Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 กันยายน 2550
"เศรษฐพุฒิ"ชี้ปัจจัยลบจ่อถล่มศก.ไทยเพียบ             
 


   
search resources

Economics
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ




"เศรษฐพุฒิ" ชี้สารพัดปัจจัยลบรอถล่มเศรษฐกิจไทยเพียบแม้จะไม่ถึงขั้นวิกฤต ทั้งรายได้ค่าจ้างที่โตเพียง 1.3% ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2.2% สะท้อนการใช้จ่ายภาคประชาชนลดลงแน่ ขณะที่ห่วงเอกชนไม่กล้าลงทุนหลังการลงทุนเดือนก.ค.ติดลบ 3% วิพากษ์งบประมาณขาดดุล 1.65 แสนล้านบาท เหลือกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 5 พันล้านบาทที่เหลือเป็นการจ่ายดอกเบี้ยใช้เงินต้น ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าห่วงเชื่อกระทบศก.ทั่วโลก

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีการประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับลดปรับเพิ่มเป้าหมายตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวบ่งชี้ทิศทางเศรษฐกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักวิจัยต่างๆ เป็นต้น สะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยในยุดนี้แม้ว่าจะชะลอตัวลดลงแต่คงไม่ถึงขั้นเข้าสู่ยุควิกฤตเศรษฐกิจเหมือนที่เคยเกิดขึ้น "ผู้จัดการรายวัน" ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ไทยพาณิชย์ จำกัด นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่ผ่านงานทั้งในส่วนของราชการ องค์กรเอกชน จนมาถึงบริษัทเอกชน

โดยประเด็นที่ถือว่าเป็นห่วงที่สุดเรื่องหนึ่งของเศรษฐกิจไทยในตอนนี้ คือ อัตราการขายตัวของค่าจ้างโดยรวมที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยจากปีที่ผ่านมาที่เติบโต 6.2% เป็นครึ่งปีแรก 50 เติบโตเพียง 1.3% ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ที่ระดับประมาณ 2.2% เรื่องดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนต้องลดลงตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ทันเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงกว่า

นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ การชะลอตัวของรายได้เกิดขึ้นในภาคธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักของประเทศ เช่น กลุ่มการเกษตร จากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.6% ในปีที่ผ่านมาลดลงมาอยู่ที่เพียง 3.6% ในช่วงครึ่งปีนี้ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรม จากระดับ 4.3% ลดลงเหลือเพียง 1.1%, กลุ่มก่อสร้าง จาก 6.2% มาอยู่ที่ 2.6%, กลุ่มค้าปลีกและค้าส่งจาก 8.4% มาอยู่ที่ 1.8% เป็นต้น

สำหรับผลกระทบที่ชัดเจนจากรายได้ของประชาชนที่เติบโตลดลงทำให้ตัวเลขการบริโภคยังไม่ฟื้นตัว โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเติบโตเพียง 0.1% จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่เติบโตเพิ่มขึ้น 0.8% จากเดือนมิถุนายน ด้านตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนในเดือนก.ค. ลดลง 3% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และลดลง 2.7% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.

โดยเรื่องดังกล่าวสิ่งที่จะสามารถเข้ามากระตุ้นให้ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรจะเร่งดำเนินการในโครงการต่างๆเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเอกชน โดยคงต้องฝากให้เป็นนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะมาจากเลือกตั้ง

"ตัวเลขรายได้ของประชาชนที่เติบโตช้ากว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 2.2% ทำให้การบริโภคลดลงซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่คงไม่ถึงขั้นเกิดวิกฤตในประเทศแน่เพราะยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้แบบนั้น"นายเศรษฐพุฒิกล่าว

กรรมการผู้จัดการ กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ความตรึงตัวของนโยบายรัฐบาลใหม่ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปีหน้าจากงบประมาณของรัฐบาลที่ขาดดุล 1.65 แสนล้านบาท แต่เป็นการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นจำนวนถึง 1.6 แสนล้านบาท ทำให้มีการขาดดุลจากการดำเนินงานเพียง 5 พันล้านบาทเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้ต้องมีการขอขาดดุลงบประเภทพิเศษ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ในเรื่องดังกล่าวเป็นไปได้ค่อนข้างยากเพราะต้องใช้ระยะเวลาในการเสนอพิจารณาค่อนข้างนาน

ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่ผ่านมาเรื่องการจับผิดในโครงการที่มีการดำเนินการที่ทุจริตมีมากขึ้น จนหลายครั้งการจับผิดกลายเป็นการจับพลาดทำให้ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องใช้ความระมัดระวังตัวกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีการจับจ้องที่จะดำเนินการกับความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นทั้งจากเจตนาที่ดีและไม่ดี

"การจับพลาดมากกว่าการจับผิดทำให้ไม่มีใครไม่กล้าที่จะทำอะไร ทุกคนเลือกที่จะอยู่เฉยๆจะได้ไม่มีปัญหาซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี ส่วนเรื่องการขอขาดดุลพิเศษตามทฤษฎีสามารถดำเนินการได้แต่ในทางปฎิบัติเท่าที่เคยทำงานกับราชการมาเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยากมาก"

อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลหน้าในช่วงครึ่งปีแรกคงอยู่ในช่วงที่ดำเนินการในโครงการต่างๆด้วยความยากลำบาก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะยังคงต่อเนื่อง การคาดการณ์ของหน่วยงานต่างๆว่าการเติบโตของจีดีพีในปีหน้าจะอยู่ที่ระดับประมาณ 5% ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเชื่อว่าจีดีพีน่าจะเติบโตประมาณ 4% กว่า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังน่าจะอยู่ในระดับ 2% กว่า ด้านอัตราดอกเบี้ยระหว่างระยะสั้นกับระยาวจะส่วนต่างกันมากขึ้น โดยดอกเบี้ยระยะสั้นมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้อีก

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า ในส่วนของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ถือว่ายังเป็นตัวหนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ คือ ตัวเลขการส่งออกในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นและยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากปัจจัยภายนอกคือเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอตัวทำให้ค่าเงินบาทต้องแข็งค่าขึ้น โดยตัวเลขการส่งออกที่ลดลงจาก 18.4% มาอยู่ที่ 6.2% ใรช่วงครั้งแรกของปีนี้เกิดจากสาเหตุที่การส่งออกไปสหรัฐลดลงจากที่เติบโต 2.3% ในปีก่อนมาสู่เป็นลดลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 2/50 โดยแม้ว่าการส่งออกไปยังสหรัฐของประเทศไทยจะมีสัดส่วนเพียง 13% แต่หากพิจารณาจากประเทศอื่นๆที่ไทยส่งออกไปได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของสหรัฐจนทำให้กำลังซื้อลดลงผลกระทบก็จะกลับย้อนเข้ามาที่การส่งออกของประเทศไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us