Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2550
แก้พ.ร.บ.ร่วมทุนเพิ่มมูลค่า3พันล.             
 


   
search resources

Law




ครม.ไฟเขียวพ.ร.บ.ร่วมทุนที่กระทรวงการคลังเสนอให้ปรับมูลค่าขั้นต่ำของโรงการจาก 1 พันล้านบาทเป็น 3 พันล้านบาทได้ โดยให้คลังและสภาพัฒน์ฯทบทวนมูลค่าขั้นต่ำของโครงการต่างๆ ทุก 5 ปีเพื่อให้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริง

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบร่างแก้ไข พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการกิจการของรัฐ (ฉบับที่..) พ.ศ....(พ.ร.บ.ร่วมทุน) โดยแก้ไขให้รูปแบบการร่วมทุนด้วยการปรับมูลค่าขั้นต่ำโครงการจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการลงทุนที่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ให้สิทธิกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาออกกฎเกณฑ์การร่วมทุน

โดยครม.ยังเห็นชอบให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ฯ ทบทวนมูลค่าขั้นต่ำของโครงการในทุกๆ 5 ปี เพื่อความเหมาะสมของช่วงเวลาในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขเรื่องการตั้งคณะกรรมการกำกับการติดตามโครงการให้มีอำนาจดูแลปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

“หลังจากวันนี้ไปจะเสนอร่างดังกล่าวเข้าพิจารณาในคณะกรรมการกฤษฎีกาในวันพฤหัสฯนี้ ซึ่งเชื่อว่าอีก 2 สัปดาห์จะเสนอเข้าสนช.ได้' นายพงษ์ภาณุ กล่าว

นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 4 กันยายน 2550 ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ เนื่องจากเดิม กฎหมายการให้สัมปทานหรือการให้สิทธิแก่เอกชน หรือการร่วมทุนกับภาครัฐนั้น มักประสบปัญหาขาดความชัดเจนของกฎหมาย การพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขาดบทบัญญัติที่กำหนดขั้นตอนในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา และขาดการบริหารและกำกับการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ

จึงพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เพื่อแก้ไขปัญหาการตีความและอุดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย และปรับปรุงกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโครงการ การบริหารและกำกับการดำเนินโครงการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยร่างกฎหมายดังกล่าว มีสาระสำคัญของการแก้ไขดังนี้1. กำหนดนิยามคำว่า “การร่วมงานหรือดำเนินการ”ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ให้เอกชนลงทุนไปก่อนและภาครัฐผูกพันที่จะชำระคืนภายหลัง ได้แก่ โครงการจ้างเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey) และให้กระทรวงการคลังสามารถออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุนที่มีลักษณะร่วมทุนอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

2.ปรับมูลค่าขั้นต่ำของโครงการจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของโครงการลงทุนในปัจจุบัน และให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกันทบทวนมูลค่าขั้นต่ำของโครงการทุก ๆ 5 ปี โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าโครงการให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันโดยออกเป็นกฎกระทรวง

3.ให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการดำเนินการสำหรับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท โดยออกเป็นกฎกระทรวง 4.เปลี่ยนบทบาท “คณะกรรมการประสานงาน” เป็น “คณะกรรมการกำกับติดตามโครงการ” และแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการ เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ และกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการในกรณีมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาและการสิ้นสุดสัญญาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและที่สำคัญมีการปรับปรุงวิธีการพิจารณากลั่นกรองโครงการโดยกำหนดให้ทั้ง สศช.และกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหม่ หรือโครงการที่มีทรัพย์สินอยู่แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us