ถาม : คุณคิดว่าภูมิภาคในเขตลุ่มแม่น้ำโขงอันประกอบด้วยไทย พม่า ภาคใต้ของจีน
และอินโดจีนทั้งสามประเทศจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ตามลำพังหรือไม่?
โอเวน : ในเชิงภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจนั้นนังคงดีเหมือนกับแนวความคิดในโครงการแม่น้ำโขง
เมื่อแรกมีในช่วงทศวรรษ 1950 ความร่วมมือในระหว่างประเทศทั้งสี่ (ไทย ลาว
เวียดนาม และกัมพูชา) ถือเป็นความคิดที่ดี แต่จะว่าเป็นความจริงในทางการเมืองหรือเปล่านั้นผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน
ถาม : มีเงื่อนไขทางการเมืองหรือทางการทูตอะไรบ้างที่จะทำให้สิ่งนี้เป็นจริง?
โอเวน : เวียดนามควรจะปรับความสัมพันธ์กับทุกประเทศรวมทั้งเพื่อนบ้านแถบลุ่มแม่น้ำโขง
จีนและสหรัฐฯ ให้กลับสู่ระดับปกติ เพราะจะทำให้ได้รับเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกมากขึ้น
สำหรับไทยนั้นอยู่ในขั้นที่ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลาวได้อย่างเกือบสมบูรณ์แล้ว
แต่ในส่วนความสัมพันธ์กับกัมพูชายังคงต้องปรับปรุงต่อไปอีก ประเทศเหล่านี้ยังต้องอาศัยโครงสร้างทางการเมืองในการระงับความขัดแย้งตามแนวชายอดนระหว่างประเทศ
อย่างเช่น กรณีการตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าในลาว นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่ประเทศทั้งสี่ต่างก็ไม่มีใครไว้ใจใครตลอดมา
และปัญหาที่ทิ่มแทงหนักที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม เพราะทางไทยคงอยากมีบทบาทเด่นในกลุ่มแต่เวียดนามก็ไม่ยอม
ทางที่ดีประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงไม่ควรจะมองภาพของแม่น้ำโดยรวมทั้งหมด และความสัมพันธ์แบบพหุพาคี
แต่ควรมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์แบบทวิภาคีและสร้างชุมชนในแถบนี้ให้เป็นจริงขึ้นมา
ถาม : คุณคิดว่าพื้นที่บริเวณนี้มีศักยภาพพอหรือไม่ ถ้ามีอยู่ในระดับใด
โอเวน : มีศักยภาพแน่ถ้ามองเป็นกลุ่มและตราบเท่าที่เวียดนามยังคงดำเนินตามระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
ขณะนี้บริเวณชายแดนระหว่างเวียดนามและจีนนั้นมีการลักลอบขนสินค้าข้ามแดนอย่างมากแล้ว
ชาวเวียดนามมองทิศทางของตนเองว่าจะเป็นเหมือนกับไทย พวกเขาไม่รังเกียจว่าการเพิ่มการค้ากับกลุ่มอาเซียน
จะนำไปสู่การที่เวียดนามจะเข้าไปอยู่ในวงจรเดียวกับฮ่องกง ไต้หวัน และภาคใต้ของจีน
แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างแรงกล้าของภูมิภาคนี้ในอันที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงนี้อยู่
ถาม : ภูมิภาคย่อยแห่งนี้จะมีอนาคตไหม หรือว่าเราเพียงแค่เข้าไปสนับสนุนแผนการของพวกที่ต้องการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ
โดยไม่รู้ตัว?
โอเวน : ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ มีคนเป็นจำนวนมากที่รอดูจังหวะอยู่รอบ
ๆ อินโดจีน และไทยเองย่อมมีอิทธิพลในแถบนี้แน่ ๆ ทว่าการลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ได้มาจากเมืองไทยแต่เป็นจากไต้หวัน
ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง
ถาม : คุณคิดว่าประเทศในแถบภูมิภาคย่อยนี้จะโอนเอียงเข้าหาประเทศอื่น ๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือไปอิงกับมหาอำนาจอื่นเพื่อให้พ้นจากการครอบงำของไทยหรือไม่?
โอเวน : คงยังสรุปอะไรไม่ได้ในตอนนี้ ถ้าหากว่าประเทศเหล่านี้ไม่กลับไปใช้ระบอบของตนเองอย่างพม่า
ก็เป็นไปได้มากว่าจะเข้าไปอิงกับโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลายเป็นส่วนที่ขยายออกมาจากไต้หวัน
จีนและฮ่องกง
คนเวียดนามเองก็ยังไม่มีความคิดที่ชัดเจนว่าเขาต้องการอะไร พวกเขาตื่นเต้นอย่างมากกับเศรษฐกิจแบบตลาดแต่ไม่รู้ว่าจะเข้าสู่ระบบนั้นได้อย่างไร
แม้แต่กลุ่มผู้นำทางความคิดในเวียดนามเองก็ยังเข้าไม่ถึงวิธีการวิเคราะห์สมัยใหม่และไม่มีตำรับตำราที่คอยสอนด้วย
ถาม : คุณมองว่าภูมิภาคนี้จะเป็นอย่างไรในอีกสิบถึงยี่สิบปีข้างหน้า?
โอเวน : ยังมีตัวแปรทางการเมืองอีกมากมาย ผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เชื่อว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ตายไปแล้ว
และประวัติศาสตร์ได้ปิดฉากไป ยังมีคนอีกมากใช่แถบนี้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการกำหนดอายุของลัทธินี้
พวกคอมมิวนิสต์ในจีนและเวียดนามเองก้ไม่เชื่อในเรื่องพหุนิยมทางการเมืองเหมือนกัน
ส่วนในแง่เศรษฐกิจ เวียดนามคงจะเป็นเหมือนกับภาคใต้ของจีนที่มีกวางตุ้งเป็นตัวนำ
ผมคิดว่าเวียดนามจะต้องผิดหวังอีกมาก เพราะการเติบโตก้าวหน้าจะไม่เป็นไปอย่างรวดเร็วแบบที่คาดหวังกัน
แม้ว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกการปิดกั้นทางการค้าแล้วก็ตาม มีหลายคนคาดหวังโดยไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริงทว่า
หากยกเลิกการปิดกั้นทางการค้าแล้ว เวียดนามจะกลายเป็นประเทศไทยทันที ภูมิภาคนี้มีศักยภาพสูงก็จริง
ทว่าก็มีปัญหาอีกมากมายที่รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ไม่ได้เตรียมรับมือ
ถาม : คุณเห็นด้วยไหมว่าจะมีภาคเศรษฐกิจบางภาคที่จะเติบโตอย่างพุ่งพรวดในภูมิภาคย่อยนี้?
โอเวน : มีเหตุผลเป็นไปได้ที่จะประสานภูมิภาคนี้เข้าเป็นระบบเศรษฐกิจเดียว
การท่องเที่ยวจะเป็นภาคแรก และจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปในกัมพูชาและลาวหลังจากที่ไปเที่ยวชมเวียดนามแล้ว
ในส่วนของสายการบิน คนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอนนี้คงเร็วเกินไปสำหรับสายการบินชั้นนำที่จะพูดถึงเรื่องเส้นทางบินสู่อินโดจีน
เพราะที่เป็นอยู่ก็คือใช้เที่ยวบินที่มีอยู่แล้วไปก่อน
ผมคิดว่าคงจะมีความพยายามใช้ฮ่องกง สิงคโปร์และกรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค
และส่วนที่ต้องใช้แรงงานมาก ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงก็ย้ายไปที่เวียดนามและลาว
แต่ประเทศเหล่านี้จะต้องแข่งตัดราคากับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น
ๆ ทั้งที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายยังอยู่ในระดับที่สูงมาก คงต้องมีแรงจูงใจในแง่การลดภาษีรวมทั้งจะต้องทำทุกอย่างตามที่ภาคธุรกิจต้องการโดยไม่ขายวิญญาณตนเอง
ถาม : คุณคิดว่าบริษัทข้ามชาติจากตะวันตกและญี่ปุ่นกำลังพัฒนายุทธศาสตร์เป็นการเฉพาะสำหรับภูมิภาคนี้หรือไม่?
โอเวน : ผมไม่ค่อยเห็นใครพูดว่าจะพุ่งเป้าหมายมาที่แถบลุ่มแม่น้ำโขงเลย
ส่วนมากจะมุ่งเจาะเป็นรายประเทศ หรือไม่ก็ระกับภูมิภาคใหญ่ ๆ อย่างเช่นถ้าธุรกิจจากญี่ปุ่นจะเล็งหาฐานลงทุนใหม่
อาจจะสนใจเวียดนาม ซึ่งจะอยู่ในส่วนงานวิจัยและพัฒนาอยู่แล้ว และในความเป็นจริงแล้ว
พวกเขาก็เพิ่งจะมองอาเซียนเป็นกลุ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง
บริษัทข้ามชาตินั้นใช้ทั้งเวลาและเงินทุนอย่างมากในด้านการวิจัยและพัฒนา
ตลอดจนการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และปรับปรุงโครงสร้างภายในประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงยังเป็นบริเวณที่ให้ผลตอบแทนน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับการลงทุนเหล่านี้