Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 กันยายน 2550
ดัชนีเชื่อมั่นดิ่งต่อเนื่อง10 ด.หวั่นศก.ซึม             
 


   
search resources

ธนวรรธน์ พลวิชัย
Economics




ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. ยังดิ่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 หลังคนยังกังวลสถานการณ์ต่างๆ ทั้งบาทแข็ง การว่างงาน ค่าครองชีพพุ่ง แต่มองอนาคตดีขึ้น เหตุจะมีการเลือกตั้งปลายปี แนะรัฐบาลใช้จังหวะนี้กระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนส่งไม้ต่อให้รัฐบาลใหม่ ไม่เช่นนั้น เศรษฐกิจไทยซึมยาวแน่

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือนส.ค.2550 จากประชาชนทั่วประเทศ 2,256 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเดือนที่ 10 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนส.ค. อยู่ระดับ 69.5 ลดจากเดือนก.ค. อยู่ระดับ 70.0 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ 70.5 ลดจาก 70.8 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 87.1 จากเดือนก.ค. ระดับ 86.6

จากค่าดัชนีความเชื่อมั่นข้างต้น ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนส.ค. เท่ากับ 75.7 ลดจากเดือนก.ค.ที่ระดับ 75.8 มีค่าต่ำสุดรอบ 67 เดือน และเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 38 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจสถานการณ์ต่างๆ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ระดับ 71.9 ลดจาก 73.1 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 74.4 จาก 74.0

ทั้งนี้ ปัจจัยลบที่ทำให้ผู้บริโภคกังวลต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นผลจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่งผลต่อการส่งออกและการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในอนาคต ความกังวลเกี่ยวกับการว่างงาน ภาระค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงจากราคาขายปลีกของน้ำมันภายในประเทศยังทรงตัวสูง และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาซับไพร์มของสหรัฐฯ

“ค่าดัชนีชี้ให้เห็นว่า การปรับลดลงของดัชนีที่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีอยู่ แสดงว่าคนยังรับรู้ว่าเศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้น และก็ต่อเนื่องมาจากช่วงครึ่งปีแรกจนมาถึงไตรมาส 3 แต่มีสิ่งที่เป็นความหวัง คือ ค่าดัชนีในอนาคตที่คนคาดหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาส 4 เห็นได้จากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับอนาคตเพิ่มขึ้นทุกรายการ เพราะคนคาดหวังว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปลายปี ซึ่งจะมีเงินสะพัด 3-4 หมื่นล้านบาท เป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้น”นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้ทันภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่จะต้องเร่งดำเนินการ และการรักษาระดับค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกิน 34 บาท/เหรียญสหรัฐ ในระยะ 3-4 เดือน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการพยุงเศรษฐกิจเพื่อส่งงานต่อให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งทำงาน หากไม่ทำ และรอให้รัฐบาลใหม่ ซึ่งกว่าจะเห็นหน้าตาของคณะรัฐบาลและสภาใหม่ ต้องใช้เวลาถึงเดือนปลายไตรมาส 1 จะทำให้เศรษฐกิจต้องเลื่อนการฟื้นตัวออกไปอีก

“จำเป็นต้องผลักดันให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในไตรมาส 4 เป็นต้นไป ถ้าทำไม่ได้ ปีหน้าลำบากแน่ เพราะไทยคงไม่โชคดีที่ได้การส่งออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนในครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทั้งสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย ทำให้หลายประเทศอาจะต้องชะลอการใช้จ่าย”นายธนวรรธน์กล่าว

นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มองว่าทุกอย่างถึงจุดต่ำสุดแล้ว ดังนั้นไตรมาส 4 รัฐบาลต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นกลับมา เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่หากเศรษฐกิจไม่ฟื้น ปีหน้าแย่แน่ เพราะการส่งออกจะไม่เป็นอย่างที่คิด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศชะลอตัว อีกทั้งผู้ประกอบการภายในยังอาจะได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่จะทะลักเข้ามา เพราะถูกมาตรการห้ามนำเข้าจากทั่วโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรับมือ

นายประสงค์ เอาฬาร ประธานคณะกรรมการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวตั้งแต่ครึ่งปีแรก มีการชะลอตัวลง 10% ทำให้ผู้ประกอบการขายบ้านได้ยากขึ้น และแนวโน้มราคาบ้านลดลงมากขึ้น จากปีที่แล้ว ราคาบ้านที่เป็นกลุ่มตลาดคนชั้นกลาง 70% ราคาอยู่ที่ 3 ล้านบาทเศษ มาต้นปีเหลือ 2.8 ล้านบาท และขณะนี้เหลือแค่ 2.2 ล้านบาท เพราะคนซื้อชะลอการซื้อ ทำให้บ้านขายไม่ออกต้องลดราคาลงมา ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ คือ ผลักดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้ฟื้นตัว เพื่อให้กำลังซื้อกลับมา ซึ่งจะทำให้ภาคอสังหาฯ ได้รับผลดีตามไปด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us