Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535
"ศุลี มหาสันทนะ เบื้องหลัง "วันนี้ของบางจาก"             
 


   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
ศุลี มหาสันทนะ
Oil and gas




สุภาพบุรุษสูงอายุด้วยวัย 71 ปี ผู้ฉายบุคลิกอันสุขุมอ่อนโยนอยู่เนืองนิจ ยังดูแข็งแรง สมาร์ทในวันรับรางวัลเกียรติคุณในตำแหน่ง "ยอดนักการตลาด" จากสมาคมนักการตลาดแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 มีนาคมศกนี้นั้น ออกจะได้รับความสนใจจากแขกผู้มีเกียรติและบรรดาสื่อมวลชนเป็นพิเศษ

เนื่องจากที่ผ่านมาชื่อของเขา "เรืออากาศโทศุลี มหาสันทนะ" จะเป็นที่คุ้นเคยในวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในยุคของนายกเปรมมากกว่า

ขณะที่ผู้ได้รับรางวัลอีก 2 คน คือ บัญชา ล่ำซำ ประธานกิตติมศักดิ์ แบงก์กสิกรไทยจำกัด และถาวร พรประภาประธานกิตติมศักดิ์ บริษัทสยามกลการ จำกัดนั้นจะเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในธุรกิจที่ตนทำอยู่

แต่ ร.ท. ศุลี เขาเป็นเพียงมือบริหารอาชีพและไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจใด…!

ในยุคของนายกเปรมย่อมเป็นที่รู้จักกันดีว่า ร.ท. ศุลี นั้นเป็นรัฐมนตรีที่เรียกว่าเป็นมือพลังงานต่อเนื่องกันถึง 8 ปี

แต่ก่อนที่เขาจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น มีหลายอย่างที่แสดงถึงฝีมือ และเครดิตความเชื่อถือจากคนรอบข้างแต่เขาแทบจะไม่เคยพูดถึงผลงานเหล่านี้สู่สาธารณชนด้วยเหตุว่าเขาพอใจที่จะอยู่อย่างเงียบ ๆ มากกว่า

ร.ท. ศุลีได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์จากบริษัทน้ำมันข้ามชาติอย่างเอสโซ่แสตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัดหลังจากที่รับราชการอยู่ที่กรมช่างทหารอากาศอยู่ 6 ปี

ที่เอสโซ่ ทำให้เขาเข้าใจระบบธุรกิจอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจ การผลิตรวมถึงการวิจัย การจัดตั้งสถานีซึ่งถือว่าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดประณีตทุกขั้นตอนเพื่อประกันคุณภาพที่ดีสู่มือลูกค้า

ร.ท. ศุลีเคยเป็นตั้งแต่วิศวกรปฏิบัติการ และโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ จนเป็นกรรมการบริษัทและผู้จัดการขายทั่วไป ตำแหน่งสูงสุดของคนไทยในบริษัทขณะนั้นและเป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่ลาออก

กิจกรรมที่โดดเด่นเป็นพิเศษ ก็คือ เขาเป็นกำลังสำคัญในการขึ้นป้ายเปลี่ยนชื่อปั๊มน้ำมันพร้อมกันทั้ง 300 แห่งทั่วประเทศ จากการโอนกิจการบริษัท สแตนดาร์ด แวคคัมออยล์ จำกัด เป็นบริษัท เอสโซ่แสตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด โดยเปลี่ยนจากตราม้าบินมาเป็นตราเอสโซ่ในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนข้ามคืนพร้อมกันหมด นับเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ลูกค้าประทับใจและจดจำตราใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

พร้อม ๆ กับการรณรงค์โครงการเอสโซ่ ด้วยสวนหย่อมหน้าเพื่อให้ดูสดชื่นและสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น รวมไปถึงโครงการ "ห้องน้ำสะอาด" ซึ่งกลายเป็นจุดช่วยส่งเสริมการขายให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังเน้นงานบริการด้วยสโลแกนที่ว่า "บริการที่ดีคือหน้าที่ของเรา" ที่จะฝึกให้พนักงานปั๊มน้ำมันรู้จักวิธีการบริการที่ดี ทั้งการขายหน้าปั๊ม งานบัญชี งานอัดฉีดรถ งานขายผลิตภัณฑ์ถนอมรถ และมุ่งเน้น "บริการมาตรฐานแบบ 5 จังหวะของเอสโซ่" สำหรับลูกค้าที่เข้ามาเติมน้ำมัน

ได้แก่ ว่องไว-ทักทาย-ให้บริการ ตรวจและสังเกตความบกพร่องของยางแบตเตอรี่ อะไหล่ และเสนอบริการ-รับเงินและกล่าวขอบคุณ พร้อมทั้งให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ขณะขับรถจากปั๊ม ตามสโลแกนที่ว่า "ขับสบายไร้กังวล"

ร.ท. ศุลีจึงนับเป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งของเอสโซ่ในยุคที่ผ่านมา เขาอยู่ที่นี่นานถึง 20 ปี จากนั้นเมื่อได้รับการทาบทามมาช่วยบุกเบิกงานที่บริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัดหรือปูนกลางในขณะที่ยังไม่มีโรงงาน

การเริ่มงานที่ปูนกลางเรียกว่าแตกต่างจากเอสโซ่ซึ่งมีระบบการทำงานที่สมบูรณ์อยู่แล้วโดยสิ้นเชิง แต่เขาเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศยังต้องขยายตัวอีก ขณะที่ช่วงนั้นยังต้องนำเข้าปูนอยู่มากแต่ไทยมีแหล่งวัตถุดิบเพียงพอในการผลิต จึงเริ่มศึกษาตลาดอย่างจริงจัง เมื่อพบว่ามีอนาคต โรงปูนของปูนกลางจึงแทรกตัวขึ้นมาระหว่างปูนใหญ่กับปูนเล็ก

การนำเข้าสินค้าเข้าตลาดโดยเฉพาะตลาดที่มียักษ์ใหญ่อยู่แล้วนั้น มิใช่เรื่องง่าย เพราะมักจะถูกโจมตีเรื่องคุณภาพซึ่งเป็นข้อด้อยของการออกสินค้าอุตสาหกรรมโดยทั่วไป

เขาจึงสร้างศรัทธาแก่ตัวสินค้าด้วยการนำปูนไปให้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมทดสอบเมื่อผ่านและได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน "มอก." ปูนเป็นรายแรก ก็ได้กลายมาเป็นจุดขายที่เด่นเหนือกว่ารายอื่นโดยคู่แข่งไม่ทันไหวตัวทัน

ตรงนี้ ต้องยอมรับว่าประสบการณ์จากเอสโซ่เป็นส่วนที่ทำให้ ร.ท. ศุลีต้องรู้เขารู้เราตลอดเวลา และรุกคืบอย่างเงียบ ๆ โดยไม่โจมตีคู่แข่งหรือใช้วิธีตัดราคา ซึ่งจะกลับมาเฉือนเนื้อตัวเองในที่สุด

ด้วยวิธีนี้ เพียง 6 เดือนปูนตรานกอินทรีและตราเพชรก็เข้าและเป็นที่ยอมรับของตลาดได้ ความใหม่ที่คิดว่าเป็นจุดอ่อนก็กลายเป็นจุดแข็งไปอย่างน่าทึ่ง

เขาจึงเป็นคนวางรากฐานสำคัญให้กับปูนกลางทั้งในเรื่องของตัวสินค้าอุตสาหกรรมและการจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร โดยรั้งตำแหน่ง กรรมการอำนวยการและผู้จัดการทั่วไปเป็นคนแรก จนกลายเป็นลูกหม้อเก่าแก่ที่มีอายุถึง 13 ปีก่อนที่นายกเปรมได้ทาบทามไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเน้นหนักในเรื่องพลังงานเป็นหลัก ไม่รวมถึงการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนนายกในส่วนงานบีโอไอ และสำนักงบประมาณ ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวกับการอนุมัติเงินงบประมาณและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

8 ปีสำหรับชีวิตรัฐมนตรีซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2523 นั้นเขาเป็นประธานอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาและกลั่นกรองเรื่องเกี่ยวกับปิโตรเลียม ก่อนที่จะเสนอให้กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือบอร์ดใหญ่ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่งเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดหรืออนุมัติในรอบสุดท้าย

ร.ท. ศุลีกลายเป็นคนจัดการเรื่องพลังงานของประเทศตลอดมา ช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรกและครั้งที่ 2 เขาเป็นคนสำคัญในการปรับปรุงการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมัน ขณะเดียวกันก็วางแนวนโยบายราคาน้ำมันเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศทั้งแหล่งแก๊สธรรมชาติและน้ำมันดิบ

เขามีแนวคิดที่อยากเห็นการพัฒนาพลังงานของไทยไปสู่ทิศทางที่พึ่งตัวเองได้ แข่งขันได้ มีการปรับตัวไปตามกลไกของตลาด นั่นก็คือ มีอิสระ ไร้การแทรกแซงจากการเมือง

ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในวงการน้ำมันตอนนี้ ไม่ว่าจะเรื่องราคาน้ำมันลอยตัว ทิศทางการตั้งโรงกลั่นเสรี หรือการเน้นคุณภาพน้ำมัน ล้วนแต่พูดได้ว่าเขาได้ช่วยผลักดันและวางฐานมาล่วงหน้าแล้วหลายปี

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ช่วงที่โรงกลั่นบางจากยังอยู่ในสังกัดของการพลังงานทหาร และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งขาดความคล่องตัวอย่างมาก เพราะติดระเบียบและขั้นตอนราชการหยุมหยิม ขณะที่ตลาดน้ำมันของโลกไหวเพื่อมขึ้นลงอย่างรวดเร็ว จึงเห็นว่าโรงกลั่นบางจากควรจะมีรูปแบบการบริหารแบบเอกชนเพื่อเดินสู่การบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (บางจากฯ) จึงเกิดขึ้นในปี 2528 พูดได้ว่าเป็นเพราะ ร.ท. ศุลีหนุนเนื่องอย่างเต็มที่ด้วยเวลาเพียงไม่กี่เดือน เนื่องจากเห็นว่าองค์กรน้ำมันจำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบและโครงสร้างการบริหารที่ปราดเปรียว นัยว่าต้องการให้โรงกลั่นบางจากและ ปตท. บริหารธุรกิจได้ครบวงจรอย่างที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

แต่บางจากฯ ได้ขยายบทบาทจากโรงกลั่นสู่ตลาดการค้าปลีก อย่างสมบูรณ์ และรุกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนับเป็นโค้งสำคัญและความสำเร็จครั้งใหญ่ของบางจากฯ อีกบทหนึ่ง

วันนี้ของบางจากฯ ที่เราเห็นกันอยู่ เรียกว่า ร.ท. ศุลี เป็นผู้วางเสาไว้ให้โดยแท้ เพียงแต่บางจากฯ ได้ไปเกินกว่านักการตลาดอย่างเขาคิดกันไว้เท่านั้น…!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us