Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"ที่มาและที่ไปของ BIS ของไทย"             
โดย ธัชมน หงส์จรรยา
 


   
search resources

ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ - BIS
ปราการ ทวิสุวรรณ
กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




การเติบโตของแบงก์ญี่ปุ่นในตลาดการเงินโลกเมื่อทศวรรษที่ 80 ได้กระตุ้นแบงก์ยุโรปให้ตื่นตัวต่อการแสวงหาหลักการและแนวทางในการควบคุมการเติบโตของแบงก์ญี่ปุ่นเป็นจริงจังมากขึ้น

BIS หรือกติกาในการจัดวางโครงสร้างและวัดมาตรฐานความแข็งแรงของเงินลงทุนในระบบการเงินของโลก เป็นดอกผลของความร่วมมือในการควบคุมการเติบโตของแบงก์ญี่ปุ่นจึงเกิดขึ้นอย่างมีผลในภาคปฏิบัติ

ปราการ ทวิสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนแบงก์ทหารไทยเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า สาเหตุที่แท้จริงของการใช้มาตรฐาน BIS เกิดจากกลุ่มประเทศยุโรปและอมริกาที่เห็นว่าแบงก์ในกลุ่มของตนเสียเปรียบแบงก์ญี่ปุ่น สังเกตได้จากกลางทศวรรษ 1980 ธนาคารพาณิชย์ที่ติด 10 อันดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก ล้วนเป็นธนาคารจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปทั้งสิ้น แต่ปลายทศวรรษกลับกลายเป็นว่าเกือบทั้งหมดของ 10 อันดับแรกกลายเป็นแบงก์พาณิชย์ของญี่ปุ่น

เนื่องเพราะการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ทำให้เกิดความเสียเปรียบได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของแต่ละประเทศค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องเงินกองทุนมากนัก ตัวอย่างเช่น การอนุญาตให้นับมูลค่าหุ้นเข้าเป็นเงินกองทุนด้วย ทำให้ช่วงปี 1987-1989 ญี่ปุ่นมีเงินกองทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้สามารถขยายสินเชื่อข้ามชาติได้มากกว่ายุโรปและสหรัฐฯ ความคิดการจัดการเงินกองทุนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดจึงเกิดขึ้น โดยหาเหตุผลเรื่องความแข็งแกร่งของแบงก์เป็นหลักประกันของผู้ฝากเงินมาสนับสนุน

ขณะที่ เพ็ญวัน ได้ย้ำว่าการรับ BIS เข้ามาใช้ในไทยเพราะหลีกเลี่ยงการบีบจากแกตต์หรือตลาดร่วมยุโรปไม่ได้ การรวมตัวของยุโรปได้เปิดให้แบงก์ทำธุรกิจเสรีมากขึ้น เช่น ทำประกันภัย หลักทรัพย์ได้พลอยกดดันให้เราต้องเปิดระบบการเงินมากขึ้นด้วย หากเรามองในแง่มุมของการแข่งขันเมื่อมีการแข่งขันมากความเสี่ยงก็มากเป็นเงาตามตัว ทางการก็ต้องเข้าไปดูความมั่นคง ทำให้ความเสี่ยงของสินทรัพย์ทั้งหลายใกล้เคียงความจริงมากขึ้น สรุกก็คือเป็นการยกฐานะแบงก์พาณิชย์ไทยในแง่ของความมั่นคงให้เป็นที่ยอมรับและรุกเข้าไปทำธุรกิจแข่งกับนานาชาติในตลาดโลกได้

"ความจริงไม่ปฏิบัติตาม BIS ก็ได้ไม่มีใครลงโทษเพราะไม่มีบทกำหนดโทษไว้ แต่อาจจะไม่มีใครร่วมมือในการให้กู้เงินก็เป็นได้"

กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครธน ให้ความเห็นว่า การรับกฎ BIS ถือว่าเร็วเกินไปสำหรับแบงก์ไทย ซึ่งจริง ๆ แล้วเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้ก็เป็นได้ เพราะเครือข่ายแบงก์ไทยในต่างประเทศยังมีน้อยมาก เมื่อรับ BIS ก็ใช่ว่าจะเกิดผลดีเพียงด้านเดียว

กลุ่มประเทศใหญ่ที่มีความแข็งแรงมาก มักจะใช้กฎเกณฑ์เพื่อเอาเปรียบประเทศเล็ก ตัวอย่างเช่นในการประชุมแกตต์ กลุ่มประเทศยุโรปจะพูดถึงแต่กฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่เขาแข็งแกร่งอยู่แล้ว และใช้พลังต่อรองให้คนอื่นปฏิบัติตาม

"เมื่อมีการเจรจากับประเทศไทย และเขารู้ว่าเรามีความสามารถเรื่องการเกษตร เขาจะไม่พูดถึงเรื่องนี้เลย จะพูดแต่ให้ไทยเปิดเสรีธุรกิจการเงิน" กิตติ ตบท้ายด้วยการชี้ถึงเล่ห์ของกลุ่มที่เรียกตนเองว่าเจริญแล้ว

แริ่มแรกของการปรับตัวนั้นย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน แบงก์พาณิชย์ในสหรัฐฯ ได้มีการประมาณการฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยการใช้ข้อมูลเบื้องต้นปี 2532 ซึ่งยังมิได้นำ BIS มาใช้อย่างจริงจัง ยังไม่ได้วัดเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 8% พบว่า 642 ธนาคารหรือประมาณ 5% ของทั้งระบบต้องการเงินทุนเพิ่มและธนาคารใหญ่ที่สุด 26 แห่งที่มีสินทรัพย์ราว 20% ของทั้งระบบต้องการเงินทุนเพิ่ม 3% หรือประมาณ 28.8 พันล้านเหรียญสหรัฐแสดงว่าธนาคารใหญ่บางแห่งยังขาดแคลนเงินกองทุนอยู่มาก

ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีสถาบันการเงินมากมายกลับมีเพียง 9 แห่งเท่านั้นที่มาตรฐานเงินกองทุนเป็นไปอย่าง BIS กำหนด นอกนั้นต้องหาเงินกองทุนมาเพิ่ม ซึ่งธนาคารใหญ่บางแห่งก็เลือกเอาการควบกิจการเป็นทางออก เช่น KYOWA ควบกิจการกับ SAITAMA รวมกันเป็น KYOMA SAITAMA เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2534 นี้เอง คาดว่าจะมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์อยู่ในอัตรา 8.08% เท่านั้น

โครงสร้างสินทรัพย์เสี่ยงที่เปลี่ยนแปรไป ทำให้รายการสินทรัพย์เสี่ยงมีเพิ่มขึ้น โดยส่วนที่เพิ่มอย่างเห็นได้ชัดคือรายการนอกงบดุลที่ต้องนำมาคูณกับอัตราส่วนโอกาสแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์ (CONVERSION FACTOR) แล้วจึงนำมาคำนวณกับอัตราความเสี่ยงของสินทรัพย์อีกที

ทั้งนี้แนวปฏิบัติที่ BIS ได้กำหนดไว้มีอัตราส่วนของโอกาสแปรสภาพสินทรัพย์เป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ 0%, 20%, 50%, 100%

ธาริษา วัฒนเกส รองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์จากแบงก์ชาติก็เห็นควรตามแนวทาง BIS โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 3 กลุ่มคือกลุ่มแรกรายการที่ธนาคารพาณิชย์มีภาระรับผิดชอบเทียบเท่าสินเชื่อ ได้แก่การรับอาวัลการรับรอง การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน รายการเหล่านี้มี CONVERSION FACTOR 100%

กลุ่มที่ 2 รายการที่ธนาคารพาณิชย์อาจไม่ต้องจ่ายเงินแทนลูกค้า ได้แก่ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลดำเนินงานของลูกค้าเช่น BID BOND PERFORMANCE BOND การจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายตราสาร ตลอดจนภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้า รายการเหล่านี้มี CONVERSION FACTOR ตั้งแต่ 20-50%

กลุ่มที่ 3 สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย เช่นสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้เป็น CREDIT RISK ในกรณีที่ลูกค้าอาจไม่สามารถชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ได้มิใช่เป็น FOREIGN EXCHANGE หรือ INTEREST RATE RISK ซึ่งมีวิธีคำนวณอีกวิธีหนึ่ง

สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยนี้มี CONVERSION FACTOR ตั้งแต่ 0.5-5% ขึ้นอยู่กับความยาวของอายุสัญญาและหลังจากแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์แล้ว BIS เห็นว่าควรจัดเป็นลูกค้าชั้นดี และมีน้ำหนักความเสี่ยงไม่เกิน 50% แต่ฝ่ายกำกับฯ เห็นว่าธุรกิจเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ จึงควรให้น้ำหนักตามสถานะคู่สัญญา เช่นถ้าเป็นบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินก็อาจกำหนดให้มีอัตราความเสี่ยงเป็น 100%

สินทรัพย์เสี่ยงที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอัตราความเสี่ยงนั้นมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในส่วนที่เพิ่มขึ้นคือเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ เงินให้กู้ยืมแก่องค์กรของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่น ๆ เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจ ที่สำคัญ สินเชื่อภาคเอกชนมีความเสี่ยงเต็ม 100%

ส่วนสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความเสี่ยงต่ำลงคือ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทประกันชีวิต จากปัจจุบันอัตราความเสี่ยงเป็น 100% ใช้ BIS จะลดลงเหลือ 50% เช่นเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาตก็ตาม มีอัตราความเสี่ยงที่ต่ำลงในส่วนของหลักทรัพย์สถาบันการเงิน (ดูตารางที่ 2)

ความเปลี่ยนแปลงนี้บ่งบอกถึงความจำเป็นอย่างยิ่งของบรรดาธนาคารที่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการให้สินเชื่อหรือการถือสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อลดภาระการตั้งเงินกองทุนที่สูงกว่าเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us