Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535
"เทค ไฮเออร์แมนใน MCC ผลงานพิสูจน์ฝีมือ!!"             
 

 
Charts & Figures

แผนโครงสร้างองค์กร บงล.เอ็มซีซี
ตัวเลขสำคัญทางการเงินของบงล. เอ็มซีซี


   
search resources

เอ็มซีซี,บงล
เท็ด ไฮเออร์แมน
Stock Exchange




ฝรั่งวัยกลางคนร่างสูงโปร่งผู้นี้เป็นชาวเยอรมันสัญชาติอเมริกัน มีดีกรีและประสบการณ์จากสถาบันการเงินใหญ่ของโลกเป็นเครื่องรับประกันคุณภาพ

เขาเข้ามาร่วมงานกับ บงล. เอ็มซีซีตั้งแต่พฤษภาคม 2534 ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการลาออกของผู้บริหารระดับสูง-กลางของเอ็มซีซีเป็นระยะ ๆ พร้อมกับกระแสข่าวที่กล่าวว่าเขาเป็นผู้บริหารที่มีสไตล์การทำงานแบบวันแมนโชว์ มุ่งทำผลกำไรเพื่อเอาใจผู้ถือหุ้นและการต่ออายุสัญญา

เท็ด ไฮเออร์แมนประธานบริหาร บงล. เอ็มซีซีเปิดใจกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมไม่มีเทอมในการทำงาน ไม่มีสัญญาแบบนั้น มีแต่คำสั่งลงมาว่าผมจะต้องทำให้เอ็มซีซีเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ดีที่สุด เป็นองค์กรที่ปรับตัวง่ายและเคลื่อนไหวทันต่อสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา"

เขากล่าวทีเล่นทีจริงว่า "หรือหากจะมีสัญญา ทำไมผู้คนต้องให้ความสนใจมากมายขนาดนั้น"

เท็ดมีเป้าหมายในการทำงานว่าอะไรก็ตามที่เขาได้ลงไปสร้างทำขึ้นมา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขาต้องทำธุรกิจทุกด้านทุกแขนงของเงินทุนหลักทรัพย์แต่สิ่งที่เขามุ่งมั่นนั้นจะต้องทำให้เป็นที่หนึ่งให้ได้

อย่างเรื่องของกิจการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ในช่วงเวลาเพียงครึ่งปีเขาสามารถทำรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากรายได้เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2534 ที่มีอยู่ 136.70 ล้านบาทเพิ่มมาเป็น 283.49 ล้านบาท !!

และไต่ระดับโบรกเกอร์ที่มีปริมาณการซื้อขายจากอันดับ 12-14 มาเป็นอันดับ 4 ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา !!

ธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์เป็นประเด็นหลักที่เขาให้ความสำคัญ รองลงมาเป็นเรื่องการให้สินเชื่อ การเช่าซื้อและวาณิชธนกิจ

นี่เป็นธุรกิจ 4 ด้านที่เขาจะทุ่มเทเพื่อสร้างชื่อเอ็มซีซีให้ขึ้นมาอยู่ในระดับท้อปไฟว์ให้ได้ !!!

เท็ดอ้างว่ากิจการเช่าซื้อของเอ็มซีซีแม้จะมีพอร์ทโฟลิโอไม่ใหญ่ที่สุดแต่รับรองได้ว่าเป็นพอร์ทฯ ที่ขาวสะอาดไม่มีปัญหามูลค่าพอร์ทฯ รถยนต์ประมาณ 820 ล้านบาทมีรถทุกชนิดรวมประมาณ 4,300 คัน

ในส่วนของธุรกิจอันเดอไรต์นั้นเท็ดยอมรับว่าเอ็มซีซีเพิ่งจะเริ่มลงมือบุกเบิกทำเมื่อประมาณปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่เขาจะเข้ามาร่วมงานที่นี่ไม่นานนักและนับจนถึงปัจจุบันมีดีลอยู่ 7 รายที่เท็ดเชื่อว่าเอ็มซีซีจะได้เป็น LEAD UNDERWRITER

สำหรับงานวาณิชธนกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำทางการเงินการจัดโครงสร้างทางการเงินการบริหารพอร์ทฯ เงินตราต่างประเทศ เท็ดเชื่อว่าเอ็มซีซีได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี

ธุรกิจล่าสุดที่เอ็มซีซีพยายามเข้าไปแย่งชิงตลาดมาด้วยคือการจัดการกองทุนซึ่งเอ็มซีซีร่วมมือกับธนาคารไทยทนุ ธนาคารเอเซีย บล. พัฒนสิน บงล. เกียรตินาคิน บ. ไทยประกันชีวิตและบาร์เคลย์ เดอ โซด เว็ดจ์ (เอเชีย) BZW (ASIA) จัดตั้งบริษัทไทยเอเซียมิวชวล ฟันด์ จก. ขอบริหารกองทุน และก็ได้เป็น 1 ในจำนวน 9 รายที่ได้ใบอนุญาตมาในครั้งนี้

ช่วงเวลาในการทำงานที่เอ็มซีซี เท็ดเปิดใจว่าไม่มีสิ่งใดรบกวนหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานของเขาเลย จะมีอยู่สิ่งหนึ่งคือเรื่องกวนใจที่มีคนเรียกบุคลิกการบริหารของเขาว่า "วันแมนโชว์"

เขาอธิบายว่าทีมบริหารของเอ็มซีซีซึ่งมีผู้บริหารอาวุโสทั้งสิ้น 11 คนรวมตัวเขาด้วยนั้น ทำหน้าที่ดูแลสายงานแต่ละฝ่ายที่ต่างคนต่างได้รับมอบหมาย มีการพูดคุยปรึกษากันทุกวันเป็นลักษณะของทีมเวิร์ค แต่ไม่ใช่ว่าเท็ดเป็นผู้สั่งการให้คนนั้นคนนี้ทำงานอะไร เขายืนยันว่าคนเหล่านี้ล้วนเป็นมืออาชีพทั้งสิ้น

ผู้บริหารเหล่านี้จะมีการพูดคุยกับพนักงานทุกระดับ 2 สัปดาห์/ครั้ง แม้เท็ดจะไม่ถนัดภาษาไทย เขาก็ให้เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ช่วยแปลให้ฟัง เขาจะบอกผู้ร่วมงานถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำลงไป และเปิดโอกาสให้มีการซักถามหรือแสดงความเห็นโดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ

เขามีความเห็นว่า "ในท่ามกลางกระแสข่าวลือทั้งหลายเกี่ยวกับการบริหารงานภายในบริษัทฯ นั้น ผมคิดว่าคนที่นี่ควรจะได้โอกาสรู้เรื่องภายในอย่างดีที่สุด พวกเขาน่าจะได้รู้ว่าบริษัทฯ กำลังทำอะไร มีทิศทางการดำเนินการอย่างไรและในทางกลับกันก็ควรรู้ด้วยว่าบริษัทฯ คาดหวังอะไรจากพวกเขาบ้าง"

"ผมไม่คิดว่าที่เอ็มซีซีมีปัญหา เรามีแต่โอกาสดี ๆ ด้วยซ้ำไป เท่าที่ผมมองคือธุรกิจในเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หากเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวตาม เราก็จะล้าหลังและไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงซึ่งในการเปลี่ยนอันนี้บางคนก็พอใจบางคนก็ไม่พอใจแต่มันเป็นความจำเป็น" เท็ดเปิดเผย

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ว่าคนทุกคนจะยอมรับมันได้ ..!!

เท็ดยอมรับว่ามีคนเก่าแก่ที่ร่วมงานกับเอ็มซีซีมาเป็นเวลานานประมาณ 10-20 ปีและอยู่ในระดับผู้บริหารอาวุโสลาออกไปเพียง 3 คนเท่านั้น คนทั้งสามเดิมอยู่ในฝ่ายค้าหลักทรัพย์ ฝ่ายการเงินและฝ่ายเช่าซื้อ ซึ่งต่างเป็นฝ่ายที่ทำรายได้หลักให้แก่บริษัทฯ

คนที่เพิ่งลาออกไปสด ๆ ร้อน ๆ อีกคนคือธีรพงศ์ มณเฑียรวิเชียรฉาย ผู้บริหารอาวุโสที่ดูแลงานวาณิชธนกิจมาแต่แรก และเท็ดตั้งใจให้รับผิดชอบเรื่องกองทุนรวม

ตัวเลขคนลาออกของเอ็มซีซีปี 2534 ตั้งแต่ระดับอาวุโสถึงพนักงานประมาณ 27 คน บุญเดช สายกระจ่าง ผู้จัดการฝ่ายการพนักงานกล่าวว่า "คำนวณดูแล้ว อัตราการโยกย้ายของเอ็มซีซีอยู่ที่ประมาณ 9% ซึ่งถือเป็นระดับที่ควบคุมได้ สาเหตุที่ออกเพราะได้งานที่ดีกว่า"

เท็ดกล่าวเสริมว่า "ในอุตสาหกรรมนี้ อัตราการโยกย้ายต่ำกว่า 10% ต้องถือว่าไม่สลักสำคัญอะไร หากมีอัตราสูงถึง 25-30% จึงนับว่ามีปัญหา ในทางกลับกันหากที่ใดมีอัตราการโยกย้ายต่ำกว่า 10% มาก ๆ ที่นั้นก็มีปัญหาเหมือนกัน"

เท็ดเข้ามาร่วมงานกับเอ็มซีซ๊เพราะมีผู้ถือหุ้นที่นี่ซึ่งรู้จักมักคุ้นกับเขามาเป็นเวลานานชักชวนเขาเข้ามา ผู้หุ้นรายนั้นรู้ดีว่าเขาชอบทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยมากและทั้ง ๆ ที่เท็ดดำรงตำแหน่ง COUNTRY MANAGER ของธนาคารแห่งอเมริกาในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี ดูแลงานกิจการสาขาและกิจการเงินทุนหลักทรัพย์ของแบงก์คือบีเอไฟแนนซ์ ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อไปเป็น บงล. ศรีธนาและเปลี่ยนเจ้าของไปเป็นกลุ่มศรีวิกรม์แล้ว

หลังจากที่เท็ดเข้ามาร่วมงานในเอ็มซีซีเพียง 2 เดือนเขาก็ทำตัวเลขประมาณการเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมขึ้น มันเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับตัวเลขกลางปี เขากล่าวว่า "นี่คือตัวเลขผลงานที่ผมต้องการให้เกิดขึ้น พอย่างเข้าเดือนสิงหาคม-กันยายน ผมคิดว่าเราคงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตัวเลขพวกนี้ได้ แต่ก็ต้องนับว่ามีโชคดีมาเข้าข้างคือเดือนพฤศจิกายนราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ กระเตื้องขึ้นมากและในเดือนธันวาคมผลประกอบการของเราก็ดีอย่างมาก ๆ ในที่สุดเราก็สามารถทำมันได้สำเร็จ"

เท็ดเปิดเผยกลวิธีการบริหารงานสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เขาได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ เรื่องการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เขายกตัวอย่างว่า "อย่างเรื่องหนังสือพิมพ์ ไม่จำเป็นว่าผมจะต้องมีหนังสือพิมพ์เป็นการส่วนตัว ผมยินดีที่จะแชร์กับคนอื่น ๆ อ่านได้ หรือเรื่องการประหยัดไฟ เรื่องค่าพาหนะเดินทาง อย่างผมจะไปเชียงใหม่ ผมไม่จำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นหนึ่งเพราะเมื่อผมไปเที่ยวกับครอบครัวผมก็นั่งชั้นประหยัด หากผมจะเดินทางไปทำงานด้วยตั๋วชั้นประหยัดก็น่าจะได้"

ชายวัยกลางคนผู้นี้ทำงานที่ธนาคารแห่งอเมริกาเป็นเวลานานถึง 22 ปีโดยไม่เคยเปลี่ยนงาน ประสบการณ์บริหารงานในที่ต่าง ๆ ที่เขาย้ายไปประจำการไม่ว่าจะเป็นซานฟรานซิสโก ลอนดอน ฮ่องกง เท็กซัส เยอรมนี หล่อหลอมให้เขารู้ซึ้งถึงเทคนิคการบริหารองค์กรเป็นอย่างดี

ว่าไปแล้วการกอบกู้เอ็มซีซีครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา

ราคาหุ้นเอ็มซีซีที่วิ่งฉิวในกระดานเวลานี้เป็นเครื่องพิสูจน์เป็นอย่างดี !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us