|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติระบุยอดเอ็นพีแอลใหม่ไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้นกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1% ของยอดสินเชื่อรวมทั้งระบบเท่านั้น ยันยังไม่ส่งผลกระทบเพราะฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยสูงถึง 14% เผยห่วงสินเชื่อรายย่อยมากกว่าสถาบันเพราะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ที่ผ่านมา ในระบบเศรษฐกิจมียอดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ใหม่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 27,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ก็เป็นจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นใหม่ยังไม่ถึง 1%ของสินเชื่อรวม
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันระบบสถาบันการเงินไทยมีความแข็งแกร่งขึ้นมากเห็นได้จากระดับของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในปัจจุบันโดยเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ 14% ประกอบกับการจัดชั้นสำรองลูกหนี้ที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ ธปท.กำหนด ดังนั้น เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นจึงไม่น่ากังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
“ในขณะนี้ธปท.ได้พยายามประเมินภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดหนี้เอ็นพีแอลใหม่เพิ่มขึ้นอีก และจะส่งผลกระทบมายังระบบสถาบันการเงินไทยโดยรวมหรือไม่อย่างไรนั้น เท่าที่ธปท.ประเมิน พบว่า ระบบสถาบันการเงินไทยยังมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะไม่ถูกกระทบจากหนี้เอ็นพีแอลที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งตัวเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบที่ยังสูงถึง 14% และการกันสำรองหนี้จัดชั้น ซึ่งมากกว่าที่ธปท.กำหนด”
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบแตกต่างจากในช่วงวิกฤตปี 2540 เนื่องจากในครั้งนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเป็นประชาชนรายย่อยมากกว่าที่จะเป็นตัวสถาบันการเงินอย่างในอดีตที่ผ่านมา ฉะนั้นสิ่งที่น่าห่วงอย่างมากจะเป็นประชาชนที่มีภาระการใช้จ่ายและภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถผ่อนส่งไหวมากกว่าห่วงฐานะของสถาบันการเงิน
“ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้คำนึงถึงจุดเหล่านี้ และพยายามลดการก่อหนี้ของผู้มีรายได้น้อย มาตั้งแต่ปี 2545 โดยจำกัดให้ผู้มีบัตรเครดิตต้องมีคุณสมบัติที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือไม่ต่ำกว่า 180,000 บาทต่อปี และมีบัญชีเงินฝากที่สถาบันการเงิน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าเพียงพอต่อการชำระหนี้ รวมทั้งกำหนดลดจำนวนบัตรเครดิตของผู้ที่มีรายได้น้อยลง ทำให้เมื่อเศรษฐกิจซบ จำนวนผู้ที่มีปัญหาไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้จึงมีไม่มากเท่ากับ ไม่มีการออกประกาศดังกล่าวออกมา เพราะในช่วงก่อนหน้านั้น ผู้ประกอบการบัตรเครดิตลงไปเล่นในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีฐานเงินเดือน 7,500 บาทก็สามารถทำบัตรเครดิตได้”
นายเกริก กล่าวว่า สำหรับการออกประกาศล่าสุด ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจ้างบริษัทข้างนอก (outsource) ติดตามหนี้เอ็นพีแอล และจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอ) นั้น จะช่วยลดภาระในการติดตามหนี้และขายทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ได้ และช่วยลดยอดหนี้เอ็นพีแอลรวมได้ในระดับหนึ่ง เพราะที่ผ่านมานั้น บริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่สามารถรับจ้างบริหารได้ ต้องซื้อหนี้มาบริหาร แต่จากกฎหมายบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บ.บ.ส.) ที่มีการแก้ไข ทำให้เข้ามารับจ้างบริหารได้ โดยไม่ต้องซื้อหนี้ออกมา
|
|
 |
|
|