท่อสังขารมาไม่มีใครสนใจว่า "จะเบียดแทรกคนแก่คนนั้นให้หกล้มก้นขวิดยามที่เขาเดินข้ามถนน"

มีอยู่คราวหนึ่งผมเห็นคนแก่ข้ามถนน แถวแมนฮัตตัน คิดจะไปจูงพาแกข้ามฟากไปพร้อมกัน เพื่อนรุ่นพี่ซึ่งเขาเข้าใจในวิถีชีวิตของคนนิวยอร์กห้ามไว้

"อย่าไปแตะต้องตัวเขา เดี๋ยวจะตายใส่เอา เกิดเรื่องยุ่งกันอีก" นี้ก็เป็นเรื่องความรู้สึกแปลก ๆ ที่คนจากลุ่มเจ้าพระยาเรียนรู้ได้เร็วเหลือเกินแถมรุ่นพี่ให้คำแนะนำกลับมาอีก

"เดี๋ยวเขาแกล้งล้ม เขาจะฟ้องเอาหมายถึงต้องชดใช้ค่าเลี้ยงดูหากเกิดอะไรขึ้นกับคนแก่คนนั้นมันไม่คุ้ม"

ครับ..จิตใจของมนุษย์ ในเมืองซึ่งเติบโตทางวัตถุ ก็ดูจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่า คนที่เดินอยู่ตามท้องถนนกับกระป๋องน้ำข้างถนน มันต่างกันอย่างไร ?

กรุงเทพฯ ก็เป็นเมืองที่กำลังโตการโตเป็นเมืองใหญ่ เห็นทีต้องเดินทับเส้นประวัติศาสตร์ เหมือนอย่างนิวยอร์กเป็นมาเมื่อหลายปีก่อนเป็นแน่และเมืองหลวงหลายเมืองในประเทศกำลังพัฒนาก็ดูจะถอดแบบจำลองกันไป

จึงไม่เป็นเรื่องแปลกเลยที่มหาวิทยาลัยในอเมริกา ผลิตทฤษฎีทางสังคมวิทยาขึ้นมา ส่งออกไปให้นักวิชาการในประเทศกำลังพัฒนาได้เรียนรู้ทั้งนี้ก็เพราะ นิวยอร์กได้ผ่านจุดหนึ่งของพัฒนาการประวัติศาสตร์ที่ยุ่งยาก มีปัญหาของเมือง การคมนาคม, สลัม ขอทานเช่นนี้มาแล้ว

คนแก่ ในเมืองนี้ไม่มีลูกหลานดูแล หลังเกษียณก็กินเงินสวัสดิการสังคม อยู่ตามอพาร์ตเม้นต์ หากเราจะถามแกว่า

"ป้าอยู่คนเดียวหรือครับ"

แกจะบอกว่าเปล่าหรอก ไม่อยู่คนเดียว "อยู่กับหมาสองตัวแมวอีกสามตัว"

ก็มีแต่หมาแมว เป็นเพื่อนให้กับคนชราเท่านั้น จนกลายเป็นว่าวิถีชีวิตคนกับหมานิวยอร์กนี้ใกล้เคียงกันมีร้านตัดเสื้อผ้าสุนัข ร้านเสริมสวยหมา โรงพยาบาลหมาแมว มีการโฆษณาทางทีวีถึงการให้บริการของโรงพยาบาลซึ่งมีห้องผ่าตัดหมา มีสายให้น้ำเกลือให้ออกซิเจน มีหมอผ่าตัดหมา และมีผู้ช่วยหมอที่เป็นนางพยาบาล หากคิดเป็นเงินค่าบริการของสัตว์กลับกลายเป็นว่าแพงกว่าคนหลายเท่า เราอย่าพูดถึงขอทาน HOMELESS ที่นอนตายใต้ดินอยู่ตามสถานี SUBWAY เลย

มีเอกสารที่เขียนถึงความผูกพันของคนในสังคมนิวยอร์กเอาไว้ เป็นคดีที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก เมื่อปี 1964 มีการสืบสวนทำเป็นกรณีศึกษาขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์

อ่านแล้วเสียดแทงจิตใจคนจำนวนมาก ให้หวนกลับมาตั้งคำถามว่า "เกิดอะไรขึ้นกับคนในมหานครใหญ่"?

เรื่องนี้เกิดขึ้นในย่านควีนส์ (QUEENS) ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลางในนิวยอร์ก ผู้หญิงซึ่งเป็นผู้เคราะห์ร้าย ทำงานเป็นผู้จัดการในร้านอาหารย่านแมนฮัตตัน เดินกลับบ้านในตอนเลิกงานพอใกล้ถึงอพาร์ตเมนต์ก็โดนปล้น

ฆาตกรใช้มีดจ้วงแทงผู้หญิงคนนี้แล้วเดินจากไป ผู้หญิงก็ร้องขอความช่วยเหลืออยู่นาน ฆาตกรก็เดินกลับมาใหม่ใช้มีดจ้วงแทงอีก ฆาตรกรเดินมาใช้มีดจ้วงแทงผู้หญิงถึงสามเที่ยว

จากเหตุการณ์นี้มีผู้เห็นเหตุการณ์ด้วยกันสามสิบแปดคน ปรากฏว่าไม่มีใครเลยที่จะหยิบโทรศัพท์หมุนไปบอกสถานีตำรวจ ทั้ง ๆ ที่แต่ละห้องต่างก็มีโทรศัพท์ใช้กัน พยานที่เห็นเหตุการณ์เหล่านี้ต่างให้เหตุผลว่า

"ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีในชั้นศาล เพราะไม่ใช่ธุระของฉัน" !

มีสามีภรรยาคู่หนึ่งซึ่งเห็นเหตุการณ์ เล่าว่า

"ฉันจะไปโทรศัพท์ แต่ภรรยาห้ามไว้ บอกว่าอย่าไปยุ่งเรื่องผัวเมียทะเลาะกัน"

ชายอีกคนหนึ่งซึ่งเห็นเหตุการณ์เปิดเผยกับตำรวจว่า

"ฉันเองก็มองลงมาจากชั้น 4 เห็นคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่เห็นไม่ค่อยชัดก็เลยไปนอนต่อ"

ส่วนอีกคนก็บอกว่า "กลับจากทำงานมาเหนื่อย ไม่ได้สนใจรีบกลับไปนอน"

ภายหลังจากที่รถพยาบาลมารับศพ บรรดาคนที่มุงดูก็จากไปเช่นกัน เรื่องก็จบลงกลายเป็นเรื่องประจำวันของนครใหญ่

ครับ…ตลกไม่ออกเลย หากใครสักคนที่เป็นญาติของเรา เป็นลมล้มลงในแมนฮัตตัน แล้วหายสาบสูญไป !

ความผูกพันทางสังคมของมนุษย์ดูจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากในนครใหญ่ ๆ ยิ่งเมืองเติบโต ชีวิตเร่ง คนก็ต้องรีบเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ให้ได้ เรื่องบางเรื่องที่เป็นความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์พันธุ์เดียวกันก็ไม่มีให้เห็น

"ป้าโรส แมรี่ (ROSE MARRY)" เป็นสมาชิกในอพาร์ตเมนต์ที่เราอยู่แกอาศัยอยู่มาตั้งแต่เป็นสาว ทราบข่าวจากเพื่อนข้างห้องมาว่า ลูกหลานของแกเองย้ายไปทำมาหากินต่างรัฐหลายปีแล้วที่ขาดการติดต่อ ทุกเสาร์อาทิตย์ป้าโรสก็จะมานั่งรอทักทายคนที่เดินผ่านไปผ่านมาตรงทางเข้าอพาร์ตเมนต์ จะรู้จักหรือไม่รู้จักกันก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

เพียงแต่แกเอ่ยปากถามคนว่า "เป็นไงวันนี้สบายดีหรือ ก็เพียงพอแล้ว" เพราะห้าวันที่ป้าซุกตัวพูดจาอยู่กับแมวหมาในห้อง

ยามที่แกนั่งอยู่คนเดียว เคยมีคนเห็นน้ำตาเอ่อล้นออกมามีคนเคยถามแกบ้างเหมือนกันว่า "ป้าร้องไห้ทำไม"

แกก็ฝืนยิ้ม ตอบแต่เพียงว่า "ลมหนาวพัดเข้าตา"

แต่เช้านี้รถพยาบาลเปิดไซเรนมาจอดอยู่หน้าอพาร์ตเมนต์ คนที่อยู่บนตึกก็ชะโงกหน้ามาดูว่าเกิดอะไรขึ้น มีคนบอกว่า ป้า ROSE MARRY ตายแล้วตายมาสองอาทิตย์แล้ว กลิ่นเริ่มเหม็นคนที่อยู่ข้างห้องโทรศัพท์ไปหาตำรวจให้ช่วยมาดูหน่อยว่า คนหรือหมาที่ตายกันแน่

เช้าของปลายเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีหิมะ แต่หนาว ที่ยังค้างอยู่ เมื่อตอนกลางคืน ยังปกคลุมตามท้องถนน…

ชีวิตของผู้คนในแมนฮัตตันยังเดินขวักไขว่ ดวงไฟบนคบเพลิงของเทพีสันติภาพ ยังส่องสว่างอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us